ค้นพบคำตอบความคุ้มค่าการลงทุนระบบโซลาร์เซลล์ ในงาน Solar+Storage Asia 2022

1544
- Advertisment-

ปัญหาสภาวะโลกร้อนจากการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล และประเด็นค่าไฟฟ้าที่กำลังสร้างภาระค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน อาจจะมีทางออกที่ดี หากเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน ( Energy Storage System : ESS) ที่ใช้ควบคู่กันกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์โดยการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ สามารถพัฒนาให้มีต้นทุนที่ต่ำลงและมีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

เพราะความสำคัญของเทคโนโลยีระบบโซลาร์เซลล์และระบบกักเก็บพลังงาน หรือ เรียกง่ายๆ ในที่นี้ว่า Solar + Energy Storage เป็นกุญแจสำคัญที่จะเปลี่ยนแนวทางการใช้พลังงานในอนาคต มาสู่การใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น โดยลดหรือเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน น้อยลง ขณะที่ระบบกักเก็บพลังงานที่มีประสิทธิภาพจะส่งเสริมให้ระบบการผลิตและการส่งกระแสไฟฟ้ามีความเสถียร และมีความมั่นคงทางพลังงานมากขึ้น

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ควบคู่กับระบบกักเก็บพลังงาน หรือ Energy Storage  ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าเวลากลางคืนหรือช่วงที่ไม่มีแสงแดดจะไม่มีไฟฟ้าใช้ เพราะระบบกักเก็บพลังงานมีคุณสมบัติที่สามารถกักเก็บและเพิ่มคุณภาพพลังงานก่อนปล่อยออกมา จึงช่วยกระจายพลังงานให้เหมาะกับความต้องการ และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าออกมาทดแทนได้หลายชั่วโมง ตามแต่ประสิทธิภาพ​และเทคโนโลยีของแต่ละระบบ

- Advertisment -

การพัฒนาระบบ Energy Storage อย่างต่อเนื่องนี้ ส่งผลให้เกิดอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมระบบการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ เพิ่มมากขึ้นถึง 50% ภายในปี 2567 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายพลังงานของประเทศไทยและในระดับสากล ที่มุ่งส่งเสริมให้ใช้พลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากภาวะเรือนกระจก

เครดิตภาพประกอบจากเว็บไซต์​
https://www.enlit-asia.com/grids/highlighting-the-potential-of-energy-storage-in-asean/

ขณะที่ประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการติดตั้งกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ภายใต้แผนพลังงานแห่งชาติมาตลอดอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตถึง 5 เท่าภายในปี 2580 ถือเป็นกำลังการผลิตที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ปัจจุบันมีตัวเลขการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ที่  345 เมกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วน 43.4% ของพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด และตามแผนนโยบายพลังงาน 20 ปีของกระทรวงพลังงาน จะมีเป้าหมายการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งหมดจำนวน 20 กิกะวัตต์ โดยมีพลังงานจากแสงอาทิตย์คิดเป็นสัดส่วนถึง 45%

ประเด็นที่น่าสนใจ คือ คำถามที่หลายๆ คนยังไม่แน่ใจ คือ หากธุรกิจหรือบ้านพักอาศัย ต้องการลงทุนติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์​เพื่อผลิตไฟฟ้า และมีระบบ Energy​ Storage​ กักเก็บพลังงานสำรองเอาไว้ใช้ในเวลากลางคืนหรือเวลาไม่มีแสงแดดนั้น จะช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าลงได้มากน้อยเพียงใด และมีความคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่?

เป็นจังหวะดี ที่เร็วๆ นี้ จะมีงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ Solar+Storage Asia 2022 ระหว่างวันที่ 20-22 กันยายน 2565  ณ ศูนย์ประชุมและนิทรรศการไบเทค บางนา ที่จัดพร้อมกันกับงานพลังงานระดับเอเชียอีก 2 งานคืองาน SETA 2022 (Sustainable Energy Technology Asia 2022) และงาน Enlit-Asia 2022  โดย Solar+Storage Asia 2022 ถือเป็นความพยายาม​ที่จะสร้างเวทีกลางให้บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าและบริษัทเจ้าของเทคโนโลยีด้านระบบ Energy Storage กว่า 400 บริษัทจากทั่วโลก มาพบกับผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ผู้ใช้สามารถหาคำตอบได้ด้วยตัวเองว่าการลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์​เพื่อผลิตไฟฟ้า บวกเข้ากับระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน นั้น มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนแล้วหรือไม่? และยังมีอะไรที่เป็นประเด็น​ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์นี้?

และแน่นอนว่าเมื่อคำนวณตัวเลขออกมาชัดว่ามีความคุ้มค่าที่จะลงทุน ก็สามารถที่จะตัดสินใจเลือกซัพพลายเออร์ที่มาร่วมออกบูธแสดงอยู่ในงานนี้ได้ทันที

โดยหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการจัดงาน คือ ต้องการให้ผู้เข้าร่วมชมงาน ที่คาดว่าจะมีรวมทั้งสิ้นประมาณ 30,000 คน ได้พบกับผู้ขายผลิตภัณฑ์และผู้ติดตั้งระบบโซลาร์ เพื่อศึกษาระบบและหาคำตอบความคุ้มค่าของการลงทุน รวมทั้งได้รับความรู้จากการเข้า workshop การติดตั้งระบบโซลาร์จากผู้ขายโดยตรงอีกด้วย

ซึ่งสิ่งที่จะเกิดขึ้นภายในงานเทรดแฟร์ครั้งนี้ ซึ่งจัดโดย บริษัท แกท อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ถือว่าตอบโจทย์ทิศทาง​ของแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) และแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP2018 ที่มีการปรับปรุงใหม่ ซึ่งเน้นเรื่องการส่งเสริมพลังงานสะอาด และมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุของการเกิดสภาวะโลกร้อนที่ทั่วโลกมีความกังวลและกำลังร่วมมือกันเพื่อรักษาโลกใบนี้ให้คงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน

Advertisment