สนพ.เตรียมแผนหนุน เทคโนโลยีไมโครกริด, โปรซูเมอร์ และระบบกักเก็บพลังงาน ที่ลงทุนพัฒนาในประเทศ

1447
- Advertisment-

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เดินหน้ารับฟังความเห็น ( Focus Group )​ เฟ้นเทคโนโลยี ด้านไมโครกริดและโปรซูเมอร์ รวมถึงระบบกักเก็บพลังงาน ที่จะช่วยลดการนำเข้า และเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและจ้างงานในประเทศภายใน 5 ปี

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน ( Energy News Center-ENC ) รายงานว่า ในวันที่ 29 มิ.ย. 2564 ซึ่งเป็นวันที่ 2 ในการเปิดรับฟังความเห็นกลุ่มย่อย ( Focus Group )ในโครงการแผนพัฒนางานวิจัยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการผลิตเทคโนโลยีด้านสมาร์ทกริดในประเทศไทย” ตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทยระยะปานกลาง ช่วงปี 2565-2574 ระหว่าง 28-29 มิ.ย. 2564 ผ่านทางการประชุม Zoom Meeting ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดำเนินการนั้น

ได้มีการแบ่งหัวข้อรับฟังความเห็น เกี่ยวกับการคัดเลือกเทคโนโลยี 4 ด้านคือ 1.ไมโครกริดและโปรซูเมอร์ ( Microgrid and Prosumer ) และ2.ระบบกักเก็บพลังงาน ( Energy Storage System ) 3.ระบบกักเก็บพลังงาน ( Energy Storage System ) และการบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้า ( EV Integration ) และ4.แผนอำนวยการสนับสนุน สำหรับนำไปจัดทำ Road Map เพื่อส่งเสริมการผลิตเทคโนโลยีขึ้นมาเองในประเทศภายใน 5 ปี ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เกิดการพึ่งพาตัวเองมากขึ้น และก่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ พัฒนาบุคลากรในประเทศ และส่งเสริมไปถึงการส่งออกเทคโนโลยีในอนาคตต่อไป

- Advertisment -

อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ( Smart Grid ) ตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทยระยะปานกลาง ช่วงปี 2565-2574 จะต้องเลือกเทคโนโลยีสมาร์ทกริดที่เหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายเทคโนโลยี ดังนั้นสถาบันวิจัยฯ จึงได้ศึกษาและคัดเลือกเทคโนโลยีหลักที่สามารถนำมาใช้กับประเทศไทยได้ และนำมาจัดทำ Focus Group เพื่อรับฟังความเห็นและร่วมกันคัดเลือกเทคโนโลยีสมาร์ทกริดในแต่ละด้าน โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ด้านนโยบายรัฐ เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี

จากนั้นสถาบันวิจัยฯ จะรวบรวมข้อมูลและจัดทำเป็นRoad Map เทคโนโลยีสมาร์ทกริดของประเทศสำหรับพัฒนาขึ้นภายใน 5 ปี ซึ่งจะทำให้ทราบว่าไทยจะต้องมีการพัฒนาบุคลากรไปในด้านใด รวมถึงผู้ประกอบการ,หน่วยงานทั้ง 3 การไฟฟ้า (กฟผ. กฟน. กฟภ.)​,ผู้บริโภคและตลาด ต้องเตรียมความพร้อมอย่างไร ขณะที่ภาครัฐจะต้องมีความชัดเจนในข้อมูลว่าควรให้การสนับสนุนวิจัยเสริมสร้างเทคโนโลยีในด้านใดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสุดท้ายจะเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนทั่วไปอีกครั้งต่อไป

สำหรับเทคโนโลยีแต่ละด้านที่สถาบันวิจัยฯเลือกมา จะมีการรับฟังความเห็นและคัดเลือกให้เหลือเพียง 2-3 เทคโนโลยีในแต่ละเสาหลักของระบบสมาร์ทกริด โดยเทคโนโลยีหลักของไมโครกริดและโปรซูเมอร์ ที่เปิดรับฟังความเห็นเพื่อจัดลำดับความสำคัญของเทคโนโลยี มี 5 ด้านได้แก่
1.Microgrid Energy Management System
2.Energy Trading Platform
3.Power Conversion System
4.Microgrid Controller
5.Utility Interconnection

ส่วนเทคโนโลยีด้านระบบกักเก็บพลังงาน ( Energy Storage System ) ที่นำมารับฟังความเห็นมี 5 ด้าน ได้แก่
1.Energy Management (เทคนิคการลดความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุด หรือ Peak shaving, Energy Shifting)
2.Hybrid Generation with VRE
3.Lithium-ion Battery
4.Solid-state Battery

  1. Fuel Cell

ด้านระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) และการบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้า (EV Integration) เปิดรับฟังความเห็น 5 เทคโนโลยี ได้แก่
1.Vehicle-to-Everything (V2X)
2.การอัดประจุไฟฟ้า ( Smart Charging )
3.อุปกรณ์อัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า ( Charging Equipment )
4.แพลตฟอร์มยานยนต์ไฟฟ้า (EV Platform ) / มาตรฐานการสื่อสาร ( Protocol )

  1. ระบบจัดการข้อมูลยานยนต์ไฟฟ้า ( EV Data Mamagement )

ส่วนแผนอำนวยการสนับสนุน มี 5 ด้าน ได้แก่

  1. Smart Inverter
  2. ฟังก์ชันการทำงานทั่วไปของมิเตอร์อัจฉริยะ ( Smart Meter )/ AMI
  3. Cloud-based Platform
  4. Cyber Security
  5. loT Devices

สำหรับ 5 เสาหลักของแผนสมาร์ทกริดไทย ได้แก่ 1.การตอบสนองด้านความต้องการใช้ไฟฟ้าและระบบบริหารจัดการพลังงงาน ( Demand Response and Energy Management System ) 2.ระบบพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน ( Renewable Energy Forecast ) 3.ไมโครกริดและโปรซูเมอร์ (Microgrid and Prosumer) 4.ระบบกักเก็บพลังงาน ( Energy Storage System ) และ การบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้า (EV Integration ) และ5.แผนอำนวยการสนับสนุน

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2564 สถาบันวิจัยฯ ได้เปิดรับฟังความเห็นใน 2 ส่วนเสาหลักไปแล้ว คือ 1. การตอบสนองด้านความต้องการใช้ไฟฟ้าและระบบบริหารจัดการพลังงาน ( Demand Response and Energy Management System หรือ DR and EMS ) 2.ระบบพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน ( Renewable Energy Forecast หรือ RE Forecast )

Advertisment