BGRIM เชื่อมั่น ปฏิรูปภาษี GMT ไม่ส่งผลต่อธุรกิจปี 2567

79
- Advertisment-

BGRIM เชื่อมั่น ปฏิรูปภาษี GMT ไม่ส่งผลต่อธุรกิจปี 2567จับตากฎหมาย GMT ไทย เริ่มใช้ ปี 2568

หลังจากที่ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic  Co-operation and Development – OECD) เสนอให้มีการปฏิรูประบบภาษีระหว่างประเทศด้วยการจัดเก็บอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำ (Global minimum tax) จากกลุ่มนิติบุคคลข้ามชาติขนาดใหญ่ในอัตรา 15% โดยมีประเทศสมาชิกจำนวนมากเข้าร่วมข้อตกลงดังกล่าวตั้งแต่ปี 2564 ล่าสุดในปี 2567 กฎหมายเกี่ยวกับ GMT เริ่มมีผลบังคับใช้ในหลายประเทศแล้ว รวมถึงประเทศที่ BGRIM เข้าไปลงทุน ได้แก่ เวียดนาม เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี และออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม จากการประเมินในเบื้องต้น การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดภาษีส่วนเพิ่มที่มีสาระสำคัญต่อ BGRIM ในปี 2567 แต่อย่างใด

สำหรับประเทศไทย ณ ปัจจุบัน คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ “ร่าง พ.ร.ก.ภาษีส่วนเพิ่ม” เพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำ 15% ตามแนวทาง GMT แล้ว คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2568 ซึ่งจะทำให้บริษัทข้ามชาติที่เข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.ก. ต้องเสียภาษีส่วนเพิ่มหากอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริงในแต่ละประเทศที่เข้าไปลงทุนอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่า 15% โดยจากข้อมูลเบื้องต้นมีการเปิดเผยว่า จะมีมาตรการบรรเทาผลกระทบที่อาจมีต่อผู้ประกอบการที่ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสนันสนุนจากกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นต้น ซึ่ง BGRIM ได้ติดตามความคืบหน้าของการออกกฎหมายและมาตรการดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลกระทบที่อาจมีต่อ BGRIM ในปี 2568 ต่อไป

- Advertisment -

ทั้งนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก หรือ Global Minimum Tax (GMT) คือภาษีที่จัดเก็บกับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ที่มีรายได้รวมต่อปีเกิน 750 ล้านยูโร มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการแข่งขันทางภาษีระหว่างประเทศ (Tax Competition) ดึงดูดการลงทุน และป้องกันการเลี่ยงภาษีของบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ซึ่งนับเป็นการปฏิรูประบบภาษีครั้งสำคัญของโลก

Advertisment