เชิญร่วมสัมมนาเชิงวิชาการ “การบูรณาการระบบกักเก็บพลังงานร่วมกับพลังงานทดแทน: นโยบาย การวางแผน ออกแบบ วิธีการแก้ปัญหา การปฎิบัติ และ การควบคุม” 8-11 พ.ค. นี้

618
- Advertisment-

เมื่อการเติบโตของพลังงานหมุนเวียน กลายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้ IEA คาดว่าในปี 2050 กว่า 80% ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั่วโลกจะมาจากพลังงานแสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน ปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย ที่รองรับและส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เช่น ถ้าเราต้องการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ห่างไกลจากชายฝั่ง หรือการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนร่วมกันแบบข้ามประเทศหรือข้ามทวีป เราสามารถส่งพลังงานไฟฟ้าผ่านเทคโนโลยี HVDC (High Voltage Direct Current) โดยไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องข้อจำกัดของกำลังไฟฟ้าสูงสุดที่จ่ายได้หรือความยาวของสายส่ง และมีประสิทธิภาพในการส่งสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งแบบกระแสสลับ หรือการเริ่มนำระบบ MVDC (Medium Voltage Direct Current) และระบบ LVDC (Low Voltage Direct Current) มาใช้งาน มีการนำระบบไมโครกริด (Microgrid) มาใช้เพิ่มขึ้น โดยเชื่อมต่อกับแหล่งพลังงานหมุนเวียนร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน เพื่อบริหารจัดการการผลิตและการใช้ไฟฟ้าในระบบไมโครกริดให้เป็นไปอย่างเหมาะสม

ในปัจจุบัน Power Electronics เข้ามามีบทบาทช่วยขับเคลื่อนระบบไฟฟ้าและพลังงานกว่า 70 % เพื่อควบคุมการไหลของกำลังไฟฟ้า และปรับปรุงเสถียรภาพของระบบในสภาวะชั่วครู่ (Transient Stability) เพื่อเพิ่มความมั่นคงหรือความสามารถของระบบให้สามารถทำงานต่อไปได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากที่เกิดเหตุขัดข้องที่รุนแรงขึ้นกับระบบ และเทคโนโลยีซิงโครนัสคอนเดนเซอร์ (Synchronous Condensers) ซึ่งสามารถช่วยสนับสนุนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ให้กับกริดหรือสายส่ง โดยการปรับสมดุล ลดความผันผวนของแรงดันไฟฟ้า และเพิ่มกำลังไฟฟ้าลัดวงจรให้สูงขึ้น

นอกจากนั้น เรายังมีเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) ที่จะช่วยลดความผันผวนของพลังงานทดแทนซึ่งทำให้เราจ่ายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนได้อย่างมีเสถียรภาพ หรือที่เราเรียกกันว่า Smoothing เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานในช่วงความต้องการไฟฟ้าต่ำและจ่ายไฟฟ้าในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง (Energy Shifting หรือ Peak Shaving) การบริหารจัดการเกลี่ยโหลด (Load Leveling) การจัดเตรียมกำลังไฟฟ้าสำรอง (Spinning Reserve) ช่วยควบคุมและรักษาความถี่ของระบบไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์ (Frequency Regulation) นอกจากนั้นยังช่วยจัดการความแออัดของระบบส่ง (Congestion Management) ทำให้เราสามารถนำพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- Advertisment -

📢📣 หลักสูตรเพื่อการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ระบบผลิตไฟฟ้า ระบบกักเก็บพลังงานร่วมกับพลังงานทดแทน พร้อมเยี่ยมชม โครงการระบบกักเก็บพลังงาน การไฟฟ้านครหลวง เขตราษฎร์บูรณะ

ขอเชิญ​ร่วมงานสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “การบูรณาการระบบกักเก็บพลังงานร่วมกับพลังงานทดแทน: นโยบาย การวางแผน ออกแบบ วิธีการแก้ปัญหา การปฎิบัติ และ การควบคุม ”

🗓 ในวันที่ 8 – 11 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ

จัดโดย สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ร่วมกับ วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร และ สมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (TESTA)

☎️ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2354-5333 ต่อ 500 / 503

e-mail : seminar@greennetworkseminar.com

ดูรายละเอียดหัวข้อการบรรยายและลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่

http://www.greennetworkseminar.com/re

Advertisment