นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม ลงนามความร่วมมือกับภาควิชาเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวะ จุฬาฯ ส่งนิสิต ฝึกงานภาคสนามด้วยข้อมูลการผลิตปิโตรเลียมจริง (Real Time)

255
- Advertisment-

นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม ลงนามความร่วมมือกับภาควิชาเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่งนิสิตด้านวิศวกรรมปิโตรเลียมเป็นนักศึกษาฝึกงานภาคสนามด้วยข้อมูลการผลิตปิโตรเลียมจริง (Real Time) เพื่อผลิต บุคคลากร ป้อนวงการผลิตปิโตรเลียมของไทย

พิธีลงนาม จัดขึ้นที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ วันที่ 25 กันยายน 2567 โดย รองศาสตราจารย์ ดร. จิรวัฒน์ ชีวรุ่งโรจน์ หัวหน้าภาควิชาเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตัวแทนลงนามในบันทึกความร่วมมือทางวิชาการกับ คุณมาริษา เย็นบำรุง กรรมการบริหาร บริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม (Northern Gulf Petroleum) ของคนไทย โดยวัตถุประสงค์หลักของความร่วมมือในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการศึกษาด้านวิศวกรรมปิโตรเลียมภาคปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้นิสิตสามารถใช้ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลจริง และฝึกทักษะที่จำเป็นในอุตสาหกรรมผลิตปิโตรเลียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการวางแผนพัฒนาแหล่งผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน  ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับนิสิตภาควิชาเหมืองแร่และปิโตรเลียม ในการเข้าสู่ตลาดแรงงานที่มีความต้องการบุคคลากรซึ่งมีความรู้และทักษะเฉพาะทางสูง รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เป็นไปตามนโยบายของ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รวมทั้ง กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ในฐานะผู้กำกับดูแลอุตสาหกรรมปิโตรเลียมของไทย

รองศาสตราจารย์ ดร. จิรวัฒน์ ชีวรุ่งโรจน์ หัวหน้าภาควิชาเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ซ้ายสุด) เป็นตัวแทนลงนามในบันทึกความร่วมมือทางวิชาการกับ คุณมาริษา เย็นบำรุง กรรมการบริหาร บริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม (ขวาสุด)

ความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการปิโตรเลียมไทย ที่บริษัท นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม ซึ่งเป็นบริษัทของคนไทย จะป้อนข้อมูลทางวิศวกรรมปิโตรเลียม รวมถึงข้อมูลแหล่งกักเก็บน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากแหล่งรสสุคนธ์ในอ่าวไทย รวมถึงการใช้ข้อมูลการหยั่งธรณีหลุมเจาะ คุณสมบัติทางแรงดัน ปริมาณ และ อุณหภูมิ (Pressure, Volume, Temperature – PVT) ของน้ำมันในแหล่งกักเก็บ (Reservoir Management) จากแหล่งรสสุคนธ์ เพื่อให้นิสิตได้ใช้ในการเรียนรู้และสร้างแบบจำลอง (Reservoir Modelling) สถานการณ์ในด้านการวางแผนพัฒนาแหล่งผลิตปิโตรเลียมให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

- Advertisment -

ข้อมูลที่ได้จากการร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยให้นิสิตคุ้นเคยกับสภาพทางธรณีวิทยาที่แท้จริงและทันสมัย (Real Time) ของประเทศไทย โดยการทดลองใช้ข้อมูลจริง ทำให้นิสิตมีทักษะและประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์ในการทำงานจริง

Advertisment