ตั้ง “ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารความมั่นคงด้านปิโตรเลียม” บูรณาการฐานข้อมูลด้านพลังงานตามมาตรฐานสากล

646
- Advertisment-

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จัดตั้ง “ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารความมั่นคงด้านปิโตรเลียม” หวังบูรณาการระบบฐานข้อมูลด้านพลังงานให้ได้มาตรฐานสากลเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว อยู่ภายใต้แผนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วหรือ “Disruptive Technology” ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ (National Energy Information Center : NEIC) โดย กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้รับมอบหมายจากกระทรวงพลังงาน ให้เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเป็นศูนย์กลางรวบรวมและจัดทำระบบข้อมูลและสารสนเทศด้านพลังงานของประเทศ ให้ได้มาตรฐานระดับสากล และมีความน่าเชื่อถือกับผู้ใช้ทุกกลุ่มในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้อง

โดยข้อมูล ที่จะมีการจัดรวบรวมอย่างเป็นระบบและนำไปใช้ประโยชน์ต่อการวางแผนและกำหนดนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ
-​ข้อมูลแปลงสัมปทานปิโตรเลียม
-ข้อมูลน้ำมัน
-ปริมาณสำรองที่สำรวจแล้วต่อปริมาณการผลิต ปิโตรเลียม
-ข้อมูลการพัฒนาแหล่งน้ำมันดิบ
-ข้อมูลการผลิตและสำรวจปิโตรเลียม
-ข้อมูลก๊าซธรรมชาติ
-ข้อมูลก๊าซธรรมชาติเหลว -ข้อมูลถ่านหิน
-ข้อมูลพลังงานนิวเคลียร์
-​ข้อมูลพลังงานทดแทน -ข้อมูลพลังงานกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (การเผาก๊าซ) หรือ flaring
ข้อมูลด้าน de-commissioning เพื่อกำหนดแนวทางการจัดทำ asset management
-ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
(Greenhouse Gas Emission: GHG Emission)

- Advertisment -

ตัวอย่างข้อมูลจาก “ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารความมั่นคงด้านปิโตรเลียม “

ทั้งนี้ การรวบรวมฐานข้อมูลต่างๆ อย่างเป็นระบบ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนบริหารจัดการพลังงานของประเทศ ทั้งช่วยสนับสนุนภารกิจ ด้านการจัดหาพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการ การเสริมสร้างความมั่นคงและสร้างมูลค่าเพิ่มด้านพลังงานของประเทศ ภารกิจด้านการกำกับดูแลกิจการพลังงานและราคาพลังงาน ตลอดจนการพัฒนาพลังงานให้มีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ที่ผ่านมา กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้เริ่มสร้างฐานข้อมูลโดยใช้หลักสถิติ ตั้งแต่ปี 2559-2560 รวมทั้งพัฒนาระบบการรายงานข้อมูลแบบ Near Real Time พร้อมกำหนดมาตรฐานการจัดการข้อมูลการบริหารความมั่นคงพลังงานปิโตรเลียมของประเทศ รวมถึงพัฒนา Mobile Application ที่ แอพพลิเคชั่นในชื่อ DMF ที่เปิดกว้างให้ผู้สนใจเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในด้านเชื้อเพลิง รวมถึงอัพเดทข้อมูลข่าวสารด้านพลังงาน อยู่แล้ว

โดยการพัฒนาให้เป็น “ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารความมั่นคงด้านปิโตรเลียม” จะช่วย สนับสนุนข้อมูลที่มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งในส่วน ข้อมูลก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ผ่านระบบ TPA code ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ ERC รวมทั้งการพัฒนา มาตรฐานความปลอดภัยทางด้าน cyber data security เพื่อป้องกันข้อมูลด้านความมั่นคงเชื้อเพลิง ที่จะทำให้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ สามารถบริหารความมั่นคงด้านปิโตรเลียม อย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล

Advertisment