IRPC ดันนวัตกรรมอาหารเสริมพืช สู่ธุรกิจใหม่

425
- Advertisment-

บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) คิดค้นนวัตกรรมอาหารเสริมพืช สร้างธุรกิจใหม่ ต่อยอดความยั่งยืนธุรกิจในอนาคต หลังประสบความสำเร็จ สูตรซิงค์ออกไซด์นาโน ตรา ปุ๋ยหมีขาว  พร้อมเร่งพัฒนาอีก 4 สูตรใหม่ หวังได้ใบรับรอง กลางเดือน พ.ค. 2566 คาดเริ่มจำหน่ายได้ในเดือน มิ.ย. 2566

นายกฤษณ์ อิ่มแสง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC เปิดเผยว่า IRPC ได้เปิดจำหน่ายอาหารเสริมสำหรับพืช สูตรซิงค์ออกไซด์นาโน ตรา ปุ๋ยหมีขาว ซึ่งเป็นสูตรนวัตกรรมที่ IRPC คิดค้นขึ้นร่วมกับชุมชนในโครงการ คลินิกหมอดิน ด้วยการวิเคราะห์สภาพดินและพัฒนาอาหารเสริมสำหรับพืชดังกล่าว

โดยจากการทดสอบอาหารเสริมพืชสูตรซิงค์นาโน กับต้นทุเรียน ด้วยการฝังเข็มบนต้นทุเรียนพบว่า ต้นทุเรียนที่ใกล้ตายฟื้นคืนชีพโดยเห็นผลได้ภายใน 3 วัน  สำหรับอาหารเสริมพืชดังกล่าวสามารถใช้ได้กับพืชไร่ เช่น ข้าว, พืชสวน เช่น ทุเรียน  เงาะ  มังคุด มะนาว และพืชดอก เช่น กล้วยไม้ เป็นต้น

- Advertisment -

อย่างไรก็ตาม IRPC ได้ใช้ “สวนยายดา เจ๊บุญชื่น” จัดทำโครงการ IRPC Smart Farming จังหวัดระยอง ตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2565 เพื่อเป็นพื้นที่นำร่องทดสอบการใช้อาหารเสริมพืช เพื่อแก้โรคให้กับสวนทุเรียน และประสบผลสำเร็จด้วยดี  ทั้งนี้ IRPC ได้เริ่มจำหน่ายอาหารเสริมพืชมา 1 ปีกว่า โดยจำหน่ายในราคา 1 ลิตร 990 บาท ซึ่งสามารถใช้ในปริมาณ 2 ซีซี ต่อน้ำเปล่า 1 ลิตร หรือฝังได้ประมาณ 50 เข็ม  ที่แตกต่างจากปุ๋ยทั่วไป ที่ใช้ปุ๋ย 1 ลิตร ต่อน้ำเปล่า 1 ลิตร  ดังนั้นสารอาหารพืชจึงประหยัดและได้ผลดีกับพืชผลการเกษตรมากกว่า โดยจะจำหน่ายผ่านเว็บไซต์  IRPC และที่สวนยาดา เจ๊บุญชื่น จ.ระยอง

ทั้งนี้หลังจากประสบความสำเร็จในการทำอาหารเสริมสูตรแรกไปแล้ว IRPC ได้พัฒนาและวิจัยนวัตกรรมอาหารเสริมพืชเพิ่มอีก 4 สูตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการยื่นขอใบอนุญาตเพื่อดำเนินการผลิตและจำหน่ายจากกรมวิชาการเกษตร คาดว่าจะได้รับใบอนุญาตในเดือน พ.ค. 2566 นี้  และคาดว่าจะเปิดจำหน่ายได้ต้นเดือน มิ.ย. 2566

นอกจากนี้ IRPC  ได้นำโซลาร์ลอยน้ำ ที่ IRPC พัฒนาทุ่นติดตั้งโซลาร์เซลล์มาติดตั้งที่สวนยายดาฯ เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในสวนตอนกลางวันได้ปริมาณ 5  กิโลวัตต์ต่อวัน ซึ่งในอนาคตมีแผนต่อยอดนำนวัตกรรมแบตเตอรี่ ที่กลุ่ม ปตท. ได้วิจัยและพัฒนาเข้ามาติดตั้งร่วมกับโซล่าร์ลอยน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าในอนาคต

อย่างไรก็ตาม IRPC คาดหวังว่านวัตกรรมอาหารเสริมพืชดังกล่าวจะขยายผลต่อยอดไปอย่างกว้างขวางทั่วประเทศโดยหน่วยงานภาครัฐทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ทั่วประเทศ รวมถึงให้สวนยายดาฯ เป็นผู้ขยายผลผ่านชุมชนไปยังสวนต่างๆ ต่อไป

สำหรับธุรกิจอาหารเสริมพืชจัดว่าเป็นธุรกิจใหม่ของ IRPC แม้ปัจจุบันยังไม่สร้างผลตอบแทนคุ้มค่า เนื่องจากเป็นธุรกิจขนาดเล็ก แต่ในอนาคตจะขยายการเติบโตธุรกิจต่อไป ซึ่งธุรกิจนี้อยู่ภายใต้บริษัท รักษ์ป่าสัก จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม IRPC ที่ IRPC ถือหุ้น 100%

Advertisment