รถยนต์ไฟฟ้าเพื่อคนไทย กับฝันไม่ไกลเกินเอื้อม ด้วยงบไม่เกิน 200,000 บาท

4159
- Advertisment-

บทความประชาสัมพันธ์

ยานยนต์ไฟฟ้ากำลังเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง และกำลังค่อยๆ เข้ามาแทนที่ยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในต่างประเทศ ที่คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เพราะนอกจากไม่ปล่อยมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงลงด้วย

สำหรับในประเทศไทย รถยนต์ไฟฟ้ายังมีราคาค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ทั่วไป การจะออกรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่จึงยังคงไม่ได้รับความนิยมมากนัก เพราะต้องนำเข้าและต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

เพื่อให้คนไทยได้เข้าถึง และเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าได้ในราคาสบายกระเป๋า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมกันทำ “โครงการวิจัยพัฒนาชุดประกอบรถไฟฟ้าดัดแปลงและคู่มือการดัดแปลง (EV Kit & Blueprint Project)” ขึ้น โดยมีเป้าหมายที่ต้องการให้คนไทยสามารถดัดแปลงรถยนต์คันเก่าให้กลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้าได้ ในต้นทุนไม่เกินคันละ 200,000 บาท (ไม่รวมแบตเตอรี่) ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่อย่างแน่นอน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ใช้รถคู่ใจคันเดิม และช่วยลดมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ได้อีกด้วย

- Advertisment -

กฟผ. และ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช. ได้ริเริ่มโครงการวิจัยชุดรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงนี้ มาตั้งแต่ปี 2553 โดยในระยะที่ 1 ได้มีการดัดแปลงรถยนต์เดิมให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า โดยการซื้ออุปกรณ์ภายในรถยนต์ไฟฟ้ามาจากต่างประเทศ และนำมาประกอบเพื่อดูการทำงานของรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง

ในปัจจุบัน อยู่ในระหว่างการดำเนินงานโครงการวิจัยฯ ในระยะที่ 2 ที่ทีมวิจัยได้เลือกใช้อุปกรณ์ที่หาได้ในประเทศที่มีราคาถูก เข้าถึงได้ง่าย และนำมาดัดแปลงใช้ในรถยนต์ขนาดกลางที่ได้รับความนิยมในท้องตลาด เพื่อให้คนจำนวนมากเข้าถึงโอกาสในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้แพร่หลาย อย่างรถยนต์ Nissan Almera หรือ i-EV ที่ได้มีการส่งมอบให้ กฟผ. เพื่อทดลองใช้งานจริงเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถใช้งานได้ถึง 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง

“ผมได้ทดลองขับแล้ว ให้ความรู้สึกเหมือนขับรถยนต์ปกติเลย ถ้าไม่ได้บอกมาก่อน คือ แทบไม่รู้เลยว่าขับรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ นายสาธิต ครองสัตย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กฟผ. พูดถึงผลที่น่าพอใจในการวิจัย

สำหรับการดำเนินงานในระยะที่ 2 มีการส่งมอบ Nissan Almera เพิ่มเติมอีก 1 คัน ในเดือนเมษายน ขณะที่ ภายในสิ้นปี 2562 จะมีการส่งมอบรถยนต์ Toyota Altis อีกจำนวน 2 คัน พร้อมกับชุด EV Kit จำนวน 4 ชุด หลังจากนั้น จะมีการต่อยอดองค์ความรู้ในการวิจัยระยะที่ 3

สำหรับในปี 2563 ซึ่งเป็นระยะที่ 3 และระยะสุดท้ายของการวิจัยและพัฒนา กฟผ. ตั้งเป้าถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมมีคู่มือการดัดแปลงรถยนต์ไฟฟ้า (EV Kit) จำนวน 3 ชุด ให้กับผู้ประกอบการอู่รถยนต์ที่มีศักยภาพ เพื่อนำไปทดลองเปลี่ยนรถยนต์คันเดิมให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง เพื่อเก็บข้อมูลและปรับปรุงก่อนการขยายผลในเชิงพาณิชย์ ให้มีระดับราคาที่ประชาชนเป็นเจ้าของได้ ที่ไม่เกิน 200,000 บาทเท่านั้น

ไม่เพียงแต่การวิจัยเพื่อให้คนไทยมีรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงไว้ใช้งานในอนาคตอันใกล้แล้ว เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กฟผ. ยังได้ติดตั้งสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่ กฟผ. สำนักงานกลาง และโรงไฟฟ้าของ กฟผ. จำนวน 23 สถานี เพื่อส่งเสริมให้คนไทยสามารถเข้าถึงยานยนต์ไฟฟ้าในวงกว้าง ตามวิสัยทัศน์การก้าวเข้าสู่ปีที่ 50 ของ กฟผ. ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 ที่ว่า ‘นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิตที่ดีกว่า’

นอกจากนี้ กฟผ. ไม่เพียงแต่เพื่อมอบแสงสว่าง ความสะดวกสบาย และความสุขให้กับคนไทยมาตลอด 50 ปี เพื่อส่งความสุขอย่างต่อเนื่อง กฟผ. ได้ออกสติกเกอร์ ENGY ชุดใหม่ ในชื่อชุด ‘Let’s celebrate 50th anniversary of EGAT’ ดาวน์โหลดได้แล้วจากลิงก์ https://line.me/S/sticker/14343 ตั้งแต่ วันนี้ – 29 พฤษภาคม 2562

Advertisment