พร้อม Grand Opening “วังจันทร์วัลเลย์ ” ไตรมาส 3 ปีหน้า ชู 6 สิทธิประโยชน์ จูงใจนักลงทุน

5231
- Advertisment-

ปตท.นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชม “วังจันทร์วัลเลย์” ชู 6 สิทธิประโยชน์จูงใจนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาลงทุนในพื้นที่ ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการแก่พันธมิตรและผู้สนใจ อย่างเป็นทางการ ( Grand Opening ) ไตรมาส 3 ปีหน้า ตั้งเป้าความสำเร็จสูงสุดเป็นยูนิคอร์นตัวแรกของประเทศที่ดึงการลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาในพื้นที่ได้มากกว่า 1พันล้านเหรียญสหรัฐหรือ 30,000 ล้านบาท 

เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2563 ปตท.นำคณะสื่อมวลชนสายพลังงาน อุตสาหกรรม และตลาดหลักทรัพย์ฯ เยี่ยมชมโครงการพัฒนาพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ “วังจันทร์วัลเลย์ ” โดยมี นายวิทวัส สวัสดิ์-ชูโต ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม ปตท. และ นางเบญญาภรณ์ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ซึ่งรับผิดชอบโครงการ เป็นผู้บรรยายถึงความเป็นมา ความคืบหน้าและเป้าหมายของโครงการ

- Advertisment -
วิทวัส สวัสดิ์-ชูโต ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม ปตท.

โดยนายวิทวัส กล่าวว่า โครงการ”วังจันทร์วัลเลย์ “ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2558 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในต้นปี 2564 และเปิดให้บริการแก่พันธมิตรและผู้สนใจอย่างเป็นทางการ ( Grand Opening ) ไตรมาส 3 ปีหน้า

โดยนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่ “วังจันทร์วัลเลย์ ” จะได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดกว่าเขตพื้นที่พัฒนาอื่นๆ ประกอบด้วย

1.ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุด 13 ปี

2.ยกเว้นภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ

3.เก็บภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ร้อยละ 17 ซึ่งต่ำที่สุดในเอเชีย

4.สมาร์ทวีซ่า สำหรับผู้เชี่ยวชาญและครอบครัว

5.พื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบในการทำนวัตกรรม (Regulatory Sandbox)

6.ศูนย์บริการด้านการลงทุนแบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว (One Stop Service) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน

โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย 12 กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม แบ่งเป็น 5 กลุ่มที่เป็น First S Curve ได้แก่ ยานยนต์ที่เป็น next generation , Intelligent Electronics, Advanced  Agricultural and Biotechnology , Food for The Future และ High-value and Medical Tourism  และอีก 7 กลุ่มที่เป็น อุตสาหกรรม New S Curve  ได้แก่ Automation and Robotics , Aviation and Logistics , Madical and Comprehensive Healthcare , Biofuel and Biochemical. , Digital ,Defense Industry และ Education and Human Resource Development

เบญญาภรณ์ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.

นางเบญญาภรณ์ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ซึ่งรับผิดชอบโครงการ กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ เป็นไปในรูปแบบ Smart Natural Innovation Platform เพื่อรองรับงานวิจัยและนวัตกรรมแบ่งออกเป็น 3 โซน ได้แก่

1.พื้นที่เพื่อการศึกษา (Education Zone) : การพัฒนาพื้นที่เพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้การวิจัย การสร้างนวัตกรรม การสร้างความร่วมมือทางด้านงานวิจัยในพื้นที่ ซึ่งมีพื้นที่ที่พัฒนาแล้ว ได้แก่ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)  โรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) และศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ ซึ่งดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว

2.พื้นที่เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (Innovation Zone) พื้นที่ที่จะพัฒนาเป็น ศูนย์วิจัย พัฒนา และนวัตกรรม หรือ Smart Innovation Platform เพื่อยกระดับความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด โดยออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและบริการไว้อย่างครบวงจร มีความคืบหน้าการก่อสร้างประมาณ 95%

3.พื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวก ที่พักอาศัยและสันทนาการ (Community Zone) : พื้นที่ซึ่งจะพัฒนาให้เป็นพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัยและสันทนาการ รองรับความเป็นอยู่ของนักวิจัยและครอบครัว นักเรียน นักศึกษา และผู้ประกอบการที่ทำงานในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ได้แก่ โรงเรียนนานาชาติ โรงแรมและที่พักอาศัย ศูนย์การค้าและนันทนาการ โดยพื้นที่นี้อยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2565

นางเบญญาภรณ์ กล่าวว่า วังจันทร์วัลเลย์ จะเป็นพื้นที่สำคัญต่อการผลิตนวัตกร ของประเทศ ที่ความสำเร็จคือการที่ ประเทศไทยเราจะไม่ต้องไปกินน้ำใต้ศอกใคร  ไม่ต้องนำเข้าเทคโนโลยี   ซึ่งเป้าหมายสูงสุดคือเราต้องการจะเป็นยูนิคอร์นตัวแรกของประเทศที่ดึงการลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาในพื้นที่ได้มากกว่า 1พันล้านเหรียญสหรัฐหรือ 30,000 ล้านบาท

ปัจจุบัน ปตท. ร่วมกับพันธมิตร ได้เปิดพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ เพื่อรองรับ 5G Play Ground และ UAV Regulatory Sandbox ซึ่งเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม และเทคโนโลยี 5G ให้พร้อมสำหรับการทดลอง ทดสอบ นวัตกรรมต่าง ๆ รวมทั้ง พัฒนาพื้นที่ให้รองรับ UAV (Unmanned Areial Vehicle) Regulatory Sandbox หรือ การทดลอง ทดสอบ โดรน และระบบที่เกี่ยวข้อง สำหรับผู้สนใจทุกภาคส่วน โดยพันธมิตร ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ร่วมพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) : สนับสนุนให้พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์สามารถบินโดรนเพื่อการทดลองและทดสอบได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และช่วยให้การอนุญาตปฏิบัติแตกต่างจากเงื่อนไขที่กำหนด

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) : บริหารและจัดสรรคลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สนับสนุนการทดสอบ 5G ในพื้นที่ เพื่อใช้งานในเชิงพาณิชย์

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะผู้บริหารจัดการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ให้การสนับสนุนการดำเนินการ UAV Sandbox ได้อย่างสะดวกและประสบความสำเร็จ ขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยี ทักษะ ความรู้ด้านการบินโดรนแก่กลุ่มเป้าหมายที่สนใจ

สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ร่วมกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) ทดสอบและ พัฒนาโดรนวิศวกรรม เพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาสินทรัพย์

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ทรู) : ทดสอบและพัฒนาโดรนลาดตระเวนติดกล้องที่ควบคุมและเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ ผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ True5G เพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยของพื้นที่

บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) (ดีแทค) : พัฒนาการทดสอบสู่กล้องตรวจการณ์อัจฉริยะ 5G สำหรับควบคุมจากทางไกลและถ่ายทอดข้อมูลความละเอียดสูง ให้การสั่งการรวดเร็วและภาพที่คมชัด

 

 

 

Advertisment