“พีระพันธุ์”เสนอปรับแนวทางเจรจา OCA ไทย-กัมพูชา

477
- Advertisment-

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เสนอปรับแนวทางการเจรจาพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา หรือ Overlapping Claims Area – OCA  ตามกรอบ เอ็มโอยู 2544 โดยยืนยันเป็นเรื่องที่กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญเพราะเป็นนโยบายรัฐบาล

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ตอบคำถามผู้สื่อข่าวสั้นๆ ถึงความคืบหน้าในการหาข้อยุติปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา หรือ Overlapping Claims Area – OCA ว่า กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญในเรื่องนี้เนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐบาล แต่เท่าที่ได้ดูข้อมูลเห็นว่าควรจะต้องมีการปรับแนวทางการเจรจาและแนวทางการดำเนินการกันใหม่ถ้าจะให้ประสบความสำเร็จ

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน ( Energy  News  Center -ENC ) รายงานว่า เรื่องการเร่งรัดเจรจาเพื่อให้ได้ข้อยุติในปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา เป็นนโยบายรัฐบาลที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา และในวันที่ 28 กันยายน นายกรัฐมนตรีของไทยและคณะได้เดินทางไปเยือนประเทศกัมพูชา อย่างเป็นทางการ เป็นประเทศแรกในอาเซียน เพื่อหารือกับสมเด็จมหาบวรธิบดี ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ซึ่งนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศเห็นพ้องกันว่า เป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่จะ “เปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์” ของ 2 ประเทศ  แต่ยังไม่ได้มีการหยิบยกเรื่อง OCA มาคุยกันบนโต๊ะเจรจา

- Advertisment -

ทั้งนี้ในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ที่ลงนามโดย ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย กับนาย ซก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ในปี 2544 หรือที่เรียกว่า เอ็มโอยู 2544 มีประเด็นที่ทำให้เกิดความล่าช้า และยากต่อการหาข้อยุติ เนื่องจาก มีการกำหนดให้พื้นที่ส่วนที่จะแบ่งเส้นเขตแดนทางทะเล  และ พื้นที่ที่จะพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียมร่วมกัน จะต้องดำเนินการทำข้อตกลงรวมไปด้วยกันไม่สามารถแบ่งแยกได้ ( Indivisible package )  

โดยพื้นที่ส่วนที่ตกลงแบ่งเส้นเขตแดนทางทะเล ซึ่งมีประมาณ 10,000 ตารางกิโลเมตรนั้น  ทางฝ่ายกัมพูชา ลากเส้นล้ำเข้ามาโดยไม่ได้อิงหลักสากลตามอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 (UNCLOS) ที่ไทยเป็นภาคี   ทำให้เมื่อตกลงในส่วนแรกไม่ได้ ก็จะไม่สามารถตกลงในส่วนของพื้นที่พัฒนาร่วมได้  ตามที่ระบุในเอ็มโอยู

Advertisment