สำนักงาน กกพ. พาสื่อดูงานการกำจัดขยะแผงโซลาร์เซลล์ที่ญี่ปุ่น

1511
- Advertisment-

สำนักงาน กกพ. พาสื่อดูงานศึกษาแนวนโยบายกำจัดขยะแผงโซลาร์เซลล์ ที่ประเทศญี่ปุ่น เตรียมความพร้อมดำเนินการในอนาคต

“ขยะอิเล็กทรอนิกส์ จากแผงโซลาร์เซลล์” กำลังเป็นสิ่งท้าทายของหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยที่มีนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ ในอนาคต  เนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งเหล่านั้น มีอายุการใช้งานประมาณ20-25 ปี จากนั้นก็จะกลายเป็นซากขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาลที่ต้องกำจัดทิ้งอย่างเหมาะสม  ดังนั้นรัฐบาลในแต่ละประเทศ จึงต้องมีการเตรียมแผนเอาไว้ล่วงหน้า

สำหรับประเทศไทย ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ สำนักงาน กกพ. ภายใต้การนำของ นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการ ได้นำคณะสื่อมวลชน เดินทางไปศึกษาดูงานโครงการโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่ของบริษัท Sakai Solar Power Station จำกัด ในเมือง Sakai จังหวัดโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 16-20 ก.พ. 2563 ที่ผ่านมา เพื่อเรียนรู้แนวทางการบริหารจัดการแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุและนำมาประยุกต์ใช้กับของไทย

- Advertisment -
โครงการโซลาร์ฟาร์มของ  Sakai Solar Power Station

โซลาร์ฟาร์มของ Sakai Solar Power Station จำกัด ถือเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดโอซากะ มีขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้า 10 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เคยเป็นสถานที่กำจัดขยะกากอุตสาหกรรมมาก่อนและไม่สามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างอาคารได้  โดยสามารถมองเห็นตัวโครงการเป็นป้ายแปรอักษรด้วยแผงโซลาร์เซลล์อ่านว่า“ SOLAR SAKAI”  ได้ชัดเจนเมื่อเครื่องบินร่อนลง ณ สนามบิน คันไซ

แผงโซลาร์เซลล์ จำนวน 74,000 แผง ผ่านการใช้งานมาแล้ว 10 ปี และยังเหลืออายุการใช้งานอีก 10 ปี โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้มีนโยบายการกำจัดซากแผงโซลาร์เซลล์ เอาไว้ให้ผู้ที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ต้องจ่ายเงินส่วนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเงินสะสม ส่งให้กับองค์กรกลางที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่กำจัดแผงโซลาร์เซลล์ในอนาคตโดยเฉพาะ

ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ที่รัฐบาลญี่ปุ่นส่งเสริมให้ผลิตมีไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ เรื่องของการกำจัดแผงโซลาร์เซลล์หลังจากหมดอายุ จะถูกบวกรวมเข้าไปในการรับซื้อไฟในรูปแบบ Feed in Tariff (FiT) อยู่แล้ว แต่แนวทางดังกล่าวไม่ได้ผลมากนัก เนื่องจากรัฐพบว่าในข่วงที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติกะทันหัน จนทำให้แผงโซลาร์เซลล์เกิดความเสียหาย ผู้ประกอบการใช้วิธีลักลอบทิ้งแผงจำนวนมากอย่างผิดกฎหมาย แม้จะได้รับค่ากำจัดแผงไปแล้วก็ตาม

หรือกรณีที่มีบางบริษัทล้มละลายก็จะเกิดการทิ้งแผงทันทีอย่างไม่ถูกต้อง ส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องมีการปรับนโยบายให้ ผู้ลงทุนจ่ายเป็นเงินสะสมแทน โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่ดูแลเรื่อง Feed in Tariff ซึ่งเป็นองค์กรกลางมีหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินจากผู้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ในอัตราประมาณ 10% ของค่าไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้เงินสะสมดังกล่าวยังไม่ถูกนำมาใช้เพราะแผงยังไม่หมดอายุการใช้งาน

สำหรับการเตรียมการของประเทศไทยที่ปัจจุบันมีการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์จำนวนมากก็อยู่ระหว่างเตรียมหาแนวทางที่เหมาะสม โดยล่าสุดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีลงนามความร่วมมือ (MOU) กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ศึกษาการจัดตั้งโรงงานต้นแบบกำจัดซากแผงโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่แห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาศึกษา 2 ปีนับจากปี 2563 ทั้งนี้เพื่อรองรับขยะแผงโซลาร์เซลล์ที่จะเกิดขึ้นล็อตแรกในปี 2565 จำนวน 112 ตัน

คมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานกกพ.

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) กล่าวว่า หลายประเทศมีวิธีกำจัดแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุแตกต่างกันไป ซึ่งประเทศไทยต้องเรียนรู้และเลือกวิธีที่เหมาะสมในการดำเนินการ

Advertisment