IEEE PES–Thailand จัดแข่งขัน 5-Minute Student Project Pitch 2025 โดยทีม IonShield จาก ม.ศรีนครินทรวิโรฒ คว้ารางวัลชนะเลิศ

50
- Advertisment-


สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) (IEEE PES – Thailand) ได้จัดการแข่งขัน “IEEE PES 5-Minute Student Project Pitch competition (5MSPP 2025)” ขึ้นเป็นปีที่ 4 โดยเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากทั่วประเทศนำเสนอผลงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและ พลังงาน ภายในเวลา 5 นาที ด้วยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่กระชับ ชัดเจน และน่าสนใจ เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสาร ซึ่งเป็นสมรรถนะสำคัญของวิศวกรในศตวรรษที่ 21 โดยผลการแข่งขัน ทีม IonShield จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ประกอบด้วยนายอภิสิทธิ์ พสธร  และนายรัชชานนท์ ผิวพรรณ ซึ่งนำเสนอผลงาน “เครื่องถนอมอาหารด้วยเทคโนโลยีพลาสมาอุณหภูมิต่ำชนิดการดิสชาร์จข้ามฉนวนในสภาวะบรรยากาศ” คว้ารางวัลชนะเลิศ ส่วนรองชนะเลิศอันดับ 1 คือ ทีม Smart EV Charging Fault Detection จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน ( Energy News Center -ENC ) รายงานถึงการแข่งขัน “IEEE PES 5-Minute Student Project Pitch competition (5MSPP 2025)” ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 4 โดยสมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) (IEEE PES – Thailand)เมื่อเร็วๆนี้ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันได้นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงจากการไฟฟ้าและบริษัทพลังงานชั้นนำของประเทศ นับเป็นเวทีที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้พัฒนาศักยภาพ สร้างความมั่นใจ และเตรียมความพร้อมสู่การเป็นวิศวกรไฟฟ้าและพลังงานในอนาคต  โดยในปีนี้มีทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันรวมทั้งสิ้น 40 ทีม และคัดเลือก 6 ทีมผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ได้แก่


1. ทีม The Sun – มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2. ทีม Smart EV Charging Fault Detection – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
3. ทีม IonShield – มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
4. ทีม Green Link Innovator – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
5. ทีม Smart Grid NU – มหาวิทยาลัยนเรศวร
6. ทีม YT Electric – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา

โดยก่อนการแข่งขันรอบสุดท้ายจะเริ่มขึ้นทาง นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ในฐานะนายกสมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ได้ให้ความสนใจ เยี่ยมชมการจัดแสดงผลงานของนักศึกษาในแต่ละทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายพร้อมพูดคุยแสดงความชื่นชมผลงานกับนักศึกษาด้วย

- Advertisment -
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการตัดสินรอบสุดท้ายการแข่งขัน “IEEE PES 5-Minute Student Project Pitch competition (5MSPP 2025)”

สำหรับผลการแข่งขันซึ่งตัดสินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ปรากฏว่าทีมที่ได้ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม IonShield จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่มีนายอภิสิทธิ์ พสธร และนายรัชชานนท์ ผิวพรรณ เป็นผู้นำเสนอผลงาน “เครื่องถนอมอาหารด้วยเทคโนโลยีพลาสมาอุณหภูมิต่ำชนิดการดิสชาร์จข้ามฉนวนในสภาวะบรรยากาศ” และมี รองศาสตราจารย์ ดร.คณิศร์ มาตรา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร

ส่วนรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม Smart EV Charging Fault Detection จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีนายณัฐภัทร ตูพานิช และนางสาวสุปวีณ์ แสงทับทิมนำเสนอผลงานในหัวข้อเดียวกับชื่อทีม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพงษ์ นุตวงษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท

และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม Green Link Innovator จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เช่นเดียวกัน มี นายพิชญะ รัชผล และนายศุภวิชญ์ บูรณะเศรณี นำเสนอระบบคำนวณค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับอาคาร โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย เตชะวัชราภัยกุล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท

สำหรับ รางวัลชมเชย จำนวน 3 ทีม ซึ่งแต่ละทีมได้รับเงินรางวัลทีมละ 5,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรได้แก่
ทีม The Sun (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี) โดยนายธีรวัตร สังข์ชาตินำเสนอเรื่อง “การประเมินกำลังผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่เหมาะสมสำหรับที่อยู่อาศัย” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คมสันติ์   ดาโรจน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ทีม Smart Grid NU (มหาวิทยาลัยนเรศวร) โดยนายกษิดิศเดช สวนปลิก และนายสุปกาณฑ์ อ่วมวงษ์นำเสนอเรื่อง “Day-ahead load forecasting and dispatch scheduling in the energy management of the SGtech platform” โดยมี ผศ.ดร.อัญชิษฐา ปราสาททรัพย์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ดร.เศรษฐา ตั้งค้าวานิช และ ผศ.ดร.พรทิพย์ เม่นสิน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม    
ทีม YT Electric (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา) โดย นางสาวยุวดี กรรทิพากร และนายธนากร ขานสันเทียะ นำเสนอเรื่อง “วิธีการคัดเลือกกลุ่มโหลดรายอาคารสำหรับติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุทธณา คงจีน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

Advertisment