ผู้ประกอบการไทย กวาด 21 รางวัล ASEAN Energy Awards 2018 ที่สิงคโปร์ โดยเป็นการครองแชมป์อันดับหนึ่งในอาเซียน 9 ปีซ้อน พร้อมเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ในปี 2562 ชูจุดยืนเดินหน้าส่งเสริมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ
ในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ASEAN Ministers on Energy Meetings – AMEM ครั้งที่ 36 ที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2561 ถือเป็นความสำเร็จของประเทศไทยอีกครั้งที่ผู้ประกอบการไทยสามารถคว้ารางวัลด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในเวที ASEAN Energy Awards 2018 รวม 21 ผลงานจากการส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 25 ผลงานโดยนับเป็นรางวัลที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 19 ผลงาน และไทยยังเป็นประเทศที่ได้รับรางวัลอันดับสูงสุดต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 นับตั้งแต่ปี 2553 สะท้อนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลและภาคเอกชนไทยในการขับเคลื่อนการพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ทั้งนี้พิธีรับรางวัลจะมีขึ้นในช่วงค่ำวันที่ 29 ต.ค.2561 ที่ Sand Expo & Convention Centre, Marina Bay Sands
โดยเวที ASEAN Energy Awards ซึ่งจัดขึ้นในช่วงที่มีการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน นั้น ถือเป็นการจัดประกวดมาต่อเนื่องเป็นปีที่ 19 ซึ่งไทยได้ส่งผลงานเข้าประกวดมาตั้งแต่ปี 2543 และได้รับรางวัลบนเวทีอาเซียนเป็นจำนวนมากที่สุดรวมแล้วถึง 188 รางวัล รองลงมา อินโดนีเซีย 97 รางวัล และ สิงคโปร์ 86 รางวัล
สำหรับผลงานที่ส่งเข้าประกวดในเวที ASEAN Energy Awards เป็นการคัดเลือกผลงานและองค์กรที่ชนะในเวทีประกวด Thailand Energy Awards ปี 2561 โดยเวที ASEAN Energy Awards 2018 ผู้ประกอบการไทยได้รับในปีนี้ ครอบคลุมใน 2 หมวดหลัก คือ ด้านพลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.การบริหารจัดการพลังงานดีเด่น 2.อาคารอนุรักษ์พลังงานดีเด่น 3.อาคารเขียวดีเด่น และ 4.โครงการพลังงานหมุนเวียนดีเด่น โดยด้านพลังงานหมุนเวียนถือเป็นกลุ่มที่ส่งเข้าประกวดมากที่สุดและได้รับรางวัลทั้งหมด 13 ผลงานใน 21 ผลงานที่ได้รับรางวัลดังกล่าว
นอกจากนี้ในปี 2562 ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกของอาเซียนได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนในครั้งที่ 37 ซึ่งไทยมีความพร้อมในการจัดการประชุมดังกล่าวเนื่องจากไทยถือเป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่มีการพัฒนาพลังงานทดแทนทั้งองค์ความรู้ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีจนนำมาสู่การผลิตพลังงานทดแทนอย่างเป็นรูปธรรมต่อเนื่อง
สำหรับผู้ประกอบการที่สามารถรับรางวัลในประเภทต่างๆในเวที ASEAN Energy Awards 2018 รวมทั้งสิ้น 21 รางวัล แบ่งเป็น
ด้านพลังงานทดแทน จำนวน 13 ผลงาน แบ่งเป็น
โครงการที่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (On-Grid) จำนวน 4 ผลงาน ได้แก่
- On-Grid (National Grid) Category
ชนะเลิศ 1. โรงไฟฟ้าชีวมวล ช้างแรก ไบโอเพาเวอร์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
ชนะเลิศ 2. โรงไฟฟ้าชีวมวล พิจิตร ไบโอเพาเวอร์ : บริษัท พิจิตรไบโอเพาเวอร์ จำกัด
- On-Grid (Local Grid) Category
รองชนะเลิศอันดับ 1 โครงการไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านแม่กลองน้อย กำลังผลิต 20 kW หมู่บ้านแม่กลองน้อย ตำบลโมโกร อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
รองชนะเลิศอันดับ 2 โครงการไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านหมากลาง กำลังผลิต 25 kW หมู่บ้านหมากลาง ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
โครงการที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (Off-Grid) จำนวน 4 ผลงาน ได้แก่
- Off-Grid (Thermal) Category
ชนะเลิศ โครงการผลิตก๊าซชีวภาพทดแทนเชื้อเพลิง LPG : บริษัท ไทยอีสเทิร์น ไบโอ พาวเวอร์ จำกัด
รองชนะเลิศอันดับ 2 โครงการบ่อหมักก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ทดแทน LPG สำหรับหุงต้ม ในครัวเรือน ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้ำไหล : องค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้ำไหล (ผู้ได้รับรางวัลจากการประกวด ปี 2016)
- Off-Grid (Power) Category
รองชนะเลิศอันดับ 1 โครงการนำระบบโซล่าร์ออฟกริดไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจห้องเย็น
บริษัท สินชัยห้องเย็น จำกัด
รองชนะเลิศอันดับ 2 โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสีย : บริษัท เคทิส ไบโอเอทานอล จำกัด
โครงการพลังความร้อนร่วม (Cogeneration) จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่
- Cogeneration Category
ชนะเลิศ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม : บริษัท สงวนวงษ์ เอ็นเนอร์ยี จำกัด
รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม บริษัท บุรีรัมย์เพาเวอร์ จำกัด : บริษัท บุรีรัมย์เพาเวอร์ จำกัด
โครงการเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่
Biofuel Category
ชนะเลิศ โรงงานเอทานอลมิตรผล ด่านช้าง : บริษัท มิตรผล ไบโอฟูเอล จำกัด (สุพรรณบุรี) (ผู้ได้รับรางวัลจากการประกวด ปี 2016)
รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงงานผลิตเอทานอล : บริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด
โครงการประยุกต์ใช้พลังงานทดแทน (Innovation on Alternative Energy) จำนวน 1 ผลงาน ได้แก่
Special Submission Category
ชนะเลิศ ระบบกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพด้วยเทคโนโลยีสะอาดสำหรับเกษตรกรรายย่อยภายใต้แนวคิดธรรมชาติช่วยธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ด้านอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 8 ผลงาน แบ่งเป็น
ประเภทโรงงานควบคุม จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่
Large Industry Category
ชนะเลิศ บริษัท ริโก้ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ชนะเลิศ
- Small and Medium Industry Category
ชนะเลิศ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด (โรงงาน 2)
- Special Submission Industry Category
ชนะเลิศ บริษัท แพนดอร่า โพรดักชั่น จำกัด
ประเภทอาคารควบคุม จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่
Large Building Category
รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา : สภากาชาดไทย
รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี : มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
Small and Medium Building Category
ชนะเลิศ โรงแรมอันดามัน คาเนเซีย รีสอร์ทแอนด์สปา : บริษัท ภูเก็ตคาเนเซีย จำกัด
ประเภทอาคารสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่
Retrofitted Building Category
รองชนะเลิศอันดับ 2 อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ 3 (พญาไท) : บริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน)
Green Building Category
รองชนะเลิศอันดับ 1 อาคาร KBTG : ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)