‘ไออาร์พีซี’ จับมือ ‘ไอบีเอ็ม’ ดึงออโตเมชัน พลิกโฉมการเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร

515
- Advertisment-

‘ไออาร์พีซี’ จับมือ ‘ไอบีเอ็ม’ ดึงออโตเมชัน
พลิกโฉม การเพิ่มประสิทธิภาพ ติดสปีดงานปฏิบัติการเร็วขึ้นเกือบเท่าตัว

วันนี้ (8 กันยายน 2564)​ ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) ประกาศว่าบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) หนึ่งในบริษัทปิโตรเคมีครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ประสบความสำเร็จในการนำ IBM Robotic Process Automation (RPA) with Automation Anywhere ไปใช้ในกระบวนการทำงานด้านการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำ ความรวดเร็ว และประหยัดต้นทุน อีกทั้ง ยังช่วยเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ในการทำงานให้กับพนักงาน ท่ามกลางความท้าทายในยุคปัจจุบัน

การผนึกกำลังของเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำเข้ากับกระบวนการทางธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ IRPC 4.0 เพื่อยกระดับการดำเนินงาน และนำพาองค์กรก้าวสู่การเป็นบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและดิจิทัล ชั้นนำของประเทศไทย ซึ่งการที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว IRPC จำเป็นต้องได้รับข้อมูลเชิงลึกในเวลาที่เหมาะสมทันท่วงที ด้วยการนำร่องใช้เทคโนโลยีออโตเมชัน โดยเริ่มจากสายงานบัญชีและการเงิน

- Advertisment -

ระบบ RPA ที่ติดตั้งโดย บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ช่วยให้ IRPC สามารถดึงและจัดเตรียมข้อมูลรายงานต้นทุนการผลิตจากหลายระบบได้เร็วขึ้นถึง 86% โดยระบบยังสามารถติดตามงาน จัดระเบียบรายงานเป็นแฟ้มเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงส่งการแจ้งเตือนไปยังผู้ปฏิบัติการ เมื่อทำรายงานเสร็จ เทคโนโลยีของไอบีเอ็มช่วยให้ IRPC สามารถดำเนินกระบวนการทางการเงินแบบอัตโนมัติในระดับองค์กรขนาดใหญ่ได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว โดยซอฟต์แวร์โรบ็อทหรือบ็อท หรือ IBOT (ชื่อที่ IRPC ใช้) สามารถใช้ข้อมูลปัญญาประดิษฐ์เชิงลึกเพื่อทำงานให้เสร็จสิ้นได้เร็วขึ้น และช่วยสนับสนุน IRPC ในการเดินหน้าก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัลได้สำเร็จ

นอกจากจะช่วยเพิ่มความแม่นยำแล้ว RPA ยังช่วยให้พนักงานทำงานได้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้นแม้ว่าจะต้องทำงานจากระยะไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่ต้องทำงานจากที่บ้าน (work from home) ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยพนักงานสามารถทำงานที่สร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น และเรียนรู้ทักษะแห่งอนาคตใหม่รองรับงานด้านการวิเคราะห์ขั้นสูงที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญมากขึ้น

“เห็นได้ชัดว่าองค์กรที่มีนวัตกรรมและมีบุคลากรที่พร้อมรับนวัตกรรมใหม่ๆ อย่าง IRPC มีความพร้อม ที่จะตอบสนองต่อภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป และคว้าโอกาสทางธุรกิจที่ดีที่สุดที่มีอยู่ได้” ปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย กล่าว “ในฐานะผู้นำตลาดที่ได้รับการจัดอันดับโดยทั้งฟอร์เรสเตอร์แอนด์เอเวอร์เรสต์กรุ๊ป ไอบีเอ็ม และพันธมิตรอย่างเมโทรซิสเต็มส์ มีความยินดีที่ได้นำเทคโนโลยีออโตเมชันชั้นนำและความเชี่ยวชาญเชิงอุตสาหกรรมของเรามาช่วย IRPC เร่งเครื่องสู่เส้นทางการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล และการเติบโตด้านธุรกิจ”

ความสามารถในการทำงานแบบควบรวมหลายระบบเข้าด้วยกัน ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ทำให้วันนี้เทคโนโลยีออโตเมชันของไอบีเอ็มถูกนำมาใช้ในด้านอื่นด้วย การที่ออโตเมชันช่วยลดเวลาการทำงานลง 40 ชั่วโมง และช่วยให้การดำเนินการของสายงานบัญชีและการเงินเร็วขึ้น 86 % ต่อเดือน ถือเป็นการพลิกโฉมรูปแบบการจัดการงานต่างๆ ให้กับ IRPC ได้อย่างมีนัยสำคัญ

“การปรับกระบวนการและการดำเนินงานให้เป็นรูปแบบดิจิทัลมากยิ่งขึ้น ช่วยให้เราได้รับข้อมูลเชิงลึก ที่ถูกต้องแม่นยำและทันท่วงทีไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ทำให้สามารถเข้าใจสาเหตุของปัญหาต่างๆ อย่างแท้จริง และตัดสินใจได้อย่างถูกต้องบนพื้นฐานของข้อมูล ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งความท้าทายนี้” นายชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) กล่าว “การนำเทคโนโลยีออโตเมชันจากไอบีเอ็มมาใช้ และขยายการใช้งานทั่วทั้งบริษัทฯ ในวันนี้จะช่วยให้ธุรกิจพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น และช่วยเพิ่มความสามารถในการจัดการข้อมูลปริมาณมหาศาล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งขั้นของการเดินหน้าบนเส้นทาง IRPC 4.0 ตามแผน กลยุทธ์ของเรา เทคโนโลยีนี้จะทำให้ IRPC เป็นผู้นำในทุกตลาดที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน”

“หลังจากประสบความสำเร็จกับการเริ่มใช้ RPA ในสายงานบัญชีและการเงิน IRPC จึงมองถึงการขยายการใช้ระบบออโตเมชันไปยังโครงการอื่นๆ อีก 60 โครงการ ครอบคลุมการทำงานของหลายหน่วยงาน อีกทั้งยังวางแผนที่จะนำเทคโนโลยีออโตเมชันอย่างปัญญาประดิษฐ์มาใช้กับกระบวนการทางธุรกิจ (business process automation: BPA) เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย” นายชวลิต กล่าว

ข้อมูลอื่นเพิ่มเติม​
การศึกษาโดยสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBV) ร่วมกับอ็อกซ์ฟอร์ดอีโคโนมิกส์ ชี้ให้เห็นว่าลักษณะของงานที่ใช้เทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญภายในปี 2567 โดยเปอร์เซ็นต์ของงานทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นงานธุรการ งานของแผนก งานขององค์กร และงานที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ จะยังคงมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยงานขององค์กรและงานที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมีสัดส่วนมากที่สุด เมื่อพิจารณาลงรายละเอียด หนึ่งในห้าของผู้ที่ตอบแบบสำรวจระบุว่าเทคโนโลยีจะถูกใช้ในการทำธุรกรรมข้ามแผนกทั่วทั้งองค์กร ขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนห้าเปอร์เซ็นต์มองว่าเทคโนโลยีจะถูกนำมาใช้ในงานที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญอย่างการแก้ปัญหา โดยอาศัยข้อมูลแบบเรียลไทม์หรืออาศัยข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์หลายประเภท
ไอบีเอ็มได้เข้าซื้อกิจการ WDG Automation เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของระบบออโตเมชันสำหรับองค์กรที่ผสานความสามารถของเอไอ วันนี้บริการออโตเมชันของไอบีเอ็มได้เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มผลิตภาพในงานปฏิบัติการให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น เภสัชกรรม ยานยนต์ ประกันภัย การธนาคาร ฯลฯ

เกี่ยวกับ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ ไออาร์พีซี
ไออาร์พีซี เป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจร มีโรงงานอยู่ที่จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทฯ พร้อมสาธารณูปโภคที่สนับสนุนการดำเนินงาน ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึก คลังน้ำมัน และโรงไฟฟ้า

Advertisment