อนุมัติ กฟน.ลงทุน 500 ล้านตั้งบริษัทMEA ลุยธุรกิจบริหารจัดการพลังงานครบวงจร

1944
N2032
- Advertisment-

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ลงทุนจัดตั้งบริษัท MEA Smart Energy Solutions จำกัด (บริษัท MEA) วงเงินจัดตั้ง 500 ล้านบาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เพื่อทำธุรกิจจัดการระบบพลังงานแบบครบวงจรให้กลุ่มลูกค้าหมู่บ้านจัดสรร ชุมชนขนาดใหญ่ โรงแรม โรงพยาบาลและนิคมอุตสาหกรรม​ ตั้งเป้ารายได้ ช่วง 5 ปีแรกประมาณ 1, 000 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าว​พลังงาน ( Energy News Center​-ENC )​รายงานว่า คณะรัฐมนตรี ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 13 ก.ค.2564 มีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ลงทุนจัดตั้งบริษัท MEA Smart Energy Solutions จำกัด (บริษัท MEA) วงเงิน 500 ล้านบาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ พร้อมเห็นชอบแผนธุรกิจบริษัท ในระยะ 5 ปี

โดยในขั้นตอนหลังจากคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว กฟน.จะต้องไปดำเนินการในรายละเอียดต่าง ๆ เช่น จัดทำร่างข้อบังคับ ระเบียบ และวางระบบงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของบริษัทการสรรหาบุคลากรเพื่อดำเนินการจัดตั้งบริษัท การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 241 วัน

- Advertisment -

ทั้งนี้บริษัท MEA จะมี กฟน. เป็นผู้ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 100 มีโครงสร้างการบริหารช่วงแรกจำนวน 23 อัตรา ประกอบด้วย กรรมการผู้จัดการใหญ่ 1 อัตรา
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ 1 อัตรา ผู้จัดการฝ่าย 2 อัตรา ผู้จัดการส่วนงาน 4 อัตรา และ พนักงานปฏิบัติการ 15 อัตรา

สำหรับแผนธุรกิจระยะ 5 ปีแรกของบริษัท MEA จะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบพลังงานแบบครบวงจรในพื้นที่ลูกค้า โดยแบ่งเป็น 2
กลุ่ม คือ
1.บริการด้านพัฒนาระบบพลังงานอัจฉริยะแบบครบวงจร ได้แก่
การเป็นที่ปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง ลงทุน ไปจนถึงการบริหารจัดการระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ เช่น ให้บริการเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอัจฉริยะ (Smart Grid System) ระบบการจัดการพลังงานในพื้นที่ (Area Energy Management System)​ มิเตอร์อัจฉริยะ (Smart Meter) ระบบจัดการการจ่ายไฟฟ้า (Distribution Management System ) เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถประหยัดการใช้พลังงานภายในพื้นที่ เพราะมีการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานและเลือกแหล่งจ่ายพลังงานให้เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาได้ รวมทั้งลูกค้ายังสามารถดูข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของตนเองได้แบบทันที (Real time) ซึ่งจะทำให้ทราบปริมาณการใช้/จุดรั่วไหล และสามารถควบคุมและปรับพฤติกรรมการใช้พลังงานให้เหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุด

โดยกลุ่มลูกค้าหลัก คือ ลูกค้าภาครัฐที่จะดำเนินโครงการขนาดใหญ่ และพัฒนาให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และลูกค้าภาคเอกชนที่ดำเนินโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ผนวกรวมโครงการที่อยู่อาศัยแบบอาคารชุดและโครงการเพื่อการพาณิชยกรรมเข้าไว้ด้วยกัน (โครงการ Mixed Use)

2 บริการด้านบริหารจัดการพลังงานทดแทน
ได้แก่ ให้บริการเป็นที่ปรึกษา ออกแบบ ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar EPC) ให้กับอาคาร/สถานที่ของลูกค้า โดยจะส่งมอบระบบและคิดค่าบริการแบบรับเหมากับลูกค้า และให้บริการให้เช่าระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Leasing) โดยบริษัท MEA เป็นผู้ลงทุนระบบพร้อมติดตั้งแผงโซลาร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้แก่เจ้าของอาคารสถานที่ และอัตราค่าเช่าจะคำนวณจากปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบผลิตฯ คูณกับอัตราค่าไฟฟ้า ซึ่งจะถูกกว่าอัตราค่าไฟฟ้าปกติประมาณร้อยละ 10 ซึ่งกลุ่มลูกค้าหลัก คือ โครงการบ้านจัดสรรขนาดใหญ่ที่มุ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่หรือเมืองอัจฉริยะ กลุ่มที่มีนโยบายเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) เช่น โรงพยาบาล โรงแรม หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา อาคารสำนักงาน นิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น

ทั้งนี้บริษัทMEA มีการตั้งเป้ารายได้ตามประเภทของการให้บริการ โดยในส่วนการให้บริการเกี่ยวกับระบบพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) ประมาณ 663 ล้านบาท และการให้บริการเกี่ยวกับระบบพลังงานทดแทน (Renewable Energy) อีกประมาณ 358 ล้านบาท

Advertisment