เสนอ 6 ข้อให้รัฐหนุนใช้โซลาร์เซลล์ ลดนำเข้า LNG ราคาแพงที่กระทบต้นทุนค่าไฟฟ้า

726
N4032
- Advertisment-

กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ส.อ.ท. เสนอ 6 ข้อให้รัฐหนุนโซลาร์เซลล์ เพื่อช่วยประเทศลดการนำเข้า Spot LNG​ ราคาแพงจนกระทบต่อต้นทุนค่าไฟฟ้า

นายวีระเดช เตชะไพบูลย์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)​ ซึ่งรับผิดชอบด้านพลังงานแสงอาทิตย์ เปิดเผยว่า ทางกลุ่มได้มีการประชุมหารือกันเมื่อเร็วๆนี้ ถึงแนวทางการช่วยภาครัฐลดการนำเข้า Spot LNG ที่มีราคาแพงจนส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าไฟฟ้าและเป็นภาระต่อประชาชนและภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์​(Co2)​โดยใช้ศักยภาพของโซลาร์เซลล์ ซึ่งมีข้อสรุป 6 ข้อดังนี้
1. ให้มีการรับซื้อไฟฟ้าที่เหลือใช้จากระบบโซลาร์เซลล์ของโรงงานทุกประเภทเข้าระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า อย่างถาวรโดยรับซื้อในราคาและระยะเวลาที่เหมาะสม

2. การยกเว้นใบอนุญาต​ รง.4 สำหรับโซลาร์เซลล์​ทุกประเภทและทุกขนาด เช่นเดียวกับไฟฟ้าจากพลังงานลม เพราะเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นควันหรือมลพิษทางอากาศใดๆ

- Advertisment -

3. แก้ไขข้อกำหนดใน ประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP) ของ กกพ.ในส่วนที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์​ส่วนรวม เช่น การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน หรือการกำหนดให้วัดคุณภาพอากาศ ทั้งนี้เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับโครงการโซลาร์เซลล์ขนาดเล็กกว่า 5 เมกะวัตต์

4. การขอใบอนุญาต​ต่างๆใช้เวลามากเกินปกติ เช่นที่ กกพ.ใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 เดือนเพราะต้องรอคิวประชุมบอร์ดและรอประธานลงนาม ดังนั้นใบอนุญาต​ต่างๆที่เกี่ยวข้องให้ปรับปรุงเป็น online หรือ digitalization เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายที่จะ de-regulation ที่รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานประกาศไว้

5. สำหรับโรงงานที่มี EIA อยู่แล้วไม่ต้องกำหนดให้ไปแก้ไขปรับปรุง EIA เดิม หากมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในโรงงาน เพราะไม่มีผลกระทบต่อ EIA เดิมแต่อย่างใด

6. เปลี่ยนข้อกำหนดกำลังผลิตติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ทุกประเภททั้งที่ติดตั้งอยู่เดิมและติดตั้งใหม่ ให้เป็นไปตามขนาดของ Inverter ตามข้อกำหนดด้านเทคนิคของผู้ผลิต ตามชนิดและรุ่นของ Inverter ที่อยู่ใน Approved list ของการไฟฟ้า จากปัจจุบันที่ยึดตามแผงโซลาร์เซลล์ ทำให้ที่ผ่านมาการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ไม่มีใครสามารถผลิตได้เต็มศักยภาพของกำลังผลิตติดตั้งที่ได้รับอนุมัติ เป็นการเสียโอกาสที่จะได้ใช้ไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำกว่า Spot LNG นำเข้าค่อนข้างมาก

นายวีระเดช กล่าวว่า ข้อเสนอทั้ง 6 ข้อส่วนใหญ่เป็นอำนาจของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ที่สามารถดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องให้รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานสั่งการ ซึ่งหากเร่งดำเนินการได้เร็วก็จะช่วยประเทศลดการนำเข้า LNG ราคาแพงที่สร้างภาระต่อต้นทุนค่าไฟฟ้าให้กับครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมได้ ประมาณ 5 บาทต่อหน่วย เมื่อเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์และโรงไฟฟ้าที่ใช้ Spot LNG นำเข้าเป็นเชื้อเพลิง

Advertisment