เพิ่มประสิทธิภาพให้กับความปลอดภัยของระบบ PV ด้วยนวัตกรรมเพื่อประเทศไทย

803
- Advertisment-

บทความโดย: เจมส์ ฮิกกิ้นส์ (James Higgins), SolarEdge

เจ้าของบ้านและธุรกิจต่าง ๆ เริ่มมีความสนใจที่จะติดตั้งระบบ PV มากขึ้นอันเนื่องมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยทั่วไปแล้วการติดตั้งระบบ PV เหล่านี้จะปลอดภัย แต่เราควรคำนึงถึงมาตรการความปลอดภัยในระหว่างที่ทำการออกแบบ ติดตั้ง และใช้งานด้วย

มาตรฐานและกฎระเบียบระดับโลกในปัจจุบันนี้กำลังช่วยปรับปรุงให้อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์มีระบบที่ปลอดภัยมากขึ้น แม้ว่าแต่ละประเทศจะต้องรับผิดชอบข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของ PV เฉพาะของตนเองและอาจแตกต่างกันไปตามภูมิภาค แต่กฎระเบียบต่างๆ ก็มีผลกระทบร่วมกันในการผลักดันให้มาตรฐานความปลอดภัยโดยรวมในอุตสาหกรรมเกิดความก้าวหน้า ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำด้านกฎระเบียบความปลอดภัยของระบบ PV ทั้งนี้ บทบัญญัติใน NEC 2017 หรือ NEC 2020 ฉบับใหม่ล่าสุดช่วยลดอันตรายจากไฟฟ้าดูดบนแผง PV โดยมีข้อกำหนดให้มีฟังก์ชันการปิดระบบเร่งด่วนในการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อป ในทำนองเดียวกันด้วย

ล่าสุดวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย “วสท.” ได้ประกาศใช้มาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงภาคบังคับในมาตรฐานการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ในประเทศไทยฉบับแก้ไข ด้วยกำหนดการชั่วคราวให้มีผลบังคับใช้ต้นปี 2565 ข้อกำหนดในการปิดระบบเร่งด่วนระบุให้ลดตัวนำไฟฟ้าที่มีการควบคุมเกิน 300 มม. ของแผง PV ลงเหลือ 30 โวลต์หรือน้อยกว่าภายใน 30 วินาที นอกจากนี้ ต้องลดแรงดันไฟฟ้าภายในขอบเขตของแผง PV ลงเหลือ 80 โวลต์หรือน้อยกว่าภายใน 30 วินาที บทบัญญัติเหล่านี้ช่วยให้ผู้ติดตั้ง เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุง และนักดับเพลิงสามารถเข้าถึงระบบและพื้นที่โดยรอบได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย

- Advertisment -

ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่กฎระเบียบใหม่เน้นย้ำคือ การตรวจสอบการลัดวงจรของอาร์ก มาตรฐานขั้นสูงเหล่านี้กำหนดให้ใช้งานฟังก์ชันการตรวจสอบอาร์กที่ถูกออกแบบให้ลดผลกระทบจากการลัดวงจรของอาร์ก ที่อยู่ภายใต้สภาวะบางอย่างซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะไฟไหม้ได้ ดังนั้น ตั้งแต่ต้นปี 2565 การติดตั้งโซลาร์บนดาดฟ้าใหม่ในประเทศไทยจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการลัดวงจรของอาร์ก (Arc Fault Circuit Interrupter (AFCI)) บนฝั่ง DC ของอินเวอร์เตอร์เพื่อเป็นมาตรการด้านความปลอดภัยในการป้องกันอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นจากการลัดวงจรของอาร์ก ทั้งนี้ จะต้องเปิดใช้งานกลไกการป้องกันนี้ภายใน 2.5 วินาทีหลังจากตรวจพบเหตุการณ์ วิธีนี้เป็นข้อกำหนดที่คล้ายกับมาตรฐาน UL1699B ของ UL ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเรียกร้องให้มีการตรวจสอบอาร์กเฉพาะเมื่อเกิดขึ้น

นอกจากความสำคัญในกฎระเบียบด้านความปลอดภัยแล้ว การเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยของระบบ PV รวมทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่กำหนดเกณฑ์มาตรฐานใหม่เพื่อความปลอดภัยในระดับที่สูงขึ้นก็มีความสำคัญมากเช่นกัน ในขณะที่อินเวอร์เตอร์แบบเดิมอาจให้โซลูชันด้านความปลอดภัยที่จำกัด ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่จะนำหน้าและเพิ่มประสิทธิภาพเกินมาตรฐานความปลอดภัยอีกด้วย ทั้งในเรื่องราคาที่คุ้มค่าและใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อินเวอร์เตอร์แบบเดิมมีฟังก์ชันด้านความปลอดภัยที่จำกัด เนื่องด้วยในขณะที่อินเวอร์เตอร์หยุดทำงาน กระแสไฟฟ้าในสายเคเบิล DC ไม่จำเป็นต้องถูกตัดกระแสไฟฟ้า ซึ่งหมายความว่าดาดฟ้าจะยังคงไม่ปลอดภัยสำหรับหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น ทั้งนี้ เพื่อให้อินเวอร์เตอร์แบบเดิมเหล่านี้ได้มีมาตรฐานความปลอดภัย โดยปกติแล้ว จำเป็นจะต้องซื้อและติดตั้งฮาร์ดแวร์เฉพาะด้านความปลอดภัยเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น เช่น อินเวอร์เตอร์ที่ปรับให้เหมาะกับ DC จะต้องใส่ฟังก์ชันความปลอดภัยที่เป็นไปตามกฎระเบียบในการลดแรงดันไฟฟ้า DC เมื่ออินเวอร์เตอร์หรือพลังงาน AC หยุดทำงานลงในตัวโซลูชั่นด้วย

ความก้าวหน้าด้านความปลอดภัยเหล่านี้มีประโยชน์ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ผู้ติดตั้ง PV สามารถทำงานด้วยความอุ่นใจ เนื่องจากคุณลักษณะด้านความปลอดภัยช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดไฟไหม้และเกิดประจุไฟฟ้าในช่วงระหว่างที่ติดตั้งและทดสอบระบบ PV ได้ นักดับเพลิงสามารถเข้าถึงดาดฟ้าได้โดยไม่ต้องเสี่ยงว่าจะโดนไฟฟ้าดูด เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงสามารถทำการตรวจสอบทางกายภาพบนระบบ PV ได้ เมื่อใส่เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยลงในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระดับโมดูลซึ่งมีการตรวจสอบระดับโมดูลด้วย ประโยชน์เพิ่มเติมที่เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงจะได้รับ คือ การสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาแบบทางไกลเพื่อจำกัดปริมาณงานที่มีไฟฟ้าแรงสูงบนดาดฟ้า ท้ายที่สุด เจ้าของระบบจะรู้สึกอุ่นใจและปรับปรุง ROI ได้ดีขึ้นอันเป็นผลมาจากเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยที่ใส่ลงในโซลูชันโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและมีอัตราการประกันภัยที่อาจลดลง

การใช้เทคโนโลยีของ SolarEdge ในประเทศไทยมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่เพียงแต่จะได้ตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่ขยายเพิ่มขึ้นของประเทศเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะองค์กรต่างๆ ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องป้องกันความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้สำหรับผู้ติดตั้ง PV, เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุง และนักดับเพลิง

บริษัท เอเวอรี่ เดนนิสสัน (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทด้านวัสดุศาสตร์ระดับโลกที่เชี่ยวชาญการออกแบบและผลิตวัสดุฉลากและวัสดุตามการใช้งานที่หลากหลาย ได้ติดตั้งโซลูชั่นอินเวอร์เตอร์ SolarEdge ที่ปรับให้เหมาะสมที่สุดบนดาดฟ้าของโรงงานในจังหวัดระยอง: “เอเวอรี่ เดนนิสสันต้องการมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่โดดเด่นโดยมีเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในมาตรฐานระดับโลกของ FM (FM Global Standards) ซึ่งเป็นแนวทางเชิงวิศวกรรมที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าสามารถลดโอกาสที่ทรัพย์สินจะสูญเสียอันเนื่องมาจากอัคคีภัย สภาพอากาศ อุปกรณ์ไฟฟ้า และ เครื่องกลล้มเหลวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราออกแบบระบบที่ช่วยให้เราสามารถแยกการลัดวงจรออกมาและตัดไฟฟ้าของแผง PV ที่ระดับโมดูล ซึ่งอินเวอร์เตอร์สตริงแบบเดิมไม่สามารถทำได้” นายโจส หลุยส์ มาร์ติน (Mr. Jose Luis Martin) กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีเนอร์กรีน เอเชีย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ติดตั้ง SolarEdge ให้กับบริษัท เอเวอรี่ เดนนิสสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

แม้ว่าอัคคีภัยที่เกี่ยวข้องกับระบบ PV จะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่อัคคีภัยที่เกิดจากระบบ PV จะเกิดขึ้นบ่อยน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ฟังก์ชันด้านความปลอดภัยที่ก้าวหน้าเพิ่มเติมภายในอุตสาหกรรมมีความสำคัญต่อการเพิ่มจำนวน PV อย่างต่อเนื่อง ขณะที่หน่วยงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการเขียนมาตรฐานใหม่ แต่ SolarEdge ยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนาโซลูชันด้านความปลอดภัยขั้นสูงมากขึ้น การผสานรวมกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไปเข้ากับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีตลอดจนการตระหนักรู้ของผู้บริโภคยังคงผลักดันให้ความปลอดภัยมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่นความปลอดภัย ของ SolarEdge เพื่อปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับด้านมาตรฐานความปลอดภัย PV ใหม่ของประเทศไทยได้ที่นี่


Advertisment