กลุ่ม ปตท.เผยมีกระแสเงินสดกวา3.9แสนล้านบาท พร้อมสำหรับการลงทุนตามนโยบายรัฐบาลที่ให้ผลตอบแทนที่ดี โดย มุ่งเน้นแนวทางการบริหารจัดการความยั่งยืนกลุ่ม ปตท. ตามหลัก 3P โดยให้ความสำคัญ 3 ด้านอย่างสมดุล ได้แก่ People การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ชุมชน และสังคม Planet การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ Profit การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) เป็นตัวกำหนดทิศทางเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระดับสากล
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมกาผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เมื่อวันที่15สิงหาคม 2561 ว่า ปัจจุบันกลุ่ม ปตท.มีกระแสเงินสดรวมประมาณ 3.9 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) หรือ PTTEP จำนวนกว่า 1 แสนล้านบาท และในส่วนของ ปตท.เกือบ 1 แสนล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นของบริษัทในกลุ่มปตท. โดยกระแสเงินสดดังกล่าวถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนโครงการต่างๆ ในอนาคต ที่สามารถตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาลได้ ซึ่ง ปตท.ได้มองโอกาสการลงทุนใหม่ๆ เอาไว้หลายโครงการ
ทั้งนี้ ในฐานะที่ปตท.มีฐานะเป็นทั้งรัฐวิสาหกิจ และบริษัทมหาชน ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม ปตท.มองถึงการลงทุนในอนาคต ไว้ว่า จะต้องเป็นการลงทุนที่มีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ เศรษฐกิจชุมชน และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษ(EEC) รวมทั้งเป็นโครงการที่ให้ผลตอบแทนการลงทุนที่ดี
โดยสำหรับโครงการใหม่ๆ ที่คาดว่าจะเข้าไปลงทุนในอนาคต ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(สุวรรณภูมิ ดอนเมือง อู่ตะเภา), เมืองอัจฉริยะ หรือ smart city, รถยนต์ไฟฟ้า(EV), ระบบกักเก็บสำรองไฟฟ้า(Energy Storage) และการบริหารจัดการวัตถุดิบของบริษันในกลุ่มให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุด เป็นต้น
ซึ่งความคืบหน้าการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ขณะนี้ ปตท.ได้มอบหมายให้บริษัท เอนเนอร์ยี คอมเพล็กซ์ จำกัด เข้าไปซื้อซองประกวดราคา และว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการลงทุน และจะร่วมลงทุนกับใคร คาดว่าจะมีความชัดเจนแผนลงทุนในเดือนพ.ย.2561 นี้ เช่นเดียวกับการลงทุน Smart City ที่สถานีกลางบางซื่อ ที่ยังอยู่ระหว่างหารือกับผู้ร่วมทุนทั้งในและต่างประเทศ ที่มีความชำนาญในด้านการบริหารจัดการจราจรและการเดินรถไฟ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ ปตท.ไม่มีประสบการณ์และไม่มีความชำนาญ
นายเทวินทร์ กล่าวด้วยว่า การพัฒนาธุรกิจในอนาคตของปตท. ยังมุ่งเน้นแนวทางการบริหารจัดการความยั่งยืน ตามหลัก 3P โดยให้ความสำคัญ 3 ด้านอย่างสมดุล ได้แก่ People การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ชุมชน และสังคม Planet การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ Profit การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) เป็นตัวกำหนดทิศทางเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระดับสากล
ในส่วนของ People ปตท. มุ่งเน้นพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม เพื่อเศรษฐกิจที่ดี สร้างชีวิตที่มีคุณภาพแก่คนในสังคม อันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ โดยโครงการสำคัญในครึ่งปีแรก 2561 ได้แก่
·ร่วมพัฒนาการศึกษาไทย โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามระบบสามัญ เริ่มจากระดับประถมศึกษาด้วยการ ร่วมเป็น 1ใน 12 บริษัท ผู้ร่วมพัฒนา “โรงเรียนประชารัฐ” ระยะที่ 2 ต่อเนื่องจากปี 2560 เพิ่ม จาก 42 โรงเรียน อีก 40 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 82 โรงเรียนใน 7 จังหวัด และต่อยอด สู่โครงการ Partnership School Project (SP) นำประสบการณ์บริหารจัดการรูปแบบเอกชน ร่วมแบ่งปัน ในโรงเรียนร่วมพัฒนา กลุ่ม ปตท. ใน 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ ระยอง สุโขทัย พิษณุโลก และกำแพงเพชร ในส่วนของมัธยมศึกษา นักเรียนรุ่นแรกโรงเรียนกำเนิดวิทย์ KVIS ได้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 71 คน และในจำนวนนี้ได้ทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศในสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีถึง 18 คน ในระดับอุดมศึกษา สถาบันวิทยสิริเมธี VISTEC ได้รับการจัดอันดับจากดัชนีวารสารวิจัยชั้นนำระดับโลก Nature Index Ranking 2017 ให้อยู่ในอันดับที่ 1 ของไทย ด้าน Chemical Science
· เป็นผู้นำพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi โดยร่วมสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ของประเทศ พัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเล่ย์ จ.ระยองให้เป็น Smart Natural Innovation Platform ในการขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทยตามยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคบนพื้นที่ 3,302 ไร่ ตามหลักการ Smart Cityพร้อมทั้งเตรียมลงนามสัญญาเช่าพื้นที่กับ สวทช. ในเดือนสิงหาคมนี้ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563
· มุ่งเน้นพัฒนารูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม Social Enterprise (SE) นำร่อง Café Amazon for Chance ภายใต้การดูแลของบริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด
· พัฒนาการปลูกและการผลิตกาแฟระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ระยะที่ 2 ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ระหว่าง โครงการหลวง และ ปตท. ร่วมกับเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ ทั้งนี้ มีเกษตรกรชาวเขาในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง จำนวน 24 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 88 หมู่บ้าน 9,500 ไร่ จำนวนประชากรที่ได้รับประโยชน์ 2,602 ครัวเรือน มีผลผลิตกาแฟจำหน่ายออกสู่ตลาดกว่า 500 ตัน ต่อปี และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรมากกว่า 40 ล้านบาท
· เปิดพื้นที่สถานีบริการน้ำมัน รวมพลัง ร่วมใจ ช่วยเกษตรกร พร้อมส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจำหน่ายสินค้า อาทิ ข้าว สัปปะรด กระเทียม ผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนยามราคาผลิตผลตกต่ำ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
· เสริมสร้างคุณภาพชีวิต ด้วยพลังงานชุมชน ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ อาคารประหยัดพลังงาน ที่สถานแรกรับเด็กชายปากเกร็ด จ.นนทบุรี โรงเรียนวัดประชุมมิตรบำรุง อ.บ้านฉาง (โรงเรียนประชารัฐ) และโรงเรียนบ้านยุบตาเหน่ง อ.วังจันทร์ (โรงเรียนประชารัฐ) จ.ระยอง ซึ่งช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
· ร่วมเป็นพลังของแผ่นดิน ส่งเสริมจิตอาสา นำความเชี่ยวชาญประสบการณ์ และผลิตภัณฑ์เข้าช่วยเหลือสังคมเช่น การช่วยเหลือทีมหมูป่าด้วยการจัดส่งน้ำมันดีเซล ถังก๊าซหุงต้มให้กับโรงครัวพระราชทานฯ พร้อมทีมวิศวกรทั้งจาก ปตท. และบริษัท ปตท. จำหน่ายก๊าซธรรมชาติ จำกัด (PTTNGD) นำท่อ HDPE และท่อเล็กที่สามารถเข้าที่คดเคี้ยวได้ เพื่อใช้สูบน้ำออกจากถ้ำ รวมทั้งร่วมกันบรรจุถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สปป.ลาว
· ส่งเสริมศักยภาพของนักกีฬาไทย ให้เป็นที่ภาคภูมิใจ ทำหน้าที่เป็นแรงผลักดันสร้างขวัญ กำลังใจ ให้นักกีฬาไทยพัฒนาไปสู่ความสำเร็จ ผลงานที่โดดเด่นในปี 2561 เช่น ฟลอร์บอลชายได้เป็นที่ 1 ของเอเชีย และได้เข้าร่วมแข่งขันฟลอร์บอลโลกในปลายปีนี้ ฮอกกี้ชายและหญิงผ่านการคัดเลือกเข้าเล่นในกีฬาเอเชียนเกมส์ในปี 2018 สโมสรฟุตซอล PTT Blue wave Chonburi เป็นอันดับ 1 ของเอเชีย และได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนทวีปเอเชียเข้าแข่งขันฟุตซอลสโมสรโลก ทั้งยัง สนับสนุนนักกีฬาที่มีผลงานโดดเด่น และสร้างชื่อเสียงระดับประเทศและนานาชาติ เช่น นักกีฬาขี่ม้า ได้รับคัดเลือกเข้าทีมชาติไทยร่วมแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ปี 2018 สมาคมแข่งขันกีฬาบริดจ์ได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันชิงแชมป์เอเชียครั้งที่ 3 ปี 2018 ที่ประเทศอินเดีย
ขณะที่ด้าน Planet ปตท. มุ่งมั่นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในทุกมิติของกระบวนการทำงาน ได้แก่
· นำพาป่าสู่เมืองผ่าน “ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง ปตท.” กรุงเทพฯ และ “ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์” จ.ระยอง ได้รับความสนใจมากขึ้น มีผู้เยี่ยมชมแล้วกว่า 270,000 คน และ 87,000 คน ตามลำดับ ล่าสุด ทั้ง 2 โครงการได้รับรางวัล“ภูมิสถาปัตยกรรมดีเด่นระดับนานาชาติ” จากสมาพันธ์ภูมิสถาปนิกนานาชาติ หรือ IFLA (International Federation of Landscape Architects) ในการพัฒนาสุขภาพของสังคมและชุมชน รวมถึงสร้างสรรค์แหล่งที่อยู่ ความหลากหลายทางชีวภาพและสัตว์ป่า อีกทั้งกระทรวงวัฒนธรรม มอบโล่ยกย่องเชิดชูเกียรติ ปตท. ในฐานะองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการปลูกป่า
· ประสบความสำเร็จในการสานพลังความร่วมมือกับ 33 องค์กร ทั้งภาครัฐ เอกชน ผนึกกำลัง 6 ชุมชน คุ้งบางกะเจ้า อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ในโครงการ OUR Khung Bang Kachao เป้าหมายยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นและเติบโตขึ้นร้อยละ 20 ใน 5 ปี
เน้นร่วมมือรูปแบบสานพลังร่วมเพื่อพัฒนาสังคม 6 ด้าน ได้แก่พื้นที่สีเขียว จัดการน้ำและการกัดเซาะริมตลิ่ง จัดการขยะ ส่งเสริมอาชีพ ท่องเที่ยว และเยาวชนและการศึกษา โดย ปตท. เป็นหัวหน้าคณะทำงานด้านพัฒนาพื้นที่สีเขียว มุ่งฟื้นฟูและรักษาพื้นที่สีเขียวให้ได้ 6,000 ไร่ ภายใน 5 ปี โดยปี 2561
กำหนดเป้าหมายระยะเริ่มต้นที่ 400 ไร่ บนพื้นที่ราชพัสดุ ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมป่าไม้
นอกจากนี้ด้าน Profit ปตท. ดำเนินธุรกิจกลยุทธ์ PTT 3D ด้วย Do Now เพื่อสร้างความสามารถการแข่งขัน Decide Now เพื่อขยายการเติบโตอย่างยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ โดยขยายการลงทุนโครงการที่สำคัญ อาทิ ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 5 และคลังรับก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เป็นต้น
Design Now เพื่อสร้าง New S-Curve ขยายการเติบโตแบบก้าวกระโดดในอนาคต อาทิ Electricity Value Chain และ Smart City & Property Development เป็นต้น ซึ่งจะอยู่ในพื้นที่ EEC ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
· มุ่งดำเนินธุรกิจแบบมีส่วนร่วมบนหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยผลประกอบการเฉพาะ ปตท. ครึ่งปีแรกของปี 2561 มีกำไร33,218 ล้านบาท และเมื่อรับรู้ผลกำไรของบริษัทในกลุ่มตามสัดส่วนการถือหุ้นอีก 36,599 ล้านบาท ทำให้งบการเงินรวมของ ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิรวม 69,817 ล้านบาท (ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 9.89) คิดเป็นกำไร 2.43 บาทต่อหุ้น
ปัจจัยสำคัญเชิงบวกและเชิงลบที่ทำให้ผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของปี 2561 ของ ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ต่ำกว่าครึ่งปีแรกของปี 2560 ได้แก่
– กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจาก 140,438 เป็น 170,870 ล้านบาท จากราคาน้ำมันดิบดูไบและราคาปิโตรเคมี ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลการดำเนินงานปกติโดยรวมดีขึ้น
– การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Productivity Improvement) สร้างกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี 20,721 ล้านบาท ใน 1H/2561 ไม่มีรายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ (Non-recurring Items) ขณะที่ใน 1H/2560 ปตท. มี Non-recurring Items จากรายได้เงินปันผลจากกองทุนรวม EPIF 4,310 ล้านบาท และกำไรจากการขายเงินลงทุนในกองทุนรวม 990 ล้านบาท
– กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ลดลงจาก 7,822 เป็น 2,276 ล้านบาท จากเงินบาทที่อ่อนค่าลงภาษีเงินได้ เพิ่มขึ้น 14,650 ล้านบาท จาก 11,951 ล้านบาทใน 1H/2560 เป็น 26,601 ล้านบาทใน 1H/2561 โดยหลักมาจาก PTTEP ซึ่งได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ
· ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนด้วยรางวัลเกียรติคุณ อาทิ มูลนิธิต่อต้านการทุจริตมอบโล่เกียรติคุณด้านความโปร่งใส นิตยสารCorporate Governance Asia มอบรางวัล Asian Excellence Awards 2018 ประเภท ผู้นำองค์กรยอดเยี่ยมในเอเชียแห่งปี ประธานฝ่ายการเงินองค์กรยอดเยี่ยมในเอเชียแห่งปี นิตยสาร Marketeer มอบให้แบรนด์ ปตท. เป็นอันดับ 1 ในประเทศ “The No.1 Brand Thailand 2017-2018” ติดต่อกันเป็นปีที่ 8 ในด้านสถานีบริการน้ำมัน คาเฟ่ อเมซอน และผลิตภัณฑ์หล่อลื่น