การวางแผนโครงข่ายไฟฟ้าเชิงรุกเป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อคและสนับสนุนแนวทางสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
เวลาเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาและการปรับโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายพลังงานสะอาด การนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้เพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับการนำเทคโนโลยีใหม่มาปรับใช้กับระบบพลังงานไฟฟ้ากำลังเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายไฟฟ้าในปัจจุบันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นแบบรวมหรือแบบกระจายศูนย์ ซึ่งแนวทางในการเปลี่ยนมาพึ่งพาแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น กำลังท้าทายกระบวนการจัดการโครงข่ายไฟฟ้าแบบดั้งเดิมที่เคยเป็นมา
การเร่งพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้า
หากถามว่าอะไรเป็นความท้าทายหลักต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมพลังงาน คำตอบคือการที่จะต้องมีระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่แข็งแกร่งรองรับทั้งระบบผลิต ระบบส่ง รวมถึงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ยกตัวอย่างเช่น หากมีการคาดการณ์ว่าจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากลม (Wind turbine) นอกชายฝั่ง อยู่ที่ระหว่าง 230 ถึง 450 GW. โดยต้องการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าให้อยู่ที่ 300GW ภายในปี 2050 ซึ่งเปรียบได้กับการเพิ่มการผลิตไฟฟ้า 200 MW ต่อสัปดาห์นับจากวันนี้ นับว่าเป็นการขยายตัวที่รวดเร็วอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีการสร้าง และปรับโครงข่ายไฟฟ้าล่วงหน้า เพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวที่รวดเร็วนี้ได้
–
ปัจจัยทางด้านการลงทุนก็เป็นอีกเรื่องที่จะต้องพิจารณา แต่แน่นอนว่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้น หมายถึง การวางแผนที่เร็วขึ้น ดีขึ้น การพัฒนาโครงการไปสู่จุดหมายได้ดีขึ้นเช่นกัน โดย Hitachi Energy มีระบบไฟฟ้าเชิงกลยุทธ์แบบจำลองซึ่งเรียกว่า Power Systems of the Future หรือ ระบบไฟฟ้าของอนาคต ซึ่งเราใช้ทำการจำลองรูปแบบที่ซับซ้อนต่างๆของระบบไฟฟ้า ในโซนยุโรปมีการนำพลังงานหมุนเวียนจากแหล่งต่างๆ เช่น พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ร่วมกันเป็นระบบและส่งเสริมกันในกรณีที่จำเป็นต้องมีการกระจายพลังงานไฟฟ้าไปในพื้นที่หรือภูมิภาคที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งสามารถรับและส่งพลังงานไฟฟ้าสู่กันและกันได้ โดยเฉพาะในกรณีที่บางพื้นที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงหรือไม่เพียงพอ การวิเคราะห์ของเราแสดงให้เห็นว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ต้นทุนระบบสูงขึ้น 30% ถึง 40% เนื่องจากความสามารถในการผลิตที่จำกัดในปัจจุบันรวมถึงพลังงานหมุนเวียนที่ติดตั้งไว้ถูกใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพรวมถึงการจัดเก็บสำรองพลังงาน
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาทของการกระจายพลังงาน: ประการแรก ในระบบส่งพลังงานไฟฟ้า เราจำเป็นต้องคำนึงถึงระดับแรงดันไฟฟ้าทุกระดับอยู่เสมอ เนื่องจากมีผลต่อประสิทธิภาพในการส่งและค่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นในระบบ ประการที่สอง การมีระบบสำรองพลังงานที่ดี สามารถช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและเป็นพลังงานฉุกเฉินสำหรับสำหรับภาคส่วนที่สำคัญ เช่น ภาคการแพทย์ การประปา การสื่อสารและโทรคมนาคมในกรณีที่มีการรบกวนในระบบ
เนื่องจากมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจำนวนมาก เราจึงต้องใช้ความจุโครงข่ายที่มีอยู่ และความจุใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด สิ่งนี้สามารถทำได้อย่างไร?
คำตอบคือ เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยได้ โดยจำเป็นต้องติดตั้งโครงข่ายในลักษณะที่ช่วยให้สามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัว ยืดหยุ่น และมีอัตราการใช้ประโยชน์ที่สูงกว่าในอดีต ซึ่งรวมถึงความสามารถในการตรวจจับและวัดค่าที่ดีขึ้นในทุกระดับแรงดันไฟฟ้า การแปลงเป็นดิจิทัล หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยให้เราสามารถควบคุมการส่งพลังงานไฟฟ้าได้แม่นยำยิ่งขึ้น
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีกระบวนการทำงานและวางแผนร่วมกัน กับผู้ให้บริการด้านโครงข่ายไฟฟ้า ผู้ใช้เครือข่าย และผู้ให้บริการเทคโนโลยี ซึ่งต้องเห็นพ้องต้องกันกับฟังก์ชันการทำงานของโครงข่ายไฟฟ้าแห่งอนาคต มีแผนการเปิดตัวและใช้งานที่ชัดเจน ซึ่งหากโครงข่ายมีความสำคัญต่อการเติบโตของพลังงานหมุนเวียน สิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อจูงใจให้ผู้ให้บริการโครงข่ายไฟฟ้าทำการลงทุนที่สำคัญ คือการสนับสนุนด้านกฎระเบียบ เพิ่มแรงจูงใจในการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพและการส่งมอบตรงเวลาควบคู่กันไป รวมถึงผลักดันความร่วมมือให้มากขึ้นระหว่างผู้ปฏิบัติงานระบบตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้นของโครงสร้างพื้นฐาน
การออกแบบเพื่อสร้างโครงข่ายไฟฟ้าจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ พัฒนาระบบที่เชื่อมโยงถึงกันในด้านของการลงทุน ความมีเสถียรภาพของโครงข่ายไฟฟ้าจะส่งผลโดยตรงต่อผลประกอบการและกำไร ผู้ประกอบการโครงข่ายต้องการความมั่นใจว่า การลงทุนในการผลิตจะก้าวหน้าเมื่อโครงข่ายไฟฟ้ามีความพร้อม ถึงแม้ในทางเทคนิคเราอาจไม่สามารถควบคุมปัจจัยเหล่านี้ได้ทั้งหมด สิ่งเหล่านี้จะช่วยขับเคลื่อนการส่งมอบโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุน ทั้งในโครงสร้างพื้นฐาน และโครงข่ายไฟฟ้า
“ปัจจุบันการติดตั้งหรือขยายโครงข่ายไฟฟ้า จำเป็นต้องมีการลงทุนกับงานโครงสร้างและลงเวลากับงานหน้าไซต์งานก่อสร้างเป็นจำนวนมาก ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปสู่การขยายโครงข่ายในรูปแบบใหม่ที่สามารถลดทั้งขนาดพื้นที่ ระยะเวลาในการติดตั้ง และบุคลากรหน้าไซต์งานได้อย่างมาก อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นต่อการเคลื่อนย้ายสูงกว่าการติดตั้งในรูปแบบเก่า นอกจากนี้เทคโนโลยีดิจิทัลก็เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่กำลังเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมเสถียรภาพของโครงข่ายไฟฟ้าให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่จะต้องตระหนักถึงสถานการณ์แบบเรียลไทม์มากขึ้น (เช่น รูปแบบกริด การตีความข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวม เตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น) เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือ ความพร้อมใช้งาน ความปลอดภัย และการเข้าถึงที่ประหยัดในขณะที่ระบบไฟฟ้าที่เชื่อมต่อระหว่างโครงข่ายพัฒนาขึ้น “Hitachi Energy” เรามุ่งมั่นขับเคลื่อนอนาคตพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน พร้อมเป็นพันธมิตรที่ดีในการสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายความยั่งยืน รวมถึงเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่รองรับการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนของพลังงานและโครงข่ายไฟฟ้าในอนาคต ” ดร.วรวุฒิ วรุตตมพรสุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริม