เอ็กโก กรุ๊ป โดยศูนย์เรียนรู้โรงไฟฟ้าขนอม เฟ้นหาสุดยอดไอเดียงานออกแบบเศษวัสดุเหลือใช้ ในโครงการ “Transformation for Life” Upcycling Design Contest

229
- Advertisment-

บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป โดยศูนย์เรียนรู้โรงไฟฟ้าขนอม จัดการประกวดออกแบบวัสดุเหลือใช้รอบชิงชนะเลิศ ส่งเสริมแรงบันดาลใจต่อยอดวัสดุเหลือใช้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีมูลค่าเพิ่มและสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง ภายใต้แนวคิด “Transformation for Life” Upcycling Design Contest: Zero Waste Solution จากโครงสร้างหรือวัสดุเหลือใช้จากงาน “นวัตกรรมวิทย์ พลิกโลก” สัปดาห์วิทยาศาสตร์ ศูนย์เรียนรู้โรงไฟฟ้าขนอม ประจำปี 2565 โดยมีนิสิตนักศึกษาจากหลายสถาบันการศึกษา ร่วมส่งผลงานออกแบบเข้าประกวด 22 ทีม โดยมี 10 ทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศและมานำเสนอผลงาน โดยผลงานออกแบบของนิสิตนักศึกษาจากทีมที่ชนะเลิศจะถูกนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ได้จริงต่อไปที่ศูนย์เรียนรู้โรงไฟฟ้าขนอม

นางสาวสลิล ติระวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายบริหารองค์กร เอ็กโก กรุ๊ป ในฐานะประธานในกิจกรรมการประกวดรอบชิงชนะเลิศฯเปิดเผยว่า ศูนย์เรียนรู้โรงไฟฟ้าขนอม อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งก่อตั้งและดำเนินงานโดยเอ็กโก กรุ๊ป เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านพลังงานไฟฟ้า สิ่งแวดล้อม และการอยู่ร่วมกับชุมชน ได้จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ประจำปีมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้และแหล่งจุดประกายความคิดทางวิทยาศาสตร์แก่เยาวชน โดยการประกวดออกแบบวัสดุเหลือใช้ ภายใต้แนวคิด “Transformation for Life” Upcycling Design Contest: Zero Waste Solution นี้ เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการจัดนิทรรศการภายในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4 เมื่อปลายปี 2565 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเห็นคุณค่าและประโยชน์ของเศษวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (Upcycling) โดยใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด รวมทั้งเป็นการจัดการขยะให้เป็นศูนย์ (Zero waste) ตลอดจนเพื่อเปิดพื้นที่ให้นิสิตนักศึกษาได้มีเวทีในการพัฒนาทักษะเชิงปฏิบัติการด้านการออกแบบและการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ออกแบบและพัฒนาเพิ่มมูลค่าให้ของเหลือใช้สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุดและทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรใหม่น้อยที่สุด

สำหรับผลการประกวดรางวัล “Transformation for Life” Upcycling Design Contest มีดังนี้

- Advertisment -

รางวัลชนะเลิศ ซึ่งได้รับโล่รางวัลและเงินรางวัล 50,000 บาท ได้แก่ ผลงาน Innovative Sofa Set จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยผลงานชนะเลิศนี้จะถูกนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จริงสำหรับใช้ในศูนย์เรียนรู้โรงไฟฟ้าขนอมต่อไป

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ซึ่งได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัล 30,000 บาท ได้แก่ ผลงาน Phaknoi ม้านั่งอเนกประสงค์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ซึ่งได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัล 10,000 บาท ได้แก่ ผลงาน Worm Paradise เรือนเพาะปลูก จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Advertisment