ปตท. จับมือ สทน. ผลักดันโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านพลาสมาและเทคโนโลยีฟิวชัน
ปตท. จับมือ สทน. ผลักดันโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านพลาสมาและเทคโนโลยีฟิวชัน มุ่งยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนา ภายในปี พ.ศ. 2570
เมื่อเร็ว ๆนี้ - ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) (ซ้าย) และ ดร.หาญณรงค์ ฉ่ำทรัพย์ รองผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ...
ราช กรุ๊ป จ่อร่วมเสนอขายไฟฟ้ากว่า 500 เมกะวัตต์ ในโครงการพลังงานหมุนเวียนของ กกพ. รอบ 2
บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เตรียมแผนเข้าร่วมโครงการเสนอขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบ 2 ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ไม่ต่ำกว่า 500 เมกะวัตต์ จากที่ กกพ.จะเปิดรับซื้อ 3,660 เมกะวัตต์ โดยเน้นไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มและพลังงานลมเป็นหลัก พร้อมเผยความคืบหน้าโรงไฟฟ้าหินกองเสร็จแล้ว 71.5% เตรียมนำเข้าLNG มาทดสอบระบบเดือน ก.ย. 2566 นี้ เพื่อผลิตไฟฟ้าเข้าระบบตามแผนต่อไป
นางสาวชูศรี เกียรติขจรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) มีมติให้เพิ่มการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอีก 3,660 เมกะวัตต์ ว่า บริษัทฯ มีความสนใจเข้าร่วมยื่นเสนอโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนพื้นดิน(โซลาร์ฟาร์ม) และโรงไฟฟ้าพลังงานลม ไม่ต่ำกว่า 500 เมกะวัตต์ แต่ยังต้องรอดูเงื่อนไขกติกาการเปิดรับซื้อไฟฟ้าของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ก่อน
“การเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนล็อตแรก 5,203 เมกะวัตต์ บริษัทฯ ได้ยื่นเสนอโครงการไป 500 เมกะวัตต์ แต่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกประมาณ 420 เมกะวัตต์ซึ่งเป็นโซล่าร์ฟาร์มทั้งหมด และบริษัทฯ คาดหวังว่าจะได้รับสิทธิ์เข้าดำเนินโครงการ โดยได้เตรียมความพร้อมทั้งงบลงทุน ที่คาดว่า 1 เมกะวัตต์ จะอยู่ที่ 20-25 ล้านบาท รวมถึงเป็นที่ดินของบริษัทฯ เองและมีพันธมิตรร่วมลงทุน(JV)ด้วย”
ทั้งนี้การที่บริษัทฯ สนใจเข้าร่วมโครงการล็อตใหม่เพราะเป็นการลงทุนในประเทศที่มีฐานการลงทุนอยู่แล้ว และประเทศไทยมีศักยภาพในการติดตั้งโซลาร์ฟาร์ม เพราะมีแสงแดดดี ส่วนพลังงานลม ก็อยู่ในความสนใจและจะต้องหาพันธมิตรร่วมลงทุนเนื่องจากยังมีข้อกำจัดเรื่องพื้นที่ติดตั้งกังหันลม และศักยภาพแรงลมต่ำ
สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหินกอง กำลังการผลิตรวม 1,400 เมกะวัตต์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างซึ่งคืบหน้าไปแล้ว 71.5% และคาดว่าจะแล้วเสร็จตามแผน โดยในเดือน ก.ย. 2566 มีแผนจะนำเข้า ก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) มาทดสอบระบบ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางนำเข้า LNG ว่าจะเป็นรูปแบบสัญญาระยะยาวหรือ แบบตลาดจร (Spot) รวมถึงอาจมีการเจรจากับผู้จัดหาและนำเข้า LNG (LNG Shipper) ทั้ง บริษัท ปตท. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และหินกองฯ เพื่อแชร์ สัดส่วน LNG มาป้อนให้กับโรงไฟฟ้าหินกอง โดยคาดว่าราคา LNG ในปี 2566 นี้จะอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการนำเข้า และไม่เป็นอุปสรรคต่อการผลิตไฟฟ้า
ทั้งนี้โครงการโรงไฟฟ้าหินกอง ตั้งอยู่ที่ จ.ราชบุรี ประกอบด้วยหน่วยผลิตไฟฟ้าจำนวน 2 ชุด ชุดละ 700 เมกะวัตต์ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง โดยหน่วยผลิตที่ 1 จะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ในเดือน มี.ค. 2567 และหน่วยที่ 2 จะมีกำหนด COD ในเดือน ม.ค. 2568
ราช กรุ๊ป จับมือ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เดินหน้าโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 1 หมื่นไร่
บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จับมือ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ลงนาม MOU “โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ในพื้นที่ป่าชุมชน 10,000 ไร่ มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน
วันที่ 12 มี.ค. 2566 บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU)ว่าด้วยความร่วมมือโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พื้นที่ป่าชุมชน 10,000 ไร่ โดยจะร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนการจัดการคาร์บอนเครดิตในพื้นที่ป่า ผ่านกลไกการมีส่วนร่วมและการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
นางสาวชูศรี เกียรติขจรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความร่วมมือกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ในโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานจัดการคาร์บอนเครดิตจากป่าไม้ เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นแนวทางที่ 3 ของกลยุทธ์รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของบริษัทฯ ในเบื้องต้น บริษัทฯ มีแผนงานที่จะจัดการคาร์บอนเครติตจากป่าไม้ประมาณ 50,000 ไร่ ภายในปี 2568 สำหรับความร่วมมือกันครั้งนี้ ได้ดำเนินการต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ซึ่งบริษัทฯ ได้สนับสนุนการจัดการคาร์บอนเครดิตในพื้นที่ป่าชุมชน จำนวน 1,000 ไร่ โครงการนี้นอกจากประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตแล้ว ยังช่วยต่อยอดภูมิปัญญาของชุมชนในการจัดการป่าอย่างยั่งยืนตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 13 ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป้าหมายที่ 15 การปกป้องฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน รวมทั้งการจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน ด้วย
นายธนพงศ์ ดวงมณี ผู้อำนวยการด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ภายใต้โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัทฯ และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ จะร่วมกันดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 10,000 ไร่ด้วยการพัฒนาศักยภาพชุมชน ในการรักษา ฟื้นฟูระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติป่าชุมชน และสนับสนุนชุมชนในการขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (“อบก.”) เพื่อขอรับรองคาร์บอนเครดิต ซึ่งไม่เพียงช่วยสร้างรายได้แก่ชุมชนเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลป่าให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน
“โครงการรักษาป่า 10,000 ไร่ คาดว่าจะได้คาร์บอนเครดิต 3,000-5,000 ตันต่อปี ใช้งบลงทุน 2,700 บาทต่อไร่ต่อ 3 ปี และเป็นป่าที่อยู่ในพื้นที่ถูกกฎหมายภายใต้ พ.ร.บ.ป่าชุมชน ทั้งนี้มูลนิธิมีเป้าหมายที่จะรักษาป่าให้ถึง 1 แสนไร่ในปีนี้ และเพิ่มเป็น 6 ล้านไร่ในอีก 10 ปีข้างหน้า ”
ราช กรุ๊ปฯ ทุ่ม 3.5 หมื่นล้าน เพิ่มไฟฟ้าอีก 500 เมกะวัตต์ ในปี 2566 ดัน EBITDA ทะลุ 12,000 ล้านบาท
บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ทุ่ม 35,000 ล้านบาท ลงทุนปี 2566 เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 500 เมกะวัตต์ พร้อมเผยมีโรงไฟฟ้าที่จะทยอย COD ปี 2566 นี้ 1,207.13 เมกะวัตต์ ดัน EBITDA ทะลุ 12,000 ล้านบาทและเป็น 15,000 ล้านบาท ในปี 2570
นางสาวชูศรี เกียรติขจรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯได้จัดเตรียมงบประมาณสำหรับการลงทุนในปี 2566 จำนวน 35,000 ล้านบาท โดยจะใช้ขยายการลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าจำนวน 29,000 ล้านบาท และธุรกิจนอกภาคไฟฟ้า (Non-Power Business) อีก 6,000 ล้านบาท บริษัทฯ คาดว่า ผลการดำเนินงานในปี 2566 จะเติบโตดีขึ้น โดยบริษัทฯ มีเป้าหมาย EBITDA ไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท
ทั้งนี้คาดว่าในปี 2566 นี้จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 500 เมกะวัตต์ ในพอร์ตของ บริษัทร่วมทุน เน็กส์ซิฟราช เอ็นเนอร์จี อินเวสเมนท์ (NREI) ซึ่งจะใช้เป็นกลไกในการเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าที่มีอยู่แล้วในประเทศออสเตรเลีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ จำนวน 8 โครงการ กำลังการผลิตรวมประมาณ 843 เมกะวัตต์ ให้สามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ให้ได้ตามเป้าหมาย ตามแผนกำลังการผลิตของบริษัทฯ จะมีกำลังผลิตเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นในปี 2567 รวม 518.66 เมกะวัตต์ ปี 2568 เพิ่มขึ้นอีก 918.20 เมกะวัตต์ ปี 2570 และ ปี 2573 เพิ่มขึ้นอีก 252.77 เมกะวัตต์ และ 213 เมกะวัตต์ ตามลำดับ
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมองหาโอกาสขยายการลงทุนในเวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะโครงการพลังงานทดแทน และเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ซึ่งในส่วนนี้จะมีทั้งโครงการที่เข้าซื้อกิจการหรือควบรวม(M&A)ในเวียดนามและฟิลิปปินส์ และโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยในเวียดนาม มีดีลเจรจาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาด 300-500 เมกะวัตต์ เป็นโครงการที่ COD แล้ว คาดว่าจะปิดดีลได้ภายในปีนี้ รวมถึงบริษัทฯ ยังสนใจเข้าร่วมประมูลแข่งขันโครงการ GAS to Power ในเวียดนาม ขนาดกำลังการผลิต 1,500 เมกะวัตต์ ซึ่งจะเป็นการร่วมทุนกับพันธมิตรท้องถิ่นในเวียดนาม โดยเบื้องต้นบริษัทฯจะดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้า และให้พันธมิตรเป็นผู้จัดหาและนำเข้า LNG แต่ทั้งนี้โครงการดังกล่าว ยังต้องรอความชัดเจนจากการประกาศแผน PDP 8 ของเวียดนาม
ขณะที่ฟิลิปปินส์ ก็มีบางโครงการที่น่าสนใจและปัจจุบันการเมืองในฟิลิปปินส์มีเสถียรภาพมากขึ้น รวมถึงออสเตรเลียก็มีความสนใจเรื่องการลงทุนโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ในออสเตรเลีย ที่ปัจจุบันมีการศึกษาไปถึงขั้นดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้แล้ว
อีกทั้งบริษัทฯ ยังรอลุ้นผลการยื่นเสนอโครงการซื้อขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว 420 เมกะวัตต์ จำนวน 8 โครงการ คาดว่าจะได้รับการอนุมัติให้สิทธิ์เข้าลงทุนได้เร็วๆนี้
ส่วนกลุ่มธุรกิจ Non-power จะมุ่งเน้นที่ธุรกิจบริการสุขภาพโดยยังคงจับมือกับกลุ่ม PRINC ด้านนวัตกรรมยังดำเนินการผ่านบริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด อีกทั้งยังมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนากรีนไฮโดรเจน โดยมีแผนจะดำเนินการนำร่องในออสเตรเลียเป็นแห่งแรก
สำหรับ โครงการที่บริษัทฯ จะรับรู้รายได้ในปี 2566 นี้ จากโครงการที่จะทยอย COD เข้ามาประมาณ 1,207.13 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าราช เอ็นเนอร์จี ระยอง จำนวน 49.98 เมกะวัตต์,โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติสแน็ปเปอร์ พ้อยท์ จำนวน 154 เมกะวัตต์,โรงไฟฟ้าพลังงานลม ลินคอล์น แก็ป 1&2 ในออสเตรเลีย จำนวน 212 เมกะวัตต์ ,โรงไฟฟ้าพลังน้ำค๊อดซาน จำนวน 17.37 เมกะวัตต์ ,ซองเกียง 2 จำนวน 17.10 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังงานลมอีโค่วินในเวียดนาม จำนวน 15 เมกกะวัตต์ สำหรับการเข้าซื้อหุ้นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนไพตัน ในอินโดนีเซีย บริษัทฯ คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ จำนวน 741.52 เมกะวัตต์
นางสาวชูศรี กล่าวอีกว่า บริษัทฯ ยังวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจในปี 2566-2570 ภายใต้วงเงินงบประมาณ 70,000 -100,000 ล้านบาท ซึ่งมุ่งเน้นเป้าหมาย 4 ด้าน ได้แก่ (1) การเติบโตของผลตอบแทน โดยตั้งเป้าหมาย EBITDA เติบโตจาก 12,000 ล้านบาทในปีนี้ เป็น 15,000 ล้านบาทในปี 2570 (2) การขยายธุรกิจ Non-Power กำหนดเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 5% ในปีนี้ และปี 2570 ธุรกิจนี้จะสร้างรายได้เข้ามาเสริมให้บริษัทฯ 5% (3) เพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน ให้ได้ 20% ของกำลังการผลิตรวม และเพิ่มขึ้นมาเป็น 25% ตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป (4) พัฒนาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาลให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล และเตรียมความพร้อมสำหรับการประกาศความมุ่งมั่นสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2570
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังจะดำเนินการแผนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้มีความก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในปีนี้ บริษัทฯ มีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตให้ได้ 30,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เพิ่มกำลังการผลิตจากพลังงานทดแทนให้ถึง 20% และพัฒนาคาร์บอนเครดิตจากป่าชุมชนอีก 10,000 ไร่ โดยบริษัทฯ จะได้เข้าร่วมในโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์
เชลล์แห่งประเทศไทย – กฟผ. MOU แลกเปลี่ยนและศึกษา Clean Energy Development
เชลล์แห่งประเทศไทย - กฟผ. ร่วมลงนาม MOU แลกเปลี่ยนและศึกษา Clean Energy Development มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เดินหน้าประเทศไทยสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2065
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนายปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการบริษัท...
กกพ.เปิด 3 ทางเลือกปรับขึ้นค่าไฟเดือน พ.ค.-ส.ค.66 สูงสุดเพิ่มเป็น 6.72 บาทต่อหน่วย
กกพ. เปิดรับฟังความเห็น 3 ทางเลือกปรับขึ้นค่าไฟฟ้าเอฟที งวดเดือน พ.ค. - ส.ค. 66 ที่รวมการจ่ายคืนภาระต้นทุนที่ กฟผ.ช่วยแบกไว้ก่อนหน้า โดยทางเลือกที่ 1 อัตรา 293.60 สตางค์ต่อหน่วย ที่จะทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.72 บาทต่อหน่วย หรือทางเลือกที่ 2 ค่าเอฟที 105.25 สตางค์ต่อหน่วย...
กพช.เห็นชอบปรับปรุงข้อมูลหลักเกณฑ์ โครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบ เลื่อนการบังคับใช้โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ที่จะจำแนกค่าใช้จ่ายตามนโยบายรัฐ ( Policy Expense ) ออกจากค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ ( Ft ) ในขณะที่ ให้นำค่าใช้จ่ายในการอุดหนุนผู้ใช้ไฟฟ้าที่ด้อยโอกาส เป็นส่วนหนึ่งของความต้องการรายได้ ( Revenue Requirement ) ของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 9 มี.ค....
กพช.ไฟเขียวรับซื้อไฟฟ้าสะอาดเพิ่มอีก 3,668 เมกะวัตต์ เร็วๆนี้
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) เห็นชอบปรับแผนรับซื้อไฟฟ้าพลังงานสะอาดเพิ่มอีก 3,668.5 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันเปิดรับซื้ออยู่ 5,203 เมกะวัตต์ใน “โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มโรงไฟฟ้าประเภทไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565” โดยเปิดรับซื้อทั้งโซลาร์ฟาร์ม , ลม ,ก๊าซชีวภาพ และขยะอุตสาหกรรม ยกเว้นโซลาร์ฟาร์มที่รวมแบตเตอรี่ยังไม่เปิดรับซื้อ...
กพช.รับทราบหลักการร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า น้ำงึม3, เซกอง 4A และ 4B ที่ตั้งอยู่ใน สปป.ลาว
กพช.รับทราบหลักการร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า จากโครงการน้ำงึม 3 และ โครงการเซกอง 4A และ 4B ใน สปป.ลาว ปริมาณเสนอขายไฟฟ้ารวมประมาณ 815 เมกะวัตต์
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ รับทราบหลักการร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า จากโครงการน้ำงึม 3 ,โครงการเซกอง 4A และ 4B...
เอสโซ่และเอ็กซอนโมบิลในประเทศไทย มอบเงิน 1,100,000 บาท สนับสนุน อพวช. ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือเอ็กซอนโมบิลในประเทศไทย สนับสนุนองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์สู่เยาวชนและประชาชนทั่วประเทศ โดยล่าสุด ดร. ทวีศักดิ์ บรรลือสินธุ์ (ที่ 4 จากขวา) กรรมการ บริษัท เอสโซ่ฯ มอบเงินจำนวน 1,100,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนบาทถ้วน) ให้แก่...
กลุ่ม ปตท. หนุน Arun Plus จับมือ SANY Leadway Rootcloud รุกธุรกิจ E-Truck...
เมื่อเร็ว ๆนี้ - นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (กลาง) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อแสวงหาโอกาสในการเข้าสู่ธุรกิจ E-Truck และ E-Mobility ครบวงจร และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย โดยมี นายเอกชัย ยิ้มสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อรุณ...
บอร์ด กฟผ.ตั้ง “เทพรัตน์ เทพพิทักษ์” เป็นผู้ว่าการ กฟผ.คนใหม่
บอร์ด กฟผ.ตั้ง "เทพรัตน์ เทพพิทักษ์" เป็นผู้ว่าการ กฟผ.คนใหม่ แทน บุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ที่จะครบวาระในวันที่ 21 สิงหาคม นี้
ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน ( Energy News Center-ENC ) รายงานว่า คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( กฟผ.) ที่มีนายกุลิศ...
ซีอีโอใหม่ไทยออยล์ประกาศสานต่อการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ต่อยอดสู่ปิโตรเคมี ธุรกิจใหม่ และไฟฟ้า
“บัณฑิต ธรรมประจำจิต” CEO ใหม่ บริษัท ไทยออยล์ ประกาศมุ่งสานต่อการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ต่อยอดจากธุรกิจปิโตรเลียมไปสู่ธุรกิจปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง การลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ รวมถึงไฟฟ้า ให้สอดคล้องต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมประกาศลงทุน 3.5 หมื่นล้านบาท ปรับพอร์ตธุรกิจ 3 ปี (ปี 2566-2568) เพิ่มสัดส่วนกำไรธุรกิจใหม่ ขณะเดียวกัน แนะรัฐบาลใหม่กำหนดนโยบายพลังงานให้เกิดความต่อเนื่อง ประชาชนเข้าถึงพลังงานได้สะดวก เพียงพอและราคาเหมาะสม
นายบัณฑิต ธรรมประจำจิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน) แถลงวิสัยทัศน์ภายหลังเข้ารับตำแหน่ง CEO คนใหม่ของบริษัท ไทยออยล์ ว่า...
ปตท. รายงานราคาน้ำมันดิบโลกได้แรงหนุนจากภาวะเศรษฐกิจจีนฟื้นตัว
ทีมวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รายงานราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น จากเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัว โดย Caixin/Markit รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing Purchasing Managers' Index: PMI) ของจีนในเดือน ก.พ. 66 เพิ่มขึ้น 2.4 จุด จากเดือนก่อน มาอยู่ที่ 51.6...
บี.กริม เดินเครื่อง COD โรงไฟฟ้า BGPM2R มาบตาพุด 140 เมกะวัตต์ ลุยขาย กฟผ. ยาว...
โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (เอไออี-เอ็มทีพี) จำกัด หรือ BGPM2R บริษัทย่อยของ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM (บี.กริม เพาเวอร์ ถือหุ้น 70%) ประกาศเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) โครงการโรงไฟฟ้าใหม่เพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าเดิม โดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง...
Mekha V รับรางวัล Microsoft Partner of the Year 2022 ตอกย้ำการมุ่งสู่ธุรกิจแห่งอนาคตด้วยเทคโนโลยีของกลุ่ม ปตท.
ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) รับรางวัล Microsoft Partner of the Year 2022 จากนายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในโอกาสที่บริษัท เมฆา...
กบง.ขยายเวลาตรึงราคาทั้ง NGV และLPG ลดค่าครองชีพประชาชน
.
กบง. สั่งตรึงราคา NGV อีก 3 เดือนถึง 15 มิ.ย.2566 โดยให้ ปตท.ช่วยรับภาระ ส่วนการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม ถึง 30 มิ.ย. 2566 ให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันช่วยชดเชย พร้อมขยายเวลาปรับสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เพื่อไม่ให้ต้นทุนเนื้อน้ำมันดีเซลเพิ่มสูงขึ้นไปจนถึง 30 ก.ย.2566 เพื่อช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน
เมื่อวานนี้ (7 มีนาคม 2566)...
เปลี่ยนผ่านราบรื่น เริ่มสัญญาใหม่ แบ่งปันผลผลิตแหล่งก๊าซบงกช 8 มี.ค. 66 ได้ราคาก๊าซถูกลง ผู้ใช้ไฟได้ประโยชน์
อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เผยการเปลี่ยนผ่านการดำเนินงานแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกช(แปลง G2/61) จากระบบสัมปทานเพื่อเริ่มต้นสัญญาใหม่แบ่งปันผลผลิต ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2566 เป็นไปอย่างราบรื่น โดยต้นทุนราคาก๊าซที่ลดต่ำลงจาก 279 - 324 บาทต่อล้านบีทียู เหลือ 172 บาทต่อล้านบีทียูจะช่วยให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของประเทศลดต่ำลงซึ่งประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าจะได้ประโยชน์
นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยในช่วงเช้าของวันที่ 8 มี.ค.2566 ว่า การดำเนินงานช่วงเปลี่ยนผ่านของแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกช...
ครม.ไฟเขียว “วัฒนพงษ์ คุโรวาท”นั่งตำแหน่ง ผอ.สนพ.ต่ออีก 1 ปี
ครม.ไฟเขียวต่ออายุ "วัฒนพงษ์ คุโรวาท" ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ( ผอ.สนพ.) อีก 1 ปี จนถึงวันที่ 6 เมษายน 2567 เร่งจัดทำแผนพลังงานชาติ และแผนพีดีพีฉบับใหม่ ให้แล้วเสร็จตามนโยบาย
ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน( Energy News Center -ENC ) รายงานว่า คณะรัฐมนตรีซึ่งประชุมเมื่อวันที่...
เผยต้นทุนค่าไฟลดกว่า 2 หมื่นล้านตั้งแต่ 8 มี.ค-ธ.ค.66 หลังแหล่งก๊าซบงกชเปลี่ยนระบบเป็น PSC
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ยืนยันการเปลี่ยนผ่านการดำเนินงานแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกช(แปลง G2/61) จากระบบสัมปทานสู่ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าให้ถูกลง เพราะราคาก๊าซจะลดลง โดยปรับจาก 279 - 324 บาทต่อล้านบีทียู ในระบบสัมปทานเดิมเหลือ 172 บาทต่อล้านบีทียูภายใต้ระบบแบ่งปันผลผลิต หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณกว่า 20,000 ล้านบาท (ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม - ธันวาคม 2566) โดยตลอดระยะเวลา 50...