- Advertisment-

สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) หรือ IEEE PES ส่งเสริมนิสิต นักศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้าและพลังงาน ด้านการสื่อสารการนำเสนอผลงาน ชี้เป็นคุณสมบัติจำเป็นในศตวรรษนี้ โดยจัดโครงการ IEEE PES 5-Minute Student Project Pitch competition (5MSPP 2022) ระบุปี 2565 มีนิสิตร่วมโครงการ 54 ทีม โดยทีมชนะเลิศได้แก่ Phoenix จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอโครงงานการออกแบบระบบไฟฟ้าสาหรับอาคารสีเขียว ช่วยประหยัดไฟฟ้าและลดโลกร้อน

สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ได้จัดโครงการ IEEE PES 5-Minute Student Project Pitch competition (5MSPP 2022)” ซึ่งเป็นการแข่งขันนำเสนอโครงการด้านวิศวกรรมของนิสิต นักศึกษาในระดับปริญญาตรีที่ทำโครงงานวิศวกรรมด้านไฟฟ้าและพลังงาน เพื่อสร้างประสบการณ์ในการฝึกฝนและพัฒนาทักษะการสื่อสารไอเดียด้วยคำพูด ประกอบการใช้สื่อการนำเสนออิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบที่ชัดเจน กระชับและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากทักษะการสื่อสารเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับนิสิตนักศึกษาและวิศวกรในศตวรรษที่ 21 นี้

โดยในปี 2565 นี้ มีทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 54 ทีม และมีทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย 7 ทีม ได้แก่ 1. ทีม Good Atmosphere 2.ทีม SUN-KISSED 3. ทีม EnvAir 4.ทีม Phoenix 5. ทีม Mr.Bot and Mr.Secretary 6. ทีม EE49 และ 7. ทีม EEES ซึ่งมาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

- Advertisment -

สำหรับทีมที่ชนะเลิศ คือ ทีม Phoenix ประกอบด้วย นายผดุงเดช วงศ์วงรุจ และ นายศักรินทร์  ขาวขำ จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งนำเสนอโครงการเรื่องการออกแบบระบบไฟฟ้าสาหรับอาคารสีเขียว (Electrical Systems Design for a Green Building)  โดยมี ดร. เนาวรัตน์ เทพหริรักษ์ เป็นที่ปรึกษา คว้าเงินสด 2 หมื่นบาทพร้อมโล่รางวัล

สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นการศึกษาการออกแบบระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารสีเขียว โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงานที่ใช้ภายในอาคารและได้มีการใช้ระบบควบคุมเข้าร่วมทำงานด้วยเพื่อให้อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้ไฟฟ้าและหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าแทน โดยได้ทดลองกับอาคารเรียนวิศวกรรม 11 ชั้น โดยศึกษา 3 ระบบ คือ ระบบแสงสว่าง ระบบปรับอากาศและระบบโซล่าร์เซลล์ โดยบนอาคารมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลผลิตไฟฟ้า เพื่อลดการพึ่งพาไฟฟ้าจากการไฟฟ้าลง ส่วนระบบะแสงสว่างและเครื่องปรับอากาศ จะใช้เซนเซอร์เข้ามาช่วย เมื่อมีคนเดินผ่านไฟฟ้าจะสว่างขึ้นอัตโนมัติ ส่วนเครื่องปรับอากาศจะทำงานเมื่อเซนเซอร์พบว่ามีคนอยู่จะปรับอุณหภูมิไปที่ 25 องศา แต่ถ้าคนออกไปจากห้องแล้วเครื่องปรับอากาศจะปรับอุณหภูมิสูงขึ้นหรือเปลี่ยนเป็นโหมดพัดลมแทน

สำหรับการทำงานนั้นวงจรระบบควบคุมแสงสว่างและควบคุมระบบปรับอากาศ ด้วยเทคโนโลยี C-BUS เริ่มจากคอมพิวเตอร์ตั้งค่าการควบคุมแล้วเชื่อมต่อสัญญาณผ่าน Intarfacen Unit ไปยัง  Control Panel ที่มีการรับไฟ AC ขนาด 220  Volt แล้วแปลงเป็น DC ขนาด 36 Volt เพื่อเป็นไฟเลี้ยงให้กับระบบควบคุม  ส่วนระบบควบคุมแสงนั้น เมื่อสัญญาณการปิดไฟจากสวิตซ์ หรือเซนเซอร์ป้อนเข้ามาจะถูกส่งไปยังรีเลย์เพื่อประมวลผลการทำงาน จากนั้นสัญญาณจะผ่าน DALI Galeway ไปยังหลอดไฟ ทำให้หลอดไฟสว่าง และการควบคุมระบบปรับอากาศ เมื่อมีสัญญาการเปิดเครื่องปรับอากาศจากเซนเซอร์ป้อนเข้ามาสัญญาณจะถูกส่งไปยัง Controller เพื่อประมวลผลการทำงานแล้วสั้งการให้เครื่องปรับอากาศทำงาน

ด้านรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม Good Atmosphere จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย นางสาวบุษราคัม รื่นเริง และ นายศิรสิทธิ์ ฟองจางวาง ซึ่งนำเสนอโครงการเรื่อง การศึกษารูปแบบการจัดเรียงสายป้อนในระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (A Study of Network Reconfiguration in Smart Grid System) โดยมี ดร. เนาวรัตน์ เทพหริรักษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา คว้าเงินสด 1.5 หมื่นลาท พร้อมโล่รางวัล

โดยโครงการดังกล่าวมุ่งเน้นการจัดเรียงสายป้อนไฟฟ้าใหม่เพื่อลดการสูญเสียไฟฟ้าในระบบ  โดยอาศัยหลักการของ Modified Particle Swarm Optimization หรือ MPSO  เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และประมวลผล ระบบจำหน่ายที่จำลองในโปรแกรม DigSILENT Power Factory ช่วยทำให้ค่าพลังงานไฟฟ้าสูญเสียลดลง 76%

สำหรับรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม EE49 จาก มหาลัยวิทยาลัยอุบลราชธานี ของ นายอภิวัฒน์ นามโคตร์ ซึ่งนำเสนอโครงการเรื่อง การออกแบบและสร้างอินเวอร์เตอร์สําหรับควบคุมมอเตอร์ในระบบเครื่องปรับอากาศ (Design and Implementation of Inverter for Motor Drive in Air Conditioning System) โดยมี  ดร.ประชา คำภักดี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา คว้าเงินสด 1 หมื่นบาทพร้อมโล่รางวัล

โดยโครงงานดังกล่าวเป็นการศึกษาถึงวิธีการแก้ไขปัญหาเรื่องอุณหภูมิความร้อนของอินเวอร์เตอร์ไดร์ฟเวอร์ขนาด 22 กิโลวัตต์ 35 แอมป์ โดยเปลี่ยนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังจากชนิดดิฟไอพีเอ็มเป็นชนิดไอจีบีทีโมดูล ซึ่งจะช่วยลดการระบายความร้อนของระบบลงได้ประมาณ 1-2 องศา ซึ่งทำให้การระบายควมร้อนดีขึ้นและช่วยลดการสูญเสียในระบบได้ ซึ่งสุดท้ายจะช่วยลดค่าไฟฟ้าและช่วยลดโลกร้อนได้

Advertisment