BGRIM ผ่านการรับรองการเป็นสมาชิก CAC ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3

151
- Advertisment-

บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM ผ่านการรับรองการเป็นสมาชิก CAC จากแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption : CAC) ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 สะท้อนการดำเนินธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี มีความโปร่งใสซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ภายใต้เจตนารมย์ในการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันทุกรูปแบบ

ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยว่า บี.กริม เพาเวอร์ ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption : CAC) โดยได้รับการรับรองการเป็นสมาชิกเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน จากการประกาศผลเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566 โดยการรับรองดังกล่าวจะมีอายุ 3 ปี (พ.ศ. 2567 – 2569) สะท้อนถึงวิสัยทัศน์และแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ที่ให้ความสำคัญในการดำเนินงานภายใต้กรอบธรรมาภิบาล ซึ่งบริษัทยึดมั่นมาโดยตลอด


ตลอดเวลาที่ผ่านมา บี.กริม เพาเวอร์ ได้มีการกำหนดนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน (Anti-Corruption Policy) รวมถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความเสี่ยงในด้านคอร์รัปชัน อาทิ การประเมินความเสี่ยงด้านคอร์รัปชัน (Corruption Risk Profile) นโยบายการกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance Policy) จรรยาบรรณทางธุรกิจ (Code of Conduct) นโยบายการแจ้งเบาะแสการกระทำความผิด (Whistleblowing Policy) และนโยบายการให้ของขวัญและการเลี้ยงรับรอง (Gift and Entertainment Policy) เป็นต้น โดยได้มีการสื่อสารให้บุคลากรภายใน บริษัทคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจได้รับทราบและเข้าใจถึงนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน เพื่อความตระหนักรู้และการปฏิบัติตามนโยบายอย่างต่อเนื่อง และพร้อมเดินหน้าสู่ความยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ของ บี.กริม เพาเวอร์ ที่มุ่งสร้างพลังให้กับสังคมโลกด้วยความโอบอ้อมอารี
สำหรับ CAC นั้น ได้มีการก่อตั้งในปี 2553 โดยเป็นแพลตฟอร์มที่มุ่งเน้นให้ภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน โดยการสร้างและขยายแนวร่วมในภาคเอกชน เพื่อสร้างกระแสต่อต้านการคอร์รัปชันด้วยการส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการที่จะปฏิเสธการเรียกรับและให้สินบน รวมถึงการคอร์รัปชันระหว่างองค์กรเอกชน โดยมีการส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ กำหนดนโยบาย ประเมินความเสี่ยงและวางแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการคอร์รัปชันซึ่งจะเป็นการสร้างระบบนิเวศของการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใสและยังเป็นการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานที่สามารถควบคุมความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันของภาคธุรกิจเอกชนในประเทศ ซึ่งนับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีบริษัทที่เข้าร่วมประกาศเจตนารมย์แล้วมากกว่า 1,000 บริษัท และมีบริษัทที่ผ่านการรับรองจาก CAC แล้วกว่า 472 บริษัท

- Advertisment -
Advertisment