- Advertisment-

ถ้ามีใครสักคนบอกว่า นึกถึงเรื่องยานยนต์ไฟฟ้าให้นึกถึง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หรือ นึกถึง EV ให้นึกถึง EGAT (Electric​ity Generating Authority of Thailand – ​EGAT)​ ณ ตอนนี้ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ไกลจากความเป็นจริง เพราะในระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Ecosystem นั้น กฟผ. หรือ EGAT ได้เข้าไปปักหมุดเอาไว้เกือบทุกเรื่องแล้ว แบบที่ว่าใครมีปัญหาเรื่อง EV มาปรึกษา EGAT ได้ทุกเรื่อง ทั้งคนที่อยากจะมีรถ EV ไว้ขับ หรือคนที่อยากจะลงทุนเป็นเจ้าของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถ EV

รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงก็มี

ไล่เรียงให้เห็นภาพถึง EV Ecosystem ที่ EGAT ทำเป็นรูปธรรม ตั้งแต่งานวิจัยและพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง สำหรับคนในชุมชนเมืองที่มีรถยนต์เก่าที่ปล่อยมลพิษไอเสีย แล้วอยากจะเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้า EGAT ก็อยู่ระหว่างพัฒนาต่อยอดให้เปลี่ยนมาเป็นระบบรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าโดยใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content) ให้มากที่สุด ทั้งมอเตอร์ (EV Motor) แบตเตอรี่ (EV Battery) คอนโทรลเลอร์ (EV Controller) และ ระบบชาร์จ (EV Charger) เพื่อลดการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศ มีต้นทุนที่แข่งขันได้ และมีราคาค่าดัดแปลงที่ผู้บริโภคจ่ายได้ ซึ่งใครที่อยู่ในกลุ่มนี้ต้องอดใจรอหน่อย

- Advertisment -

สถานีชาร์จไฟฟ้าก็มา

กลุ่มที่อยากจะซื้อรถ EV ป้ายแดงมาขับเลย กฟผ. ก็เตรียมความพร้อมระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานไว้ให้ทั้งการพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Station) ให้ครอบคลุมทุกการเดินทางของผู้ใช้ EV ภายใต้แบรนด์ EleX by EGAT โดย กฟผ. เริ่มเปิดให้บริการสถานี EV Charging Station ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา และมีแผนจะขยายสถานีอย่างต่อเนื่องในปี 2565  ในพื้นที่ใกล้โรงไฟฟ้าหรือเขื่อนของ กฟผ. และพื้นที่พันธมิตรต่างๆ เช่น สถานีบริการน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล สนามกอล์ฟ ร้านอาหาร และพื้นที่จุดเชื่อมต่อการเดินทาง ฯลฯ เพื่อสนับสนุนการเดินทางด้วยรถ EV ในเส้นทางหลักทั่วประเทศ โดยหากเป็นไปตามแผน น่าจะขยายสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถ อีวี ได้ถึง 120 สถานีในปี 2565 นี้ 

โดยในธุรกิจสถานีชาร์จรถ EV นั้น กฟผ. มุ่งตอบโจทย์ใน 3 เรื่องหลัก คือ 1. การใช้รถ EV เดินทางระหว่างจังหวัด (Highway) ที่จะมีสถานี EleX by EGAT รองรับ 2. การใช้รถอีวี เดินทางในเมือง (Intown) ก็จะมีสถานี EleX ในเขต กทม. และเมืองใหญ่ ไว้รองรับเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่มีสถานีในพื้นที่ กฟผ. สำนักงานใหญ่ และที่ศูนย์การเรียนรู้พระราม 7 รวมถึงสถานี Partner ในสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มช. จ. เชียงใหม่ และ 3. ในการขนส่งเชิงพาณิชย์ด้วย EV Transportation / EV Logistic Fleets โดยจะเป็นการสนับสนุนภาครัฐและเอกชน ให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ในการขนส่งมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานฟอสซิล และลดการปล่อยคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในภาคขนส่ง รวมถึงสร้างความได้เปรียบด้านต้นทุนเชื้อเพลิงให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งขณะนี้ โครงการอยู่ระหว่างการพัฒนา

โดย กฟผ. ขับเคลื่อนการพัฒนาธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า ภายใต้ EGAT EV Business Solutions ประกอบไปด้วย ผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้อง โดยนอกจากสถานีอัดประจุไฟฟ้า “EleX by EGAT” นี้แล้ว ก็ยังมี Mobile Application Platform “EleXA”  ตู้อัดประจุไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ EGAT+Wallbox รวมถึงระบบบริหารจัดการเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า “BackEN” หรือ Backend EGAT Network Operator Platform เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ

ชวนโหลด Application “EleXA”

เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานสถานีชาร์จรถ EV กฟผ. มีระบบ Application ที่ชื่อว่า “EleXA”  ซึ่งเป็นเสมือนผู้ช่วยในทุกการเดินทางด้วยรถ EV ทั้งการค้นหาสถานี การชาร์จ การจอง และจ่ายเงิน พร้อมทั้งยังมีระบบส่งเสริมการขาย โดยการสะสมแต้มแลกสิทธิพิเศษต่างๆ ครอบคลุมทุกความต้องการใน Application เดียว ผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยสามารถดาวน์โหลดใช้งานได้ทั้งในระบบ App Store และ Play Store  ซึ่ง EleXA จะมีการ Update feature ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นและสะดวกมากยิ่งขึ้น

เครื่องอัดประจุไฟฟ้า EGAT+Wallbox

“Supernova” เปิดตัวที่งาน Motor Expo 2021 ที่ อาคารชาเลนเจอร์ 3 อิมแพค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 1-12 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา

สำหรับกลุ่มที่สนใจอยากจะลงทุนทำธุรกิจสถานีชาร์จรถ EV ไว้รองรับความต้องการที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต กฟผ. หรือ EGAT ก็มีธุรกิจจำหน่ายเครื่องอัดประจุไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ EGAT+Wallbox  โดยล่าสุดเมื่อเร็วๆนี้ได้เปิดตัวโมเดล “Supernova” ซึ่งเป็นเครื่องอัดประจุไฟฟ้าแบบชาร์จเร็ว (DC Fast Charger) รุ่นใหม่ ไว้ตอบโจทย์ผู้สนใจที่คุ้มค่าการลงทุนในช่วง 5 ปีแรก โดย “Supernova” นั้นเหมาะกับคนลงทุนที่เป็นเจ้าของกิจการโรงแรม ห้างสรรพสินค้า  ฟิตเนส  ร้านอาหาร  ร้านกาแฟ หรือเป็นสถานที่ที่มีผู้คนต้องแวะพักเข้าไปใช้บริการ เพราะลูกค้าที่ใช้รถ EV ทุกรุ่นทุกแบรนด์สามารถที่จะจอดรถชาร์จไฟไว้แค่ 15 นาทีก็เพียงพอที่จะวิ่งต่อไปได้ระยะทางไกลถึง 100 กิโลเมตร  โดยที่เครื่องชาร์จมีความเสถียรในการชาร์จไฟได้อย่างต่อเนื่อง

ระบบบริหารจัดการ “BackEN”

นอกจากนี้ กฟผ. ยังมีการพัฒนาระบบบริหารจัดการ เครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า “BackEN” หรือ Backend EGAT Network Operator Platform และทีมงานที่ให้บริการเป็น Solution ตั้งแต่ต้นจนจบ ครบวงจร  ทั้งการช่วยเลือกสถานที่ การออกแบบ ติดตั้งระบบฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์​  การอัพเกรด การซ่อมบำรุง และการรับประกันการใช้งาน  แบบจ่ายครบจบในที่เดียว ผูกบริการกันไปได้นานไม่ต้องย้ายค่ายไปที่ไหน

อ่านถึงบรรทัดนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้รถ EV หรือ ผู้ลงทุนสถานีชาร์จรถ EV หรือคนทั่วไปที่อยากจะช่วยลดมลพิษไอเสียในเมือง อยากช่วยลดโลกร้อน รักษ์สิ่งแวดล้อม คงจะเห็นแล้วว่า ใน EV Ecosystem​ หรือระบบนิเวศ​ยานยนต์ไฟฟ้าที่ กฟผ. หรือ EGAT มุ่งมั่นสร้างขึ้นนั้น กำลังตอบโจทย์ให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เพียงพอจะตอบคำถามสำหรับคำพูดที่ว่า นึกถึง EV นึกถึง EGAT

Advertisment