เชฟรอนร่วมพลิกฟื้นเขาหัวโล้น จ.น่าน ส่งท้ายความสำเร็จกิจกรรม “เอามื้อสามัคคี”

733
นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร (กลาง) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในกิจกรรม “แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี” ครั้งที่ 4 ร่วมสร้างหลุมขนมครกบนพื้นที่สูง พร้อมถ่ายทอดตัวอย่างของผู้ที่เปลี่ยนจากผู้บุกรุกมาเป็นผู้พิทักษ์ โดยมี (จากซ้าย) นางสาววริศรา จันธี ผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน นายไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล หัวหน้าศูนย์บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาประเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และนายบัณฑิต ฉิมชาติ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีน่าน จ.น่าน เข้าร่วม ณ พื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน บ้านห้วยเลา ต.เชียงของ อ.นาน้อย จ.น่าน
- Advertisment-

เชฟรอนร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรม “เอามื้อสามัคคี” ครั้งที่ 4 ร่วมพลิกฟื้นเขาหัวโล้นในอุทยานแห่งชาติศรีน่าน จ.น่าน ถือฤกษ์วันดินโลก 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา ประกาศความสำเร็จโครงการ ‘พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน’ ปี 6 จบเฟสที่ 2 “แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี” เตรียมเปิดเฟส 3 ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย ยกระดับสู่การแข่งขัน วางรากฐานการพัฒนามนุษย์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเชื่อมโยง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ           

บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ภาคศาสนา และสื่อมวลชน จัดกิจกรรม “เอามื้อสามัคคี” ครั้งที่ 4 ในโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปี 6 ณ พื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน บ้านห้วยเลา  ต.เชียงของ อ.นาน้อย จ.น่าน เพื่อร่วมกันสร้างพื้นที่เรียนรู้ หลุมขนมครกบนพื้นที่สูง ฟื้นฟูธรรมชาติ พร้อมถ่ายทอดตัวอย่างของผู้ที่เปลี่ยนจากผู้บุกรุกมาเป็นผู้พิทักษ์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนทั่วประเทศ สานต่อแนวทางศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น

นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานเปิดงาน กล่าวว่า การเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นจำนวนมหาศาลในจังหวัดน่าน ทำให้สูญเสียพื้นที่ทรัพยากรป่าไม้ถึง 1.5 ล้านไร่ในพื้นที่ราบสูง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของน้ำร้อยละ 40 ของแม่น้ำเจ้าพระยา การแก้ปัญหาจึงต้องสร้างหลุมขนมครกบนพื้นที่สูง เพื่อเปลี่ยนเขาหัวโล้นให้เป็นเขาหัวจุก โดยนำศาสตร์พระราชาทั้งเรื่องทฤษฎีใหม่ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคม ออกแบบพื้นที่ให้เหมาะสมเพื่อกักเก็บน้ำและการทำกสิกรรมธรรมชาติเพื่อการดำรงชีวิต เมื่อชาวบ้านพึ่งพาตนเองได้ การรุกป่าก็จะลดลง นับเป็นการเปลี่ยนผู้บุกรุกให้เป็นผู้พิทักษ์

- Advertisment -

นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด แกนนำภาคเอกชน กล่าวว่า กิจกรรมเอามื้อสามัคคีครั้งนี้ นอกจากพนักงานและผู้บริหารเชฟรอนที่เข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ยังมีเครือข่ายคนมีใจจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และผู้ที่สนใจสมัครผ่านทางเฟซบุ๊คโครงการ รวมทั้งสิ้นกว่า 500 คนเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งจัดขึ้นในพื้นที่ 7 ไร่ ของนางสาววริศรา จันธี ชาวบ้านผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ทั้งนี้ เป้าหมายของโครงการฯ ในปี 6 ยังคงเน้นการขยายพื้นที่การพัฒนาจากลุ่มน้ำป่าสักไปยังลุ่มน้ำอื่นๆ ตามแนวคิด ‘แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี’ เพื่อสืบสานศาสตร์พระราชาที่เกิดจากความห่วงใยพสกนิกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9  โดยได้จัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคีมาแล้วใน 4 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพฯ จันทบุรี สระบุรี และน่าน ซึ่งมีสภาพภูมิสังคมที่แตกต่างกัน เพื่อที่จะได้สร้างต้นแบบที่หลากหลาย เป็นแรงบันดาลใจต่อไปในทุกกลุ่มสังคมในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ

ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล หัวหน้าศูนย์บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาประเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เครือข่ายภาควิชาการกล่าวว่า หลักการออกแบบหลุมขนมครกบนพื้นที่สูงที่สอดคล้องกับพื้นที่และสังคมในพื้นที่แห่งนี้ คือ จะต้องเก็บน้ำไว้ในป่า สร้างหนองน้ำให้เป็นแหล่งน้ำในหน้าแล้ง เพื่อจะได้เพาะปลูกพืชได้ทั้งปี และสามารถสร้างแหล่งอาหารของตัวเอง เพื่อให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

ขุดคลองไส้ไก่ และสร้างฝายชะลอน้ำ

จากผู้บุกรุก สู่ผู้พิทักษ์

นางสาววริศรา จันธี ผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน บ้านห้วยเลา ต.เชียงของ อ.นาน้อย จ.น่าน กล่าวว่า ตนเองทำข้าวโพด 7 ไร่ มีรายได้ 30,000 กว่าบาทต่อปี หักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือปีละ 10,000 กว่าบาทเท่านั้น ขณะที่ชาวไร่ข้าวโพดแต่ละครอบครัวมีหนี้สินไม่ต่ำกว่า 400,000 บาท แต่เมื่อได้ไปดูการจัดการลุ่มน้ำโดยชุมชนมีส่วนร่วมของบ้านน้ำมีด ต.เปือ อ.เชียงกลาง จ.น่าน และไปอบรมที่ชุมชนต้นน้ำน่าน (ชตน.) จึงได้ชักชวนคนในหมู่บ้านที่สนใจมาร่วมอีก 7 คน และชวนคนจากหมู่บ้านอื่นทั้งหมด 26 คน แต่ตอนแรกขุดหนองไว้สูงเกินไป จนเมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติจัดทีมมาเอามื้อใหญ่ 30 คน จึงได้คลองไส้ไก่ ตอนนี้ปลูกข้าวไร่พันธุ์มัดน้ำ ผลไม้ พืชผักผสมผสาน ผักกูด ชะพลู ข่า เพื่อนำมาใช้ในครัวเรือน

“การขยายผลจาก 1 เป็น 2 เป็น 7 คน ในหมู่บ้านที่มาร่วมด้วยช่วยกัน เพราะเห็นว่าเป็นทางออกเดียว ความฝัน คือ อยากปลดหนี้ให้ได้ภายใน 5 ปี จากมีหนี้เป็นล้านตอนนี้เหลือ 500,000 บาท” นางสาววริศรากล่าว

นายบัณฑิต ฉิมชาติ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีน่าน เล่าถึงสภาพปัญหาของการใช้ประโยชน์ทำกินในพื้นที่อุทยานศรีน่านของชาวบ้านว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีน่านเพิ่มเติมปี 2550 ทำให้ชาวบ้านที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่อุทยานก่อนการประกาศในพระราชกฤษฎีกากลายเป็นผู้บุกรุก โดยมีการใช้พื้นที่ราว 12,000 ไร่ จากพื้นที่อุทยานกว่า 600,000 ไร่ จึงได้ใช้แนวทางปลูกป่าในใจคน ตามพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 เปลี่ยนชาวบ้านจากผู้บุกรุกเป็นผู้พิทักษ์ ซึ่งเคยประสบความสำเร็จมาแล้วกับโครงการน้ำมีดโมเดล ที่ทำให้ได้พื้นที่ป่าคืนมาเพื่อฟื้นฟูเป็นป่าต้นน้ำต่อไปถึง 4,000 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 41,000 ไร่  ซึ่งสำหรับที่บ้านห้วยเลา ได้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับชาวบ้าน 10 เดือน มีชาวบ้านสมัครใจไปอบรมแล้ว 9 คน พร้อมที่จะลงมือทำตาม ออกแบบพื้นที่แล้ว และมีชาวบ้านที่สนใจรอดูอยู่

นายไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ผู้พาชาวบ้านบ้านห้วยเลาลงมือทำตามศาสตร์พระราชาเป็นคนแรก กล่าวว่า หลังจากชาวบ้านที่ใช้ประโยชน์ในพื้นที่อุทยานฯ ได้ไปอบรมศาสตร์พระราชาที่ ชตน. หัวหน้าอุทยานได้ให้เจ้าหน้าที่มาช่วยเอารถมาดันดินให้เป็นหัวคันนาทองคำ แต่เครื่องจักรทำได้ไม่ดีเท่ากำลังคน พื้นที่ที่ขุดก็ต้องแก้ไข เพราะหนองอยู่สูงเกินไป แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ความมีใจและความกระตือรือร้นอย่างมากของชาวบ้านที่จะเดินตามศาสตร์พระราชาและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เราจึงเข้ามาช่วย โดยได้จัดให้มีการเอามื้อไปแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แต่งานยังไม่เสร็จจึงต้องมาทำอีกครั้งให้สำเร็จ เพื่อให้เป็นพื้นที่ต้นแบบของแปลงอื่นๆ ที่จะมาเรียนรู้และนำไปทำเองได้

สำหรับการเอามื้อสามัคคีครั้งนี้ มีกิจกรรม อาทิ การหมักดองดินเพื่อปรับสภาพดินให้เป็นกลางและช่วยย่อยสลายเปลือกข้าวโพดให้เป็นปุ๋ย การขุดคลองไส้ไก่และการสร้างฝายชะลอน้ำและจัดการน้ำให้ทั่วถึงในพื้นที่  การขุดปรับแก้ไขหนองน้ำเดิมเพื่อให้ใช้งานได้จริง เป็นต้น

ถือฤกษ์วันดินโลก ประกาศความสำเร็จ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปี 6

ทั้งนี้ ในวันที่ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา เชฟรอน สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) พร้อมพันธมิตรทุกภาคส่วน ถือฤกษ์วันดินโลก ประกาศความสำเร็จโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปี 6 จบเฟสที่ 2 ซึ่งโครงการฯ ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานตามแนวคิด “แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี” โดยมีผู้ให้ความสนใจร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้นกว่า 2,500 คน เข้าร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมใน 4 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จันทบุรี สระบุรี และน่าน โดยแต่ละพื้นที่มีสภาพภูมิสังคมที่แตกต่างกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง “คนต้นแบบ” ที่หลากหลายให้ผู้คนมาเรียนรู้และส่งต่อแรงบันดาลใจต่อไป

ทั้งนี้ เชฟรอนและภาคีเครือข่ายเตรียมเปิดเฟส 3 ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย ยกระดับสู่การแข่งขัน วางรากฐานการพัฒนามนุษย์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเชื่อมโยง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ

นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร (กลาง) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานสรุปผลโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปี 6 และร่วมเฉลิมฉลองวันดินโลก โดยมี (จากซ้าย) นายสัญญา คุณากร พิธีกรรายการเจาะใจ นายโจน จันใด ประธานธรรมธุรกิจ นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด นายธีระ วงษ์เจริญ ที่ปรึกษา รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานสภาเกษตรกร จ.จันทบุรี ประธานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด จ.จันทบุรี นายไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และตัวแทนสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง นายพิษณุ นิ่มสกุล (บอย) นักร้องและนักแสดง ณ ฐานธรรมธุรกิจ พระราม 9
Advertisment