ENC DATA: Waste to Energy

2202
- Advertisment-

เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์ข่าวพลังงาน Energy News Center – ENC ผู้ดำเนินโครงการสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่นต่อพลังงานไฟฟ้าจากขยะ (Waste Side Story) ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พ.ศ. 2562 ได้นำสื่อมสวลชนท้องถิ่นเข้าเยี่ยมชมและรับฟังบรรยายจากวิทยากร ณ ศูนย์กำจัดมูลฝอยแบบผสมผสานบ้านตาล ต.บ้านตาล อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ และได้เรียนรู้กระบวนการจัดการขยะโดยการแปรรูปเป็นพลังงาน หรือ Waste to Energy

ศูนย์กำจัดมูลฝอยฯแห่งนี้ เป็นพื้นที่รับจัดการขยะแบบฝังกลบ (Landfill) ที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ มีพื้นที่รับขยะถึง 2,000 ไร่ ปัจจุบันรับขยะอยู่ 700 ตันต่อวัน และสามารถนำก๊าซที่เกิดจากขยะฝังกลบมาผลิตเป็นก๊าชชีวภาพสำหรับนำไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าและส่งผ่านไปสู่ครัวเรือนในหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อไปใช้ทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG) โดยปัจจุบันสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 2 เมกะวัตต์ ซึ่งได้นำไปใช้ในโรงงานอบแห้งลำไย ส่วนก๊าซอีกส่วนหนึ่งได้ส่งผ่านทางท่อให้กับชาวบ้าน 200 ครัวเรือนรอบศูนย์กำจัดมูลฝอยฯ ได้ใช้เป็นก๊าซหุงต้มในครัวเรือน

ศูนย์กำจัดมูลฝอยฯ บ้านตาล ตั้งอยู่ห่างไกลชุมชน และมีการพิจารณาทิศทางลมในการกำหนดหลุมฝังกลบขยะ ทำให้ไม่มีผลกระทบเรื่องกลิ่นต่อชุมชนใกล้เคียง

- Advertisment -

อย่างไรก็ตาม การนำขยะจากตัวเมืองเชียงใหม่มาฝังกลบที่ศูนย์ฯ ซึ่งตั้งอยู่ใน อ. ฮอด นับว่ามีต้นทุนสูง ทั้งต้นทุนค่าขนส่งถึง 200 บาทต่อตัน เนื่องจากระยะทางค่อนข้างไกล และยังมีค่าจัดการขยะอีก 700-800 บาทต่อตัน ทำให้ต้นทุนค่าจัดการขยะสูงขึ้นตามไปด้วย

ดังนั้น การจัดการปัญหาขยะอย่างได้ผล ต้องเริ่มตั้งแต่การคัดแยกขยะจากครัวเรือน โดยแยกขยะที่รีไซเคิลได้ไปใช้ประโยชน์ ส่วนขยะที่เหมาะสมเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าจะถูกส่งมายังโรงไฟฟ้าได้โดยตรง ซึ่งจะทำให้กำจัดขยะได้รวดเร็ว ลดต้นทุนค่าขนส่ง และทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าถูกลงได้

#wastesidestory #พลังงานไฟฟ้าจากขยะ

Advertisment