เปิดรับสมัครแล้ว “FIRST Tech Challenge” เวทีประลองหุ่นยนต์เยาวชนชิงตำแหน่งทีมชาติไทย

132
- Advertisment-

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านวัสดุศาสตร์ (Materials Science) ในฐานะผู้สนับสนุนหลัก ร่วมกับโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และพันธมิตร จัดการประกวดหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทยเวที FIRST® Tech Challenge Thailand ระดับเยาวชนอายุ 12-18 ปี ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนการศึกษา และสิทธิในการเป็นตัวแทนทีมชาติไทย ไปแข่งขันต่อระดับนานาชาติที่สหรัฐอเมริกา โดยมุ่งหวังสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ STEM Education พัฒนาผู้เรียนด้านทักษะกระบวนการคิด การแก้ปัญหา การออกแบบ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพิชิตภารกิจ โดยปี 2024 จะจัดเป็นครั้งที่ 6 ในประเทศไทย และเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันในช่วงเดือนกันยายนนี้

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องประกอบหุ่นยนต์เพื่อพิชิตภารกิจอันท้าทายตามโจทย์ นอกจากความสามารถในการประกอบหุ่นยนต์และเขียนโปรแกรมแล้ว ยังได้ฝึกการระดมสมอง การวางแผน การทำงานเป็นทีม การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งทีมเยาวชนที่เข้าร่วม ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า FIRST® Tech Challenge Thailand คือเวทีแห่งอนาคต ที่ทำให้ได้ทั้งความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ จากเพื่อนในทีมและต่างทีม โดยพร้อมจะพัฒนาหุ่นยนต์ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น เพื่อกลับมาประลองในเวทีนี้อีกครั้ง และอยากให้ปีต่อ ๆ ไป มีทีมจากทั่วประเทศเข้าร่วมการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

ภรณี กองอมรภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย

นางภรณี กองอมรภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า “ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมไทย มีการนำ Robotic มาใช้กันมาก ไม่ใช่แค่เฉพาะด้าน Automotive อุตสาหกรรมยานยนต์ แต่ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี Robotic ก็ถูกนำเข้ามาอยู่ในกระบวนการทำงานด้วย โดยเฉพาะด้านการดูแล บำรุงรักษาในกระบวนการผลิต ช่วยให้การทำงานของมนุษย์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ป้องกันและลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในโรงงาน เชื่อมั่นว่าการศึกษาด้าน Robotic ของเยาวชนไทย จะกลายเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน เพื่อให้ไทยมีเทคโนโลยีเป็นของตัวเองและก้าวพ้นสถานะประเทศเศรษฐกิจรายได้ปานกลาง (Middle Income Countries) ไปได้”

- Advertisment -
ดร.เกรียง ฐิติจำเริญพร ผู้อำนวยการโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

ดร.เกรียง ฐิติจำเริญพร ผู้อำนวยการโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย กล่าวว่า “จากพื้นฐานของ STEM Education Robotic และ AI (Artificial intelligence) ที่ผู้เข้าร่วมแข่งขันในเวทีนี้ ได้ Building และ Coding นับเป็นจุดเริ่มต้นของพื้นฐานที่สำคัญ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านหุ่นยนต์ที่ใหญ่ขึ้นกว่านี้ โดยพร้อมจะส่งเสริมและกระตุ้นให้เยาวชนจากทั่วประเทศ ได้เข้ามาร่วมการแข่งขันเวทีนี้เพิ่มขึ้น คาดหวังให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ สร้างแรงบันดาลใจ ประสบการณ์ และเพิ่มทักษะ จากการแลกเปลี่ยนกับเพื่อนเยาวชนต่างทีม ต่างสถาบัน ซึ่งจะเป็นหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหุ่นยนต์ต่อจากนี้ ขณะเดียวกันก็จะช่วยยกระดับฯ ให้ก้าวไปสู่มาตรฐานสากลต่อไป และขอขอบคุณ Dowผู้สนับสนุนหลัก ที่ช่วยยกระดับให้การแข่งขันรายการนี้ ใหญ่ขึ้นและดีขึ้นทุก ๆ ปี เช่นเดียวกับผู้สนับสนุนทุกท่าน ทุกบริษัท ที่เห็นความสำคัญและมองว่าเป็นโอกาสของเยาวชนไทย”

โดยปีนี้การแข่งขันหุ่นยนต์ FIRST® Tech Challenge Thailand ครั้งที่ 6 ได้เปิดรับสมัครทีมเข้าแข่งขันแล้วตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน – 25 ตุลาคม 2567 ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์และเฟซบุ๊กของ FIRST® Tech Challenge Thailand ที่ http://www.ftcthailand.org/ และ https://www.facebook.com/FIRSTTechChallengeTHAILAND/

เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ครั้งนี้ จะมีโอกาสได้รับเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขัน FIRST® Tech Challenge ในระดับนานาชาติ รวมทั้งได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในเรื่องการพัฒนาหุ่นยนต์ จากเพื่อนเยาวชนทีมต่าง ๆ และผู้เชี่ยวชาญระดับโลก เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่สำหรับอนาคต ช่วยเหลือเกี่ยวกับการออกแบบเขียนโปรแกรม นำความรู้เกี่ยวกับ STEM ศึกษามาใช้อย่างเป็นระบบในการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากที่จะนําความรู้ประสบการณ์และแรงบันดาลใจที่ได้รับไปพัฒนาเพิ่มทักษะ ความรู้ ต่อยอดโครงการวิจัย พัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบทางการศึกษาและเชิงพาณิชย์ ทั้งภาคอุตสาหกรรมและบริการ

เป็นระยะเวลากว่า 5 ปีแล้ว ที่การแข่งขัน FIRST® Tech Challenge เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยตั้งแต่ปี 2562 – 2566 มีการจัดการแข่งขัน FIRST® Tech Challenge ไปแล้ว 5 ครั้ง ซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมประลองในสนามแข่งขันหุ่นยนต์กว่า 1,000 คน รวมกว่า 84 ทีม จาก 47 โรงเรียน ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน กำแพงเพชร กรุงเทพ นนทบุรี ชลบุรี ขอนแก่น สระบุรี ฉะเชิงเทรา สงขลา และสุราษฏร์ธานี

Advertisment