เชฟรอน นำทีมบุคลากรด้านจัดการระบบข้อมูล ผ่านกระบวนการ “Design Thinking”หนุนภารกิจของกรมควบคุมโรค

510
- Advertisment-

“เชฟรอน” สนับสนุนภารกิจ “กรมควบคุมโรค”ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ “Design Thinking” เพื่อรับมือภัยคุกคามสุขภาพคนไทย

เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด นำทีมบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมหารือแนวทางการพัฒนาและยกระดับการจัดการระบบข้อมูล ผ่านกระบวนการ “Design Thinking” หรือ “การคิดเชิงออกแบบ” กับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อทบทวนการดำเนินงานตลอดจนแสวงหาโอกาสในการพัฒนาระบบข้อมูลที่บูรณาการความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำด้วยระบบที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูงสุด

- Advertisment -

นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมา เชฟรอนได้ สนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์และเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นความจำเป็นเร่งด่วน เมื่อวิกฤตผ่านพ้นไป เราจึงมุ่งเน้นฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและเสริมศักยภาพการรับมือกับวิกฤตในอนาคต เมื่อได้ทราบถึงความตั้งใจของกรมควบคุมโรคในการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินและระบบบัญชาการเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉิน เชฟรอนเองซึ่งมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ รวมถึงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถเข้ามาสนับสนุนในส่วนนี้ได้ จึงได้ส่งทีมงานเข้ามาเป็นวิทยากรเพื่อร่วมหาแนวทางในการพัฒนาระบบข้อมูลร่วมกับทีมเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน โดยหวังว่ากิจกรรมครั้งนี้จะมีส่วนช่วยให้การปฏิบัติภารกิจของกรมควบคุมโรคเป็นไปด้วยดี และสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

นายเชน โสภิตวิริยาภรณ์ หัวหน้าส่วนการจำลองและวิเคราะห์ข้อมูล แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด หนึ่งในทีมวิทยากรของงานเวิร์คช็อปครั้งนี้ กล่าวว่า “แนวทางการทำงานตามกระบวนการ Design Thinking หรือ การคิดเชิงออกแบบ  เป็นกระบวนการที่เหมาะสำหรับการนำมาปรับใช้ในการทำงานร่วมกันของหลายๆ ฝ่าย เพื่อสร้างระบบงานที่เป็นแบบแผนเดียวกัน ซึ่งกระบวนการนี้ให้ความสำคัญกับ ‘คน’ เป็นศูนย์กลางการแก้ปัญหา แทนที่วิธีการแบบเดิมที่มักเริ่มต้นจาก ‘ปัญหา’ โดยเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งาน เพื่อระบุปัญหา จากนั้นจึงระดมความคิดเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้นโดยไม่มีการจำกัดกรอบความคิด จนนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ช่วยแก้ไขปัญหาได้ต่อไป

Advertisment