SPCG เดินหน้าโซลาร์ฟาร์มเฟสแรก 500 เมกะวัตต์ ตามมติ กพอ. ภายใต้กฏหมาย EEC

2211
- Advertisment-

SPCG เดินหน้าพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์มเฟสแรก 500 เมกะวัตต์ ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ได้ตามมติของคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และตาม พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561 เพื่อรองรับกลุ่ม อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ต้องการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยพร้อม ลงนามข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาพัฒนาวิจัยและลงทุนระบบกักเก็บพลังงาน เพื่อการบริหารจัดการ พลังงานสําหรับโครงการ กับ PEA ENCOM และ SET Energy วันที่ 15 ก.พ. นี้

การลงทุนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ EEC เป้าหมายระยะแรกไม่น้อยกว่า 500 เมกะวัตต์ ตั้งแต่ปี 2564-2569 มูลค่าการลงทุนกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท จะดําเนินการโดยบริษัท SET Energy ที่มีบริษัท เอสพีซีจี จํากัด (มหาชน) หรือ SPCG และ PEA ENCOM ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยเป็นไปตามมติของคณะกรรมการนโยบาย เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ( กพอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2563 ที่ได้เห็นชอบใน หลักการโครงการจัดหาพลังงานสะอาด (พลังงานแสงอาทิตย์) ในพื้นที่ EEC โดยมอบหมายให้ทาง สํานักงานคณะ กรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ( สกพอ.) เสนอกระทรวงพลังงานนําเข้าบรรจุในแผนพัฒนา กําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP)

สําหรับความคืบหน้าของโครงการนั้น บริษัทผู้พัฒนาโครงการได้มีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือ PPA กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแล้ว ในราคาค่าไฟฟ้าเท่ากับราคาขายส่งที่ กฟภ.รับซื้อจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ กฟภ.จะทําหน้าที่เป็นผู้แบคอัพระบบเพื่อความมั่นคงในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับลูกค้าในพื้นที่ ซึ่งในวันที่ 15 ก.พ. 2564 นี้ ทาง PEA ENCOM กับ SPCG และ SET Energy จะมีพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือการศึกษา พัฒนาวิจัย และลงทุนระบบกักเก็บพลังงาน เพื่อการบริหารจัดการพลังงาน สําหรับ โครงการจัดหาพลังงานไฟฟ้า พลังงานสะอาด ( พลังงานแสงอาทิตย์ ) และพลังงานสํารอง (ระบบกักเก็บพลังงาน) เพื่อใช้ในเขตพื้นที่เขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก (EEC)

- Advertisment -

โดยในแผนงานที่ทาง สกพอ.นําเสนอให้ กพอ.เห็นชอบนั้น มีการประเมินถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ EEC ครอบคลุม 3 จังหวัด คือฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง นั้น ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 4,475 เมกกะวัตต์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น พลังงานไฟฟ้าที่มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งผลจากส่งเสริมให้อุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC มากขึ้น ภายในปี 2580 คาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 10,000 เมกะวัตต์ ตามแผนการ พัฒนาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่EEC จึงกําหนดสัดส่วนให้การใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ที่ 70:30% ทําให้จะต้องมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่มีกําลังการผลิตประมาณ 3,000 เมกะวัตต์

วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ กรรมการผู้จัดการใหญ่ SPCG

ด้าน นางวันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จํากัด(มหาชน) หรือ SPCG เปิดเผยว่า บริษัทมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของที่ดินสําหรับการลงทุนผลิตไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ EEC ตามเป้าหมายระยะแรกไม่น้อยกว่า 500 เมกะวัตต์ ตั้งแต่ปี 2564-2569 แล้ว โดยอยู่ใกล้กับแนวสายส่งของ กฟภ. เพื่อให้ง่ายต่อการจ่ายไฟ ในลักษณะ Distributed Generation

ทั้งนี้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน จะสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้ากลุ่มใหม่ ซึ่งใช้ เทคโนโลยีขั้นสูง ทันสมัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่เป็นเป้าหมายของ EEC ซึ่งถือเป็นความท้าทายของ SPCG ในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย โดยมีโครงการที่จ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบในประเทศแล้ว 36 โครงการ กําลังการผลิตรวม 260 เมกะวัตต์

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน ( Energy News Center-ENC ) รายงานว่า ภายใต้ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก พ.ศ.2561 ถือเป็นกฏหมายที่ออกมาเพื่อเอื้อต่อการชักจูงการประกอบพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทันสมัย สร้างนวัตกรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยในมาตรา 9 ระบุสาระสําคัญว่าหากคณะกรรมการนโยบายฯ คือ กพอ.ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เห็นว่ามี กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคําสั่งใดก่อให้เกิดความไม่สะดวกหรือ ล่าช้า มีความซ้ำซ้อนหรือ เป็นอุปสรรคก็สามารถนําเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้พิจารณาให้มีการดําเนินการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคําสั่งดังกล่าว หรือมีกฎหมายขึ้นใหม่เพื่อให้การพัฒนา EEC มีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็วได้ แต่ต้องไม่กระทบต่อความเสมอภาค สิทธิและเสรีภาพของประชาชน และต้องไม่เลือกปฏิบัติ

โดยมติของ กพอ. ที่ออกมา จะมีผลผูกพันกับกระทรวงและหน่วยงานทุกหน่วยที่เป็นกรรมการอยู่ด้วย ซึ่งล้วนแต่เป็นกระทรวงและหน่วยงานที่สําคัญ อาทิ กระทรวงการคลัง พลังงาน อุตสาหกรรม เกษตรและสหกรณ์ คมนาคม พาณิชย์ ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แรงงาน สาธารณสุข ศึกษาธิการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาดไทย กลาโหม รวมทั้ง สํานักงบประมาณ สํานักงานส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ และ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ทั้งนี้ เมื่อ กพอ. ได้มีมติอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบเรื่องใดแล้ว จะมีการนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และหากไม่มีข้อทักท้วง หรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหรือเห็นชอบตามมติของ กพอ.และเมื่อ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็ให้ใช้บังคับได้

นอกจากนี้ มาตรา 37 ของ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561 ยังระบุสาระสําคัญที่ให้ กพอ.มีอํานาจอนุมัติ อนุญาต ให้สิทธิ หรือให้สัมปทานแก่บุคคลซึ่งดําเนินการอันเป็นประโยชน์โดยตรงในพื้นที่ EEC ตามกฎหมาย ซึ่งรวมถึงอํานาจ ของกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงาน ด้วย แต่หากเป็นการดําเนินการภายนอกพื้นที่ EEC จะต้องเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกันและต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี และหน่วยงานที่ผู้รักษาการตามกฎหมายนั้นๆด้วย

Advertisment