O&M สำหรับระบบโซลาร์เชิงพาณิชย์

2311
- Advertisment-

โดย: Meir Adest ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศและผู้ก่อตั้ง SolarEdge

เมื่อระบบโซล่าร์เชิงพาณิชย์มีการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นพร้อม ๆ กับระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลาดกําลังมองหาระบบโซล่าร์ที่เป็นมากกว่าแหล่งพลังงานสะอาด โดยถูกมองว่าเป็นการลงทุนระยะยาวที่จําเป็นต้องได้รับการจัดการอย่างใกล้ชิดเพื่อปรับปรุง ROI (Return of Investment) และผลประกอบการ เช่นเดียวกับการลงทุนอื่นๆ ซึ่งใช้สองวิธีหลัก อันได้แก่ การเพิ่มรายได้ และ การลดรายจ่ายตลอดอายุการใช้งาน ในการปรับปรุง ROI ของระบบโซล่าร์เชิงพาณิชย์

วิธีการทั่วไปในการประเมินประสิทธิภาพของระบบโซล่าร์เชิงพาณิชย์ คือ อัตราส่วนประสิทธิภาพของระบบโซล่าร์ (Performance Ratio = PR) ซึ่งวัดความแตกต่างระหว่างค่าพลังงานที่ผลิตได้จริงและค่าพลังงานที่คำนวณจากทฤษฎีของระบบ  ซึ่งก็คือ ร้อยละของพลังงานที่ระบบผลิตได้จริงเทียบกับค่าที่คํานวณได้จากความเข้มแสงและอุณหภูมิ โดยการปฏิบัติการและการบํารุงรักษา (O&M) มีไว้เพื่อทําให้ผลผลิตจริงเข้าใกล้ผลผลิตที่เป็นไปได้ในทางทฤษฎีของระบบมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม วิธีแรกในการเพิ่มผลผลิตของระบบคือ กระบวนการออกแบบและการวางแผน เมื่อวิเคราะห์ตัวเลือกระบบแบบต่าง ๆ เจ้าของระบบควรเลือกระบบตามความสามารถในการผลิตกําลังไฟฟ้าบนหลังคา ระบบมาตรฐานหลายระบบจะลดจํานวนแผงที่สามารถวางบนหลังคา ตามข้อจํากัดด้านการออกแบบ ตัวอย่างเช่น ไม่อนุญาตให้ใช้แผงแบบต่างกันหรือมีความยาวของสตริงที่แตกต่างกัน และต้องหลบวัตถุบนหลังคาที่บดบังแสงอาทิตย์บางส่วนอันเนื่องมาจากต้นไม้และกล่องหม้อแปลงที่พื้นดิน การเลือกระบบที่ออกแบบมาเพื่อจัดการข้อจำกัดเหล่านี้จะช่วยให้สามารถติดตั้งแผงได้จำนวนมากขึ้น และจะทําให้ระบบ PV เชิงพาณิชย์ทํากําไรได้มากขึ้นตั้งแต่วันแรก

- Advertisment -

อีกวิธีหนึ่งที่สําคัญในการปรับปรุง PR ของระบบนี้ คือ การลดการสูญเสียพลังงานเนื่องจาก Module Mismatch เพื่อเพิ่มพลังงานที่ระบบผลิตได้ เจ้าของระบบและผู้ติดตั้ง (EPC) สามารถทํางานเพื่อให้รองรับการขยายระบบเชิงพาณิชย์ในอนาคตได้ โดยใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดความไม่เข้ากัน (Mismatch) และการสูญเสียค่าพลังงานจากการเสื่อมประสิทธิภาพของแผง การป้องกันสำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมที่คาดเดาไม่ได้ หรืออุปสรรคใหม่ ๆ (เช่น เสาสัญญาณที่ถูกนำมาติดตั้ง ต้นไม้ที่เติบโต ฯลฯ) และ ปัจจัยอื่นๆ เช่น ดินและการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ แม้ว่าระบบโซลาร์ทุกแบบสามารถเกิดการ Mismatch แต่ก็ยังมีระบบการติดตั้งแบบเฉพาะอย่างที่สามารถลดผลกระทบนี้ได้ เช่น การใช้แผงสองหน้า (Bi-Facial Modules) และแผงที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ไม่เรียบ เช่น บนเนินเขาบนน้ำ หรือพื้นที่ที่มีการยุบตัวของพื้นดิน

เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น พลังงานอิเล็กทรอนิกส์ระดับโมดูล (MLPE) จะช่วยลดการสูญเสียพลังงานให้เหลือเพียงแผงที่ได้รับผลกระทบ แทนที่จะเสียค่าพลังงานไปทั้งสตริง โดยการปรับการผลิตพลังงานให้เหมาะสมต่อแผง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะลดการสูญเสียค่าพลังงานในอนาคตได้มากแค่ไหน จะยังมีแผงที่มีข้อบกพร่องที่ต้องเปลี่ยนใหม่เสมอ หากระบบใช้เทคโนโลยีที่สามารถใช้แผงใดก็ได้ที่มีอยู่ในตลาด แทนที่จะต้องสต็อกแผงเก็บไว้ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ก็จะลดต้นทุนเพิ่มได้อีก

ที่ระดับ O&M การตอบสนองสาเหตุที่ทําให้การผลิตลดลงได้อย่างรวดเร็ว เป็นอีกปัจจัยสําคัญในการปรับปรุงเวลาการทํางานของระบบ การบำรุงรักษา (O&M) เคยเป็นงานที่สิ้นเปลืองและใช้เวลานาน แต่ด้วยเทคโนโลยีการออกแบบระบบการตรวจสอบแบบคลาวด์ในระดับแผง ( Module-level Cloud-based Monitoring) จะช่วยให้แจ้งเตือนความผิดปกติโดยอัตโนมัติ ตรวจจับได้แบบเรียลไทม์ และสามารถแก้ไขปัญหาได้จากระยะไกล กระบวนการนี้จึงง่ายเพียงแค่คลิกไม่กี่ครั้งในออฟฟิซของคุณ จากงาน O&M ที่ถูกมองว่าเป็นกระบวนการที่ใช้แรงงานเป็นหลัก หรือเป็นการ “งมเข็มในมหาสมุทร” ได้กลายเป็นงานที่เจาะจงเป้าหมาย ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยปรับปรุงระยะเวลาการทํางานของระบบ (uptime) เท่านั้น ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการ O&M และช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย นี่คือเหตุผลที่ต้องเข้าใจโอกาสในการลดต้นทุนการดำเนินงานในระยะยาว เมื่อวิเคราะห์โซลูชัน O&M สําหรับการจัดการสินทรัพย์ทางด้านโซล่าร์เซลล์

การตรวจติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจติดตามระดับแผงสามารถแจ้งเตือนและระบุถึงปัญหาของระบบ เพื่อลดการเดินทางไปหน้างานและลดเวลาที่ต้องใช้ในไซต์งาน การตรวจสอบประเภทนี้ช่วยให้ทีมงาน O&M สามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาไซต์ได้อย่างสะดวกสบายจากสำนักงาน หากแผงใดมีไดโอดที่ใช้งานไม่ได้ จะมีการแจ้งเตือนอัตโนมัติให้กับทีมงาน O&M ทราบ โดยสามารถระบุตำแหน่งแผงได้อย่างง่ายดาย และสามารถบันทึกภาพหน้าจอส่งให้กับผู้ผลิตโมดูลได้เพื่อเคลมอุปกรณ์ ซึ่งหมายความว่าในระหว่างการเดินทางไปยังหน้างานครั้งต่อไป ทีมงาน O&M สามารถเปลี่ยนแผงที่มีปัญหาได้ทันที เทียบกับการตรวจสอบแบบทั่วไป ที่ต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระดับแผงเฉพาะอย่าง ซึ่งหาซื้อได้ยาก เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่าย และยังส่งผลกระทบในเชิงลบต่อ ROI ของระบบอีกด้วย

ผลกระทบที่เกิดกับรายได้และค่าใช้จ่ายสามารถถูกเชื่อมโยงได้โดยตรงกับการเลือกอินเวอร์เตอร์ในขั้นตอนแรก โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การเลือกอินเวอร์เตอร์นั้น เป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อต้นทุน BoS มากที่สุด แต่ในปัจจุบัน อินเวอร์เตอร์นั้นมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับกำลังการผลิตและค่าใช้จ่ายสำหรับการบำรุงรักษาของทั้งระบบ ยกตัวอย่างเช่น SolarEdge’s   DC Optimized inverter ซึ่งสามารถจัดการการผลิตพลังงานและควบคุมค่าใช้จ่ายด้าน O&M ได้ 100% โดยนําเสนอบริการตรวจสอบระดับแผงแบบคลาวด์ฟรีตลอดอายุการใช้งานของระบบ ไม่เพียงแต่ช่วยลดค่าใช้จ่าย CAPEX แต่ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบํารุงรักษาอย่างต่อเนื่อง และช่วยเพิ่มระยะเวลาการทํางานของระบบอีกด้วย ตัวอย่างหนึ่งของการประหยัดค่าใช้จ่ายนี้คือ การตรวจสอบระดับแผงที่ให้ความละเอียดด้านการผลิตของระบบที่ดีขึ้น 50 เท่า เมื่อเทียบกับอินเวอร์เตอร์แบบสตริงมาตรฐาน ระดับการตรวจสอบนี้หมายถึงการมีข้อมูลเชิงลึกในระดับ 600W เทียบกับระดับ 30kW ด้วยข้อมูลประเภทนี้ ไม่เพียงแต่เกี่ยวกับการผลิตของระบบและของสตริงเท่านั้น ยังรวมไปถึงการผลิตของแผงด้วย ทีมงาน O&M จึงสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของตนได้ ในขณะเดียวกันก็ให้บริการที่ดีขึ้นด้วย การบํารุงรักษาเชิงป้องกันส่วนใหญ่สามารถดําเนินการผ่านคอมพิวเตอร์ จะใช้เวลาในการแก้ไขปัญหาในไซต์น้อยลง และลดระยะการเดินทาง จากการประมาณการของเรา ด้วยต้นทุน O&M ประมาณ 1-2% ของต้นทุนเริ่มต้นของระบบ การตรวจสอบระดับแผงพร้อมการแก้ไขปัญหาระยะไกลนั้นช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ 15-25% นอกจากนี้ โซลูชันการตรวจสอบประเภทนี้ยังนําเสนอรายงานเกี่ยวกับความสามารถของระบบที่บริษัทบุคคลที่สามมักต้องการใช้ เช่น นักลงทุน ธนาคาร หรือหน่วยงานสาธารณูปโภค

ด้วยปัจจัยเหล่านี้ การเลือกอินเวอร์เตอร์จึงถูกมองว่ามีความสําคัญอย่างมากสําหรับการทำงานและการผลิตระบบโซล่าร์เชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง เมื่อมีการแข่งขันมากขึ้น เพื่อช่วงชิงกันว่าอินเวอร์เตอร์แบบใดสามารถปรับปรุง PR ของระบบสำหรับการค้าได้ดีที่สุด ปัจจัยเหล่านี้จึงกลายเป็นสิ่งที่จําเป็นมากกว่าเดิม ดังนั้น เมื่อวางแผนการลงทุนขนาดใหญ่อย่างระบบโซล่าร์เชิงพาณิชย์ การเข้าใจว่าอินเวอร์เตอร์สามารถเพิ่มรายได้ของระบบและลดต้นทุนตลอดอายุการใช้งานของระบบอย่างไรจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

Advertisment