กฟผ.ลุ้นศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง​พิจารณามาตรา 56 สร้างความชัดเจนแผนการลงทุนในอนาคต

1143
- Advertisment-

ศาลรัฐธรรมนูญ​มีมติเป็นเอกฉันท์รับคำร้องคดีเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 51 ว่า กระทรวงพลังงานกำหนดยุทธศาสตร์​กระทรวงพลังงาน ปี 2559-2563 และแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2561-2580 ทำให้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของรัฐลดลงต่ำกว่าร้อยละ 51 เป็นการกระทำที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ​มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบมาตรา 3 วรรคสอง หรือไม่ โดยให้ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาล ภายใน 15 วันนับตั้งแต่ได้รับสำเนาคำร้อง โดยคดีดังกล่าวมีนายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล เป็นผู้ร้องถูกบรรจุไว้ในเรื่องพิจารณา​ที่16/2565 ของการประชุมของศาลรัฐธรรมนูญ​วันที่ 14 ก.ย.2565

ผู้สื่อข่าว​ศูนย์ข่าว​พลังงาน​ ( Energy News​Center-ENC​ )​ รายงานว่า สาระสำคัญ​ของรัฐธรรมนูญ​2560 มาตรา ที่ 56 ที่ศาลรัฐธรรมนูญ​จะพิจารณาตามที่มีผู้ร้อง นั้น ระบุว่า รัฐต้องจัดหรือดําเนินการให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โครงสร้างหรือโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจําเป็นต่อการดํารงชีวิตของประชาชนหรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ รัฐจะกระทําด้วยประการใดให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนหรือทําให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดมิได้

- Advertisment -

การจัดหรือดําเนินการให้มีสาธารณูปโภคตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง รัฐต้องดูแลมิให้มีการเรียกเก็บค่าบริการจนเป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร
การนําสาธารณูปโภคของรัฐไปให้เอกชนดําเนินการทางธุรกิจไม่ว่าด้วยประการใดๆ รัฐต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างเป็นธรรม โดยคํานึงถึงการลงทุนของรัฐ ประโยชน์ที่รัฐและเอกชนจะได้รับและค่าบริการที่จะเรียกเก็บจากประชาชนประกอบกัน

แหล่งข่าวจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( กฟผ. )​ กล่าวว่า การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ จะทำให้เกิดความชัดเจนต่อการลงทุนของ กฟผ. ในอนาคต ในฐานะที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีบทบาทในการดูแลกิจการผลิตไฟฟ้าและระบบสายส่งไฟฟ่าเพื่อความมั่นคงด้านไฟฟ้าของประเทศ​ซึ่งถือเป็นกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจําเป็นต่อ
การดํารงชีวิตของประชาชนตามมาตรา 56

โดยสัดส่วนที่รัฐจะต้องเป็นเจ้าของไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 นั้น จะหมายถึงเฉพาะโรงไฟฟ้าของ กฟผ. หรือหมายรวมถึงระบบสายส่งไฟฟ้า หรือ หุ้นที่ กฟผ.ถืออยู่ในโรงไฟฟ้าของบริษัทลูก และระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆด้วย หรือไม่

โดยเมื่อคำวินิจฉัย​ออกมาอย่างไรก็จะมีผลผูกพันต่อหน่วยงานที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติ​ของรัฐธรรมนูญ​

Advertisment