ดร.คงกระพัน แถลงกลยุทธ์ พร้อมขับเคลื่อน ปตท. ให้แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตระดับโลกอย่างยั่งยืน

843
- Advertisment-

วันนี้ (14 มิถุนายน 2567) – ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เผยวิสัยทัศน์ “ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน” หรือ “TOGETHER FOR SUSTAINABLE THAILAND, SUSTAINABLE WORLD” ดำเนินธุรกิจบนหลัก “ความยั่งยืนอย่างสมดุล” ให้เหมาะกับบริบทองค์กรทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี​ มุ่งให้ ปตท. เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติที่สร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล บริหารองค์กรด้วยความโปร่งใส มีการกำกับดูแลที่ดีมีธรรมาภิบาลขณะที่ ทิศทางและกลยุทธ์ของกลุ่ม ปตท. (PTT Group Direction and Strategy) เน้นการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน สร้างการเติบโตทางธุรกิจ ควบคู่กับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างสมดุล เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี พ.ศ. 2593 โดยประกอบด้วย 5 แนวทาง ได้แก่

1​ ยกระดับความสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจที่มีอยู่เดิม (Competitiveness Enhancement: Existing Business) ทำธุรกิจให้แข็งแรง ปรับ Portfolio โดยหาพันธมิตรทางธุรกิจที่มีศักยภาพ พร้อมต่อยอดสร้างการเติบโตในเรื่องที่ถนัดแบ่งเป็น 2 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่

    • กลุ่มธุรกิจ Hydrocarbon and Power ประกอบด้วย
    • ธุรกิจสำรวจและผลิต: สร้างความต่อเนื่อง มั่นคงทางวัตถุดิบ จัดหา source ใหม่ที่มีต้นทุนต่ำ สร้างผลตอบแทนที่ดี และต้องสร้างการเติบโตของธุรกิจ Hydrocarbon ควบคู่กับการทำ​ Decarbonization
    • ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ: สร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจเดิม ซึ่งต้องมีความ Competitive และ Lean แสวงหา Alternative Source ทั้ง Pipe gas และ LNG และมีต้นทุนที่แข่งขันได้ และต้อง Alignment การทำงานร่วมกับภาครัฐ
    • ธุรกิจไฟฟ้า: ภารกิจหลักคือการสร้างความมั่นคง และรักษา Reliability ให้กับกลุ่ม ปตท. พร้อมกับการจัดหาพลังงานสะอาดเพื่อช่วย Decarbonization & Net Zero ของกลุ่ม ปตท. และแสวงหาโอกาสสร้างการเติบโตทั้งในและต่างประเทศ
    • ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น: สร้างความแข็งแรง เติบโตร่วมกับ Strategic Partner รวมทั้ง Competitiveness ด้าน Cost & Feedstock Flexibility ต้องมีการ Synergy Enhancement and Optimization ทั้งกลุ่ม ปตท. รวมถึงการมุ่งเน้นสร้างการเติบโตใน High Value & Low Carbon Business
    • ธุรกิจค้าปลีก: มุ่งเน้นการลงทุนที่มี Substance มีความสำคัญต่อผลประกอบการและเป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่ Asset light
    • ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ: ต้องสร้าง Synergy ภายในกลุ่ม ปตท. ยกระดับขยายผลทั้งในและต่างประเทศ
    • กลุ่มธุรกิจ Non-Hydrocarbon Business ที่เป็น New S-Curve หรือธุรกิจใหม่ มีหลักในการดำเนินธุรกิจ ดังนี้
      กลยุทธ์ที่ทำเรื่อง EV / Life Science & Healthcare / Digital มีความสอดคล้องกับ Global Megatrends แต่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรจึงต้องปรับตัวเร็ว และต้อง Revisit value chain ว่า area ใด มีความน่าสนใจ มีอนาคต และเป็นประโยชน์ต่อ ปตท. และประเทศไทย หรือ area ใดที่ ปตท. มีจุดแข็งสามารถ Synergy ในกลุ่ม ปตท. เพื่อที่จะสร้างความแตกต่างได้
      ประกอบด้วย
    • ธุรกิจ EV และ Logistics ต้องเข้าใจ value chain เลือกเล่นใน space ที่เหมาะสม
    • ธุรกิจ Life Science ร่วมมือกับพันธมิตรสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ
    • ธุรกิจ Industrial AI ต้องยกระดับ ขยายผลทั้งกลุ่ม ปตท. ช่วยให้ธุรกิจเดิมเข้มแข็ง และต่อยอดเป็นธุรกิจใหม่

    2​ สร้างการเติบโต หาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ (Growth: New Business & Opportunity) ต่อยอดสร้างการเติบโตในธุรกิจ โดยเฉพาะด้านความยั่งยืน คือ ธุรกิจไฮโดรเจนและคาร์บอน (Hydrogen and Carbon Business Integration Strategy) สร้างการเติบโตต่อยอดจากเป้าหมาย Decarbonization มุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แบบบูรณาการทั้งกลุ่ม ปตท. โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจนและมีเป้าหมายร่วมกัน ใช้จุดแข็งของทุกบริษัทในกลุ่ม โดยมี ปตท. เป็นผู้กำกับดูแลภาพรวม ร่วมผลักดันและขับเคลื่อนให้สำเร็จเป็นโอกาส Transform ธุรกิจเดิมของกลุ่ม ปตท. ให้มี Advantage เพิ่มขึ้น และสามารถพัฒนาเป็นธุรกิจใหม่​

    - Advertisment -

    3​ สร้างความชัดเจนในแนวทางความยั่งยืน (Sustainability) ทุกมิติ ด้วยการบูรณาการเข้าไปในธุรกิจ ผสานการบริหารจัดการ Portfolio และ Net Zero เข้าด้วยกันทั้งกลุ่ม ปตท. มุ่งสู่การเป็น Net Zero Company ควบคู่กับการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว และสร้างคุณค่าสู่สังคม ผ่านแนวทาง ปรับ Portfolio การลงทุนและปรับโครงสร้างธุรกิจให้มีความยืดหยุ่น สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ลดการใช้พลังงาน เพิ่มการใช้พลังงานสะอาด และ ชดเชยคาร์บอน ด้วยเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) และโครงการปลูกป่า.

    4​ สร้างปัจจัยที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม (Enablers for Transformation) ได้แก่ สร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (Operational Excellence) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ เนื่องจากมีปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ จึงควรมุ่งเน้นทำสิ่งที่ควบคุมได้อย่างเข้มข้น ต้องสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน (Build core resilience) ลดต้นทุน โดยการยกระดับ Operation & Efficiency ด้วยการนำเทคโนโลยี ดิจิทัล และ AI มาประยุกต์ใช้ โดยมีแผนงานและเป้าหมายที่ชัดเจน และขยายผลทั่วทั้งกลุ่ม ปตท. อีกทั้ง ต้องทำ Lean Organization ร่วมกับ Digital Transformation ซึ่งต้องเริ่มในวันที่องค์กรยังแข็งแรง จัดลำดับความสำคัญ เริ่มทำโครงการที่เห็นผลลัพธ์เร็ว เพื่อให้เกิดการยอมรับในทุกระดับ และต้องสร้างความเข้มแข็งด้าน Culture สร้างความตระหนัก ปลูกฝังให้พนักงานกล้าที่จะปรับและพร้อมที่จะเปลี่ยนเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

    5​ รักษาพื้นฐานสำคัญ มุ่งเน้นธรรมาภิบาลและการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริหารองค์กรด้วยความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล ยึดถือ Way of Conduct อย่างเคร่งครัด รวมถึงการบริหารงานบุคลากร ด้วยความยุติธรรม โปร่งใส สร้าง Ecosystem ส่งเสริมคนดีและคนเก่งให้เติบโตอย่างเหมาะสม รวมถึงการมีความเป็นเลิศทางด้านการเงิน (Financial Excellence) ซึ่งถือเป็นพื้นฐาน ที่สำคัญของการดำเนินธุรกิจ

      “ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปตท. ต้องปรับตัว ให้มีความคล่องตัว มุ่งมั่นรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโต ควบคู่ไปกับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย พร้อมมุ่งสู่การเติบโตขององค์กรในระดับโลกอย่างยั่งยืนต่อไป” ดร.คงกระพัน กล่าว

      Advertisment