พลังงานลมในไทยยังพอไปได้ แนะศึกษาศักยภาพที่ความสูงมากกว่า 100 เมตร

42129
- Advertisment-

เวทีสัมมนาในการประชุม The Future Energy Show Thailand 2019 เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการนำเสนอประเด็นทิศทางการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในประเทศไทย ซึ่งพบว่ายังมีข้อจำกัดเรื่องศักยภาพของความเร็วลม รวมถึงปัญหาที่ดินที่ใช้เป็นสถานที่ติดตั้งกังหันลม ทำให้ปัจจุบันยังไม่สามารถส่งเสริมให้เป็นพลังงานหลักของประเทศได้ อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอแนะให้ศึกษาศักยภาพลมในระดับความสูงมากกว่า 100 เมตรขึ้นไป เพื่อแสวงหาโอกาสในการผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น

ในการสัมมนาดังกล่าว ได้มีการนำเสนอหัวข้อ “Thailand Wind Energy Industry – The Outlook” โดยผู้เชี่ยวชาญจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อฉายภาพสถานการณ์และทิศทางการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในประเทศไทย ซึ่งสรุปได้ว่า พื้นที่ที่พอจะมีศักยภาพสำหรับพลังงานลมในประเทศไทย ส่วนใหญ่ 86% อยู่ในภาคอีสาน อย่างไรก็ตาม การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมของไทยยังมีปัญหาในเรื่องที่ดิน (เนื่องจากพื้นที่ที่ใช้ติดตั้งกังหันลมส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่สูงอยู่บนภูเขา ซึ่งอาจเป็นที่ดินในเขต ... ที่จัดสรรให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์ หรือ ที่ดินในเขตป่าสงวน ที่ต้องมีขั้นตอนในการขออนุญาตก่อน) อีกทั้งการติดตั้งกังหันลม จะต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ที่ชาวบ้านต้องให้ความยินยอมก่อน เพราะจะมีปัญหาด้านเสียงดังจากใบพัดของกังหันลม

นอกจากนั้น ความเร็วลมที่ผลิตไฟฟ้าได้ในไทยมีจำกัด โดยที่ผ่านมาพบว่าศักยภาพลมของไทยอยู่ที่ระดับความสูงไม่มากนัก คือ ประมาณ 40 เมตรและ 90 เมตร ซึ่งมีศักยภาพผลิตไฟฟ้าได้เพียง 20% ต่อปีของกำลังการติดตั้ง รวมทั้งปริมาณการผลิตไฟฟ้าก็ยังไม่เสถียร เพราะต้องขึ้นอยู่กับสภาพลมในแต่ละวันด้วย ที่สำคัญปัจจุบันไทยยังไม่สามารถผลิตอุปกรณ์กังหันลมได้เอง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมา ทำให้ไทยยังไม่สามารถส่งเสริมพลังงานลม ให้เป็นพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้าได้

- Advertisment -

อย่างไรก็ตาม หากจะผลักดันการเติบโตของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนั้น อาจต้องอาศัยภาคเอกชนให้นำข้อมูลในปัจจุบันไปปรับปรุงและศึกษาการติดตั้งกังหันลมในระดับความสูงมากกว่า 100 เมตร เพื่อวัดระดับความเร็วลมในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งอาจมีโอกาสผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น เป็นต้น รวมทั้งภาครัฐยังต้องศึกษาการติดตั้งกังหันลมในทะเลด้วยว่า จะมีความเร็วลมที่สูงกว่าบนบกหรือไม่ เพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น จากปัจจุบันไทยมีเพียงกังหันลมบนบกเท่านั้น    

ทั้งนี้ ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ..2561-2580 ประเทศไทยกำหนดเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมไว้รวม 3,000 เมกะวัตต์ เมื่อสิ้นสุดแผนในปี 2580  โดยปัจจุบันมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมเข้าระบบ (COD) แล้ว รวมทั้งสิ้น 1,421 เมกะวัตต์ อย่างไรก็ตาม ภาครัฐจะไม่มีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานลมเข้าสู่ระบบตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ.. 2561-2580 หรือ PDP2018 ยกเว้นแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงแผน PDP ในอนาคต

และแม้ว่าภาครัฐจะยังไม่รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานลม เอกชนก็ยังสามารถดำเนินการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมเพื่อใช้กันเองได้ แต่ช่วงนี้การติดตั้งยังไม่เพิ่มมากนัก เนื่องจากภาคเอกชนยังรอพิจารณาผลรับรู้รายได้จากการติดตั้งกังหันลมที่ผ่านมา ซึ่งตามปกติการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าจะใช้เวลาคืนทุนประมาณ 10 ปี

สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานลม ของ  กฟผ. ปัจจุบันมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมประมาณ 26 เมกะวัตต์ โดยมีกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่สำคัญ 2 แห่ง ได้แก่  กังหันลมแหลมพรหมเทพ . ภูเก็ต กำลังผลิต 0.19235 เมกะวัตต์  และกังหันลมลำตะคอง . นครราชสีมา กำลังผลิต 2.50 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ กฟผ. ยังมีโครงการโรงไฟฟ้ากังหันลมลำตะคองระยะที่ 2 รวมกำลังการผลิต 24 เมกะวัตต์ โดยโครงการดังกล่าวจะใช้กับ Wind Hydrogen Hybrid System ควบคู่กับเซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งไทยจะเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ใช้เทคโนโลยีนี้ในการเก็บและผลิตไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยให้กักเก็บไฟฟ้า และจ่ายไฟฟ้าอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น

Advertisment