ปตท. จับมือ AET พัฒนาเรือขนส่งใช้เชื้อเพลิงกรีนแอมโมเนีย

ปตท. จับมือ AET พัฒนาเรือขนส่งใช้เชื้อเพลิงกรีนแอมโมเนีย เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย Net Zero Emission นายดิษทัต ปันยารชุน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ซ้าย) ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือศึกษา พัฒนาและสร้างเรือขนส่ง Zero-Emission Aframax ร่วมกับ Mr. Rajalingam Subramaniam...

เชฟรอน และ ผู้ร่วมทุน มอบเครื่องอัดแก๊ส  เป็นอุปกรณ์การสอนแก่ มทร.ศรีวิชัย สงขลา

บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และ บริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็กซโปลเรชั่น จำกัด ได้มอบเครื่องอัดแก๊ส (Compressor) ที่หมดสภาพจากการใช้งานในกิจการปิโตรเลียม จำนวน 2 เครื่อง ให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) สงขลา โดยเมื่อเร็วๆ นี้ นายพิชัย อนวัชพันธุ์ (ที่ 6...

ปตท. จับมือ โออาร์ ศึกษาและพัฒนาตลาดโซเดียมไบคาร์บอเนต

ปตท. จับมือ โออาร์ ศึกษาและพัฒนาตลาดโซเดียมไบคาร์บอเนต ใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ รักษาสิ่งแวดล้อม นายวุฒิกร สติฐิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) (ที่ 2 จากซ้าย) ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาตลาดและการลงทุน Sodium Bicarbonate เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ร่วมกับ นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่...

กฟผ. – Chiyoda และ Mitsubishi ร่วมแลกเปลี่ยนและศึกษาเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บ​คาร์บอน

กฟผ. บริษัท Chiyoda และ บริษัท Mitsubishi ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือ แลกเปลี่ยนและศึกษาเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ การกักเก็บคาร์บอน (CCUS) และ พลังงานสีเขียว เพื่อประยุกต์ใช้กับโรงไฟฟ้า ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้แทน กฟผ. ลงนามสัญญาความร่วมมือ การศึกษาเทคโนโลยีการดักจับ...

กรมเชื้อเพลิงฯ ไม่ตกเทรนด์ แปลงมีมดัง เรียกชื่อให้ถูก”สัมปทาน ไม่ใช่ PSC”

หลากหลายสินค้าแบรนด์ดัง พาเหรดเกาะกระแส มีม( MEME )​ ดังในโซเซียลมีเดีย “รัก ไม่ใช่ ดวงดาวเมื่อพราวแสง”(ท่อนฮิตของเพลง " รักคือฝันไป ของวงสาว สาว สาว ที่โด่งดังในอดีต)​ โดยดัดแปลงเนื้อหาให้แตกต่าง ตามที่อยากจะนำเสนอ และส่งต่อกันไปให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย และหน่วยงานรัฐที่ไม่ยอมตกเทรนด์ ลงมาเล่นกับเขาด้วย อาทิ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ที่มี "...

คาโรลีน ลิงค์ คว้ารางวัล “สตรีผู้นำธุรกิจอนุรักษ์โลกตัวอย่าง ประจำปี 2565”

คาโรลีน ลิงค์ ทายาทรุ่นที่ 4 ของ บี.กริม คว้ารางวัล “สตรีผู้นำธุรกิจอนุรักษ์โลกตัวอย่าง ประจำปี 2565”ตอกย้ำเจตนารมย์ บี.กริม มุ่งดำเนินธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รางวัล “สตรีผู้นำธุรกิจอนุรักษ์โลกตัวอย่าง ประจำปี 2565” (Winner of Outstanding Women Leaders for Green Growth...

โออาร์ จับมือ เอ็นอาร์พีที พัฒนาผลิตภัณฑ์และธุรกิจร้านค้าปลีกอาหารโปรตีนจากพืช (Plant-based) ในสถานีบริการน้ำมัน

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (โออาร์) บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด และ บริษัท เอ็นอาร์พีที จำกัด (NRPT) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจโปรตีนจากพืช (Plant-based) และอาหารแห่งอนาคต โดยมุ่งพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และธุรกิจร้านค้าปลีกอาหารโปรตีนจากพืชที่เหมาะสมกับร้านค้าปลีกและสถานีบริการน้ำมันของโออาร์ เพื่อเป็นทางเลือกในการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อม นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่...

กบน.เรียกเก็บเงินผู้ใช้ดีเซลเข้ากองทุนน้ำมัน 1.15 บาทต่อลิตร

คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เริ่มทยอยเรียกเก็บเงินผู้ใช้ดีเซลอีก 1.15 บาทต่อลิตร คืนกองทุนน้ำมัน หลังราคาน้ำมันโลกลดลง เตรียมพร้อมรองรับการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตดีเซล 5 บาทต่อลิตร หลังสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือในวันที่ 20 พ.ย. 2565 คาดฤดูหนาว 4 เดือนนี้ ราคาน้ำมันโลกขยับขึ้น ต้องใช้เงินดูแลดีเซล 2-3 หมื่นล้านบาท หวังเงินกู้เข้ากองทุนฯ ธ.ค. 2565...

กองทัพเรือ จับมือ กฟผ. เปิดสถานีอัดประจุไฟฟ้า EleX by EGAT แห่งแรก ในพื้นที่กองทัพเรือ

กองทัพเรือ จับมือ กฟผ. เปิดสถานีอัดประจุไฟฟ้า EleX by EGAT แห่งแรก ในพื้นที่กองทัพเรือ ณ วังนันทอุทยาน กรุงเทพฯ หวังรุกสู่การเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่ราชการอย่างกว้างขวาง เพื่อบรรลุเป้าหมายการก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ พร้อมด้วย นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร...

กบง.รับทราบร่างแผน PDP2022 เน้นความมั่นคงระบบ​ไฟฟ้า​และต้นทุนค่าไฟเหมาะสม

กบง. เห็นชอบ ค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าระยะยาวสำหรับการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2565 – 2580 (PDP2022) และรับทราบร่างแผน PDP2022 กรณีฐาน (Base Case) ที่คำนึงถึงการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเน้นความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ (Security) และต้นทุนค่าไฟฟ้าอยู่ในระดับที่เหมาะสม (Economy)รวมทั้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Ecology) เมื่อวานนี้ (27 กันยายน 2565) การประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)...

เกือบ 1​ ปี กองทุนน้ำมัน อุ้มราคาดีเซล และ LPG จน บัญชีติดลบสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 1.25 แสนล้าน

 เกือบ 1 ปีที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง  พยุงราคาดีเซลและLPG จนฐานะการเงินล่าสุด (18 ก.ย. 2565)​ ติดลบทำลายสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ กว่า 125,348 ล้านบาท สูงกว่าสถิติปี 2548 ที่เคยติดลบ 92,070 ล้านบาท    ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center-ENC) รายงานว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ได้ใช้เงินรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันและก๊าซหุงต้ม(LPG)...

Stonehill การลงทุนสนามกอล์ฟระดับเวิลด์คลาสของ “สารัชถ์ รัตนาวะดี”

ความสำเร็จจากการทำธุรกิจที่เริ่มต้นจากเรื่องพลังงานแตกแขนงต่อไปสู่ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคที่เกี่ยวเนื่องและธุรกิจดิจิทัล ของบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ Gulf ที่มี " สารัชถ์ รัตนาวะดี " ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นผู้ถือธงนำ ซึ่งวัดได้จากมูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การลงทุนสร้างสนามกอล์ฟ Stonehill ซึ่งเป็นกีฬาที่คุณสารัชถ์ ชื่นชอบหลงใหล ภายใต้บริษัท...

กบน.เพิ่มวงเงินชดเชย LPG เป็น 4.5 หมื่นล้าน ท่ามกลางฐานะกองทุนฯ ติดลบหนัก 1.25 แสนล้านบาท

คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เพิ่มกรอบวงเงินชดเชยราคา LPG อีก 3,000 ล้านบาท เป็น 45,000 ล้านบาท ท่ามกลางสถานะกองทุนฯ ติดลบกว่า 1.25 แสนล้านบาท  พร้อมประชุมปรับลดการชดเชยราคาดีเซลลงจาก 0.32 บาทต่อลิตร หลังราคาน้ำมันโลกลดลง ลุ้นผู้ค้าน้ำมันปรับลดราคาจำหน่ายเบนซิน-แก๊สโซฮอล์ กว่า 1 บาทต่อลิตร ในวันที่ 27...

บอร์ด IRPC แต่งตั้ง “กฤษณ์ อิ่มแสง” ดำรงตำแหน่ง CEO คนใหม่

IRPC ประกาศแต่งตั้ง นายกฤษณ์ อิ่มแสง ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ คนที่ 7 มีผล 1 ต.ค. 65 แทน นายชวลิต ทิพพาวนิช  ที่ได้แจ้งการลาออกเนื่องจากเกษียณอายุ  เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2565 ที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)...

กกพ.เตรียมเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน พร้อมให้รวม Green Tariff ขายกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ

กกพ. เตรียมเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน พลังงานลม ก๊าซชีวภาพ โดยไม่ต้องประมูล​แข่ง​ราคา​พร้อมกำหนดอัตราไฟฟ้าสีเขียว (Green Tariff) สำหรับภาคอุตสาหกรรมและกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความต้องการที่จะใช้ไฟฟ้าสีเขียวเพื่อประโยชน์ในการส่งออกสินค้าที่ต้องพิสูจน์ Carbon Tracking โดยให้ยื่นคำเสนอขายไฟฟ้า พ.ย. - ธ.ค. 2565 ประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติ ม.ค. 2566 และ ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือก พ.ค. – มิ.ย....

เอ็กโก กรุ๊ป ซื้อหุ้นเพิ่ม 10% ในโรงไฟฟ้า “ชัยภูมิ วินด์ฟาร์ม” และ “เทพพนา วินด์ฟาร์ม” มุ่งขยายพอร์ตพลังงานหมุนเวียน

บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป ขยายพอร์ตโฟลิโอธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซื้อหุ้นเพิ่มอีก 10% ในโรงไฟฟ้าพลังงานลม “ชัยภูมิ วินด์ฟาร์ม” และ “เทพพนา วินด์ฟาร์ม” จ.ชัยภูมิ ส่งผลให้เอ็กโกกลายเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดของโรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง รวมทั้งยังสามารถรับรู้รายได้ตามสัดส่วน การลงทุนเพิ่มทันที พร้อมกันนี้ยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี...

ปตท. คว้ารางวัลยอดเยี่ยม “องค์กรคาร์บอนต่ำและยั่งยืน” พร้อมขับเคลื่อนไทยมุ่งสู่ Net Zero

เมื่อเร็ว ๆ นี้ - นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับรางวัลโครงการประเมินและจัดระดับธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (Low Carbon and Sustainable Business: LCSB) ประจำปี 2565 ในระดับยอดเยี่ยม จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก...

“Dow” ผนึกภาคีเปิดเวทีอนุรักษ์พื้นที่ “คาร์บอนทะเล” หนุนไทยสู่เป้า Net Zero

Dow ผนึกภาคี ภาครัฐ ภาคธุรกิจ นักวิชาการ NGO และชุมชน ในงาน Blue Carbon Conference 2022 “คาร์บอนทะเล: หนุนธุรกิจสู่ Net Zero เสริมระบบนิเวศและชุมชน” เร่งรวบรวมความเห็นสู่การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่ออนุรักษ์ป่าชายเลนและหญ้าทะเลอย่างมีส่วนร่วม และแบ่งปันประสบการณ์เพื่อยกระดับการอนุรักษ์ มุ่งส่งเสริมการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์อย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจร ตั้งแต่การปลูก ดูแล ใช้ประโยชน์พื้นที่ และการสร้างประโยชน์ของชุมชนอย่างยั่งยืน...

กกพ.จ่อเปิดรับซื้อไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม 100 เมกะวัตต์ เดือน ธ.ค. 65 ให้ FiTจูงใจมาก 6.08 บาทต่อหน่วย

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) เตรียมเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม จำนวน 100 เมกะวัตต์ ในเดือน ธันวาคม 2565 นี้ พร้อมกำหนดเงื่อนไขต้องเป็นโรงไฟฟ้าใหม่ที่ไม่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ามาก่อน และต้องมีกำลังผลิตติดตั้งไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ โดยจะเปิดรับซื้อในรูปแบบ FiT อัตราสูง 6.08 บาทต่อหน่วย สัญญา 20 ปี  กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบปี 2569 ระบุประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกเดือน...

SETA 2022 เอกชนชี้ทิศทางโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มเติบโตขึ้นหลังค่าไฟฟ้าพุ่งสูง

สัมมนา Solar and Storage ในหัวข้อ เกาะติดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านเซลล์แสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน “Solar PV and Storage : Technology Advancement Update” ซึ่งจัดขึ้นในวันสุดท้ายของงาน SETA 2022 หรืองานประชุมแสดงสินค้าและนิทรรศการด้านไฟฟ้าและพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ประจำปี 2565 ภาคเอกชนประสานเสียงยืนยันการติดตั้งโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยบูมแน่  หลังค่าไฟฟ้าปี2565 พุ่งสูงเกิน 4 บาทต่อหน่วย ชี้อีก 20 ปีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์แตะ 6-7 หมื่นเมกะวัตต์ ดันยอดใช้พุ่งถึง 50% เทียบกับเชื้อเพลิงทั้งหมด เหตุคุ้มค่าคืนทุนเร็วใน 5 ปี พร้อมแนะภาครัฐเร่งปรับลดกฎระเบียบโซลาร์รูฟท็อป หวังภาคครัวเรือนเข้าถึงการติดตั้งและผลิตไฟฟ้าใช้เอง เชื่อส่งผลให้การติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อปโตแบบก้าวกระโดดแน่ ศ.ดร.ดุสิต เครืองาม นายกสมาคมกิตติมศักดิ์ สมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย กล่าวว่า  การติดตั้งโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าในประเทศมีแนวโน้มเติบโตแน่นอน จะเห็นได้ว่าในอดีตที่ผ่านมาไทยเริ่มต้นติดตั้งโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกลสายส่งไฟฟ้า ต่อมาก็เริ่มติดตั้งบนหลังคา หรือที่เรียกว่า โซลาร์รูฟท็อป จากนั้นภาครัฐก็เข้ามาให้การสนันสนุนด้วยระบบการให้เงินส่วนเพิ่มในการผลิตไฟฟ้า หรือ Adder และเปลี่ยนมาเป็นระบบการให้เงินสนับสนุนตามต้นทุนที่แท้จริง(Feed in Tariff -Fit) จนในปี 2565 นี้ เริ่มเข้าสู่ภาวะไม่ต้องรับการสนับสนุนจากภาครัฐแล้ว เนื่องจากต้นทุนการผลิตถูกลงและสามารถแข่งขันได้เอง  เมื่อมาดูในส่วนของกำลังผลิตไฟฟ้าจะพบว่า ในปี 2564 ทั่วโลกมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ทุกชนิดเพื่อผลิตไฟฟ้ารวม 6 แสนเมกะวัตต์ สูงกว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าจากทุกเชื้อเพลิงในประเทศไทยที่มีกำลังผลิตรวม 4-5 หมื่นเมกะวัตต์ และในแต่ละปี โลกจะติดตั้งโซลาร์ฯอยู่ประมาณ 1 แสนเมกะวัตต์ โดยจีนประเทศเดียวติดตั้งถึง 5 หมื่นเมกะวัตต์ ขณะที่ประเทศไทยนั้นคาดว่าจะติดตั้งเฉลี่ยปีละ 500 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันไทยติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปแล้ว 1,000 เมกะวัตต์ คิดเป็นมูลค่าทางธุรกิจถึง 4 หมื่นล้านบาท และคาดว่าทุกปีจะมีมูลค่าทางธุรกิจเพิ่มขึ้น 1 หมื่นล้านบาท โดยในปี 2568 คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 3 หมื่นล้านบาท  นอกจากนี้การติดตั้งโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้ายังถือว่าคุ้มค่ามาก เมื่อเทียบกับการต้องจ่ายค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน โดยค่าไฟฟ้าเดือน ก.ย. 2565 ได้ปรับสูงขึ้นกว่า 4 บาทต่อหน่วยและเมื่อรวมภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยทำให้ค่าไฟฟ้าบ้านเรือนสูงถึง 5.70 บาทต่อหน่วย ขณะที่บ้านที่ใช้ระบบคิดค่าไฟฟ้าแบบ TOU หรืออัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาการใช้ คือกลางวันราคา 7.20 บาทต่อหน่วย กลางคืนราคา 3.80 บาทต่อหน่วย เป็นต้น ซึ่งการที่ค่าไฟฟ้าพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ภาครัฐได้ให้เหตุผลว่าเกิดจากแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและในเมียนมาผลิตได้ลดลง ประกอบกับราคาก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) ที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพง  ดังนั้นการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าใช้เองจึงเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งปัจจุบันต้นทุนโซลาร์เซลล์ถูกลงทำให้กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารขนาดใหญ่ที่ติดตั้งโซลาร์ฯ ได้รับการคืนทุนเร็วภายใน 5 ปี ส่วนกลุ่มที่ได้การส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะคืนทุนเร็วภายใน 2-3 ปี ดังนั้นปัจจุบันโรงงานส่วนใหญ่จึงพยายามติดตั้งโซลาร์ฯ เพื่อลดต้นทุนกันมากขึ้น  ส่วนภาคครัวเรือนต้องยอมรับว่ายังติดตั้งโซลาร์ฯได้ช้า เนื่องจากมาตรการภาครัฐไม่จูงใจ โดยรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินเพียงราคา 2.20 บาทต่อหน่วย ขณะที่ราคาค่าไฟฟ้าที่ประชาชนจ่ายให้การไฟฟ้าสูงถึงกว่า 4 บาทต่อหน่วย รวมทั้งภาครัฐไม่มีงบสนับสนุนการลงทุนสำหรับภาคครัวเรือนและปัญหาสำคัญอีกประการคือ ระเบียบราชการที่เป็นอุปสรรคต่อการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป แม้ที่ผ่านมาภาคเอกชนจะกระตุ้นให้ภาครัฐแก้ไขกฎระเบียบที่ยุ่งยากมากว่า 10 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่หมด  โดยที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้ยกเว้นให้การติดตั้งโซลาร์ฯ ขนาดไม่เกิน 1 เมกะวัตต์ ไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน(รง.4) ไปแล้ว และขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ยกเลิกใบ รง.4 กับโรงไฟฟ้าทุกชนิดด้วย เพื่อจะได้ไม่ติดปัญหาด้านผังเมือง รวมทั้งการเปิดเสรีไฟฟ้า ซึ่งเชื่อว่าอนาคตอุปสรรคต่างๆจะลดลงไปอีกและทำให้ภาคครัวเรือนได้ติดตั้งโซลาร์ฯ เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองได้มากขึ้น    นายสัมฤทธิ์ สิทธิวรานุวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Solar D กล่าวว่า มั่นใจว่าการติดตั้งโซลาร์ฯในประเทศไทยจะเติบโตอย่างแน่นอน โดยดูจากทิศทางของโลกที่ปัจจุบันใช้ไฟฟ้าจากโซล่าร์ฯ อยู่ประมาณ 10% ของกำลังผลิตไฟฟ้าจากทุกประเภท และโลกคาดการณ์ว่าจะมีการใช้เพิ่มขึ้นถึง 50% ในอีก 20 ปีข้างหน้า  ดังนั้นการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ในอนาคตจะสูงถึง 6-7 หมื่นเมกะวัตต์  ซึ่งประเทศไทยก็มีแนวโน้มจะใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้น หลังจากค่าไฟฟ้าเดือน ก.ย. 2565 ที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ประชาชนเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ใช้เองมากขึ้น นายวีรุจน์ เตชะสุวรรณ Country Manager บริษัท Solar Edge กล่าวว่า จากการทำธุรกิจด้านโซลาร์ฯ มากว่า 10 ปี ทำให้เห็นว่าปัจจุบันโรงงานและภาคครัวเรือนติดตั้งโซลาร์เซลล์กันมากขึ้นจริงๆยิ่งปัจจุบันได้รับการคืนทุนเร็วเพียง 5-7 ปี ขณะที่การผลิตไฟฟ้าโซลาร์ฯมีอายุถึง 25 ปี ทำให้คุ้มค่าต่อการลงทุน ประกอบกับค่าไฟฟ้าเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นปีละ 2-3% ทำให้โซลาร์ฯ เป็นสิ่งที่น่าสนใจและเริ่มเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น โดยในต่างประเทศนั้นภาคครัวเรือนจะติดตั้งโซลาร์ฯมากกว่าภาคอุตสาหกรรม ส่วนในประเทศไทย ภาคอุตสาหกรรมกลับติดตั้งมากกว่าภาคครัวเรือนทั้งนี้เนื่องจากช่วยลดต้นทุนภาคอุตสาหกรรมได้ ดังนั้นแต่ละโรงงานจึงแข่งขันติดตั้งโซลาร์ฯกันเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคครัวเรือนยังเจออุปสรรคด้านการลงทุนและกฎระเบียบรัฐในการขออนุญาตทำให้การติดตั้งดูช้าลง ดังนั้นหากรัฐผ่อนคลายกฎระเบียบ เชื่อว่าภาคครัวเรือนจะหันมาติดตั้งโซลาร์ฯ กันอย่างก้าวกระโดด นายวรวรรธน์ นาคะวิโร ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคด้านระบบไฟฟ้า บริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยี่(ประเทศไทย) กล่าวว่า มั่นใจว่าการติดตั้งโซลาร์ฯจะเติบโตมาก เพราะแผนพลังงานแห่งชาติที่ออกมาใหม่จะมุ่งไปยังการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนเป็นหลัก ประกอบกับช่วงนี้ค่าไฟฟ้าแพงทำให้ประชาชนหันมาสนใจการติดตั้งโซลาร์ฯ มากขึ้น แต่ยอมรับว่าสัดส่วนการติดตั้งภาคครัวเรือนยังน้อยเพราะราคายังไม่ถึงจุดที่ภาคครัวเรือนจะแห่ติดตั้ง ส่วนแบตเตอรี่ก็ยังติดตั้งน้อยเพราะราคาแพง อย่างไรก็ตามอยากให้ภาครัฐลดกฎระเบียบการออกใบอนุญาตติดตั้งโซลาร์ฯให้น้อยลง เพื่อให้ภาคครัวเรือนติดตั้งได้สะดวกขึ้น ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติและนายกสมาคมเทคโนโลยีระบบกับเก็บพลังงานไทย กล่าวว่า การติดตั้งแบตเตอรี่สำรอง(Storage)ในการผลิตไฟฟ้าโซลาร์ฯ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยกักเก็บไฟฟ้าไว้ใช้ได้ตลอดวัน  แต่การเติบโตของการใช้ Storage ก็ขึ้นอยู่กับราคาเป็นหลัก โดยต้นทุน Storage จะอยู่ที่ 4 บาทต่อการเก็บไฟฟ้า 1 หน่วย เมื่อรวมกับการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ฯ อีก 2 บาทต่อหน่วย ทำให้ราคาค่าไฟฟ้าจากโซลาร์ฯ สูงถึง 6 บาทต่อหน่วย ดังนั้นหากจะให้คุ้มค่าในการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ ฯต้นทุน Storage จะต้องถูกกว่า 4 บาทต่อหน่วย  หรือถ้าลดลงเหลือ 1.5 บาทต่อหน่วย และเมื่อรวมกับค่าผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ฯ 2 บาทต่อหน่วย ราคาค่าไฟฟ้าจะเหลือเพียง 3.5 บาทต่อหน่วย ซึ่งจะถูกกว่าการใช้ดีเซลในการผลิตไฟฟ้า ที่มีราคาถึง 6 บาทต่อหน่วย ปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการผลิต Storage มากขึ้น แต่เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการกักเก็บพลังงานจะพบว่าลิเธียมไอออนยังคุ้มค่าต่อการใช้งานมากกว่าและยังคงเป็นเทคโนโลยีทางเลือกในการผลิต Storage ไปได้จนถึงปี 2583  นางรัตติยา หรรษาภิพัฒน์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมผู้ประกอบกิจการไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า ผู้ผลิตไฟฟ้าที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์เชื่อมโยงกับเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวเอง หรือไม่ผ่านระบบสายส่งการไฟฟ้า จะไม่ต้องขออนุญาตติดตั้งโซลาร์ฯกับการไฟฟ้า ส่วนกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้า แต่มีโซลาร์ฯ เป็นไฟฟ้าสำรอง และกลุ่มที่ใช้โซลาร์ฯคู่ขนานกับการใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าจะต้องขออนุญาตติดตั้งโซลาร์ฯ จากการไฟฟ้าด้วย โดยขั้นตอนดำเนินการสำหรับผู้ที่จะต้องขออนุญาตกับการไฟฟ้า มีดังนี้ 1.จะต้องยื่นขออนุญาตเชื่อมต่อระบบกับการไฟฟ้า 2.ยื่นขอจดแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน 3.เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะชำระค่าธรรมเนียม 4.จากนั้นติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ 5. การไฟฟ้าจะเข้าทำการเปลี่ยนมิเตอร์เป็นมิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ให้แทน และ 6. เริ่มเข้าสู่กระบวนการเชื่อมต่อจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบโดยขั้นตอนทั้งหมดมีไว้เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าเกิดความปลอดภัยทุกขั้นตอน