ENC DATA : ทำไมราคาน้ำมันไทยไม่เท่ากับมาเลเซีย?

7108
- Advertisment-

 

@ โครงสร้างราคาขายปลีกต่างกัน ตามนโยบายด้านพลังงานของแต่ละประเทศ

  • โครงสร้างราคาขายปลีกของไทย ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 ส่วน คือ ต้นทุนราคาเนื้อน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น อ้างอิงราคาตลาดกลางสิงคโปร์ 2. ภาษีต่างๆ ได้แก่ ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเทศบาล 3. เงินสมทบกองทุนต่างๆ ได้แก่ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเป็นกลไกรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีก และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 4. ค่าการตลาด

โดยไทยเป็นประเทศนำเข้าพลังงานสุทธิ เพราะมีน้ำมันไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ ต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่น และในแต่ละปีต้องเสียเงินตรานำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศจำนวนมาก รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมให้ใช้พลังงานอย่างประหยัด โดยมีการเก็บภาษีต่างๆ เพื่อจูงใจให้ประชาชนใช้อย่างประหยัด และนำเงินภาษีส่วนนี้มาใช้เป็นงบประมาณในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งยังมีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อนำมาใช้ลดผลกระทบในช่วงที่ราคาน้ำมันมีความผันผวนสูง และเก็บเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์พลังงาน เพื่อนำมาส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน

  • โครงสร้างราคาขายปลีกของมาเลเซีย มีเพียง 2 ส่วน คือ ต้นทุนราคาเนื้อน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น อ้างอิงราคาตลาดกลางสิงคโปร์เช่นเดียวกันกับไทย และ 2. ค่าการตลาด

ที่สำคัญ คือ มาเลเซียเป็นประเทศส่งออกพลังงานสุทธิ ที่มีรายได้จากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในแต่ละปีจำนวนมาก ***นอกจากรัฐบาลมาเลเซียจะไม่เก็บภาษี (ยกเว้นน้ำมัน RON97 ที่มีภาษี 6%) และเงินสมทบกองทุนต่างๆ จากน้ำมัน เนื่องจากมีรายได้จากการผลิตและส่งออกน้ำมันมาเป็นงบประมาณในการพัฒนาประเทศโดยไม่ต้องพึ่งภาษีน้ำมัน แล้ว ยังมีการอุดหนุนราคาน้ำมันขายปลีกให้ต่ำกว่าความจริงอีกด้วย

- Advertisment -

@ ต้นทุนเนื้อน้ำมันแตกต่างกัน  

  • ราคาหน้าโรงกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์เหมือนกัน ทำให้มีราคาที่ใกล้เคียงกัน แต่ต้นทุนค่าขนส่งต่างกัน โดยตามสูตรการคำนวณราคาหน้าโรงกลั่นของไทย ต้นทุนค่าขนส่งของไทยสูงกว่ามาเลเซีย เนื่องจากระยะทางจากสิงคโปร์มาไทยไกลกว่าสิงคโปร์ไปมาเลเซีย ทำให้ต้นทุนเนื้อน้ำมันไทยแพงกว่าเล็กน้อย 
  • คุณภาพน้ำมันของไทย ปัจจุบันใช้มาตรฐานขั้นต่ำคือยูโร 4 ขึ้นไป สูงกว่าคุณภาพน้ำมันของประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ รวมทั้งมาเลเซียที่ใช้มาตรฐานต่ำสุดคือยูโร 2 จนถึงยูโร 5 จึงทำให้ต้นทุนในการผลิตของไทยสูงกว่า แต่ก็ส่งผลให้เกิดมลพิษน้อยกว่ามาก
  • ไทยสนับสนุนพืชพลังงานเพื่อช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกร จึงมีการนำเชื้อเพลิงชีวภาพ    (เอทานอล และไบโอดีเซล) มาเป็นส่วนผสมในน้ำมัน เพื่อจำหน่ายเป็น แก๊สโซฮอล 95, 91 E10, E20, E85 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B7, B10 และ B20

Advertisment