กลุ่มมิตรผล จับมือ กฟผ. วิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ด้านพลังงานหมุนเวียน

533
- Advertisment-

กลุ่มมิตรผล จับมือ กฟผ. ลงนามความเข้าใจสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้แห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยี ด้านพลังงานหมุนเวียน มุ่งใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคง ยั่งยืน ทั้งยังร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดปัญหา PM 2.5 และลดการเผาไหม้ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน

นายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการบริษัท และประธานกรรมการบริหาร กลุ่มมิตรผล และนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้แห่งนวัตกรรม ด้านพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด ประเภทชีวมวล และอื่น ๆ สู่การเติบโตอย่างมั่นคง ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้บริหารของทั้ง 2 หน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องสุขุมวิท วิว ชั้น 3 โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. เปิดเผยว่า กฟผ. และ กลุ่มมิตรผล มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันมาอย่างยาวนาน ได้ร่วมกันนำจุดแข็งของทั้ง 2 องค์กรมาร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีมาโดยตลอด ซึ่งหลายแนวคิดของกลุ่มมิตรผลเป็นแนวคิดที่เป็นแบบอย่างที่ดี เช่น การใช้ Circular Economy ในองค์กร นำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สุงสุด สำหรับ กฟผ. มีความรู้และประสบการณ์ในด้านดูแลบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า ได้นำองค์ความรู้ของ กฟผ. มาศึกษา วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์หม้อน้ำในโรงไฟฟ้าชีวมวลของกลุ่มมิตรผล ให้สามารถรองรับการใช้ใบอ้อยเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าได้ นอกจากนั้น ทั้ง กฟผ. และ กลุ่มมิตรผล ยังได้ร่วมมือกันสนับสนุนงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาด และระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น โครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำ (Floating Solar) ระหว่าง EGATi (บริษัทในเครือ กฟผ.) และ กลุ่มมิตรผล อีกทั้งยังได้ร่วมกันพัฒนาลีโอนาไดต์และยิปซั่มสังเคราะห์ซึ่งเป็นวัตถุพลอยได้ของ กฟผ.แม่เมาะ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย

- Advertisment -

ด้านนายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการบริษัท และประธานกรรมการบริหาร กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า กลุ่มมิตรผลได้ดำเนินธุรกิจบนเส้นทางอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาล และชีวพลังงาน โดยมุ่งมั่นพัฒนาต่อยอดคุณค่าจากอ้อย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทุกกระบวนการผลิต นำไปสู่การต่อยอดธุรกิจ กว่าจะมาถึงวันนี้ กฟผ. และ กลุ่มมิตรผล ใช้เวลาทำงานร่วมกันมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า การทำโรงไฟฟ้าชีวมวลโดยใช้เชื้อเพลิงชานอ้อย จนกระทั่งสามารถนำใบอ้อยซึ่งเป็นสิ่งเหลือทิ้งด้านการเกษตรที่มีจำนวนมากในแต่ละปี มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าได้ โดยได้รับความร่วมมือด้านองค์ความรู้จาก กฟผ. ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้ให้เกษตรกรแล้วยังช่วยลดการเผาไหม้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน และลดปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ได้อีกด้วย

Advertisment