เขียนเล่าข่าว​ EP​ 33​ -​ แสวงหาแหล่งก๊าซ​ธรรมชาติเพิ่ม เติมความมั่นคงทางพลังงานให้ประเทศ

321
N1022
- Advertisment-

เมื่อวันที่​ 30​ พ.ค.​ 2566​ มีโอกาสได้ไปร่วมงานพิธีลงนามสัญญาแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม​ ( Production Sharing Contract​ )​ หรือที่เรียกสั้นๆว่า​ พีเอสซี​ ระหว่าง​กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน กับบริษัทผู้ได้รับสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย ครั้งที่ 24 ซึ่ง ปตท.สผ.อีดี เป็นผู้ได้สิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตสำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65 และ G3/65 ขนาดพื้นที่รวม 20,133.87 ตารางกิโลเมตร และ เชฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ได้สิทธิสำหรับแปลงหมายเลข G2/65 ขนาดพื้นที่ 15,030.14 ตารางกิโลเมตร

ประเทศ​ไทย​นั้น​ ให้สิทธิเอกชนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่อ่าวไทย​ครั้งล่าสุด​เมื่อ​ปี​ 2550 ซึ่งหมายความว่าเราทิ้งช่วงมานานถึง​ 16​ ปี​ เพราะมีการประท้วงคัดค้านให้เปลี่ยนระบบสัญญาที่จะใช้ในการบริหารจัดการจากเดิมที่ใช้ระบบสัมปทาน​ เป็นระบบแบ่งปันผลผลิต​

ในขั้นตอนการสำรวจปิโตรเลียมในพื้นที่ใหม่​ หลังจากลงนามในสัญญาระหว่างกัน​ ทั้ง​ ปตท.สผ.และเชฟรอน​ จะเข้าพื้นที่ทำการสำรวจวัดเคลื่อนไหนสะเทือน​โดยมีระยะเวลา​ 6​ ปี​ และถ้าพบปิโตรเลียมในปริมาณที่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์​ ก็ถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทย​ ที่จะมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติ​ เพิ่มเติมขึ้น​ ยืดระยะเวลาแหล่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตในอ่าวไทยในยาวนานขึ้นไปอีก​หลังจากที่ปนิมาณำสำรองในส่วนที่เรียกว่า​ proved reserves นั้นหร่อยหรอลงเรื่อยๆ​ จากความต้องการใช้ก๊าซที่เพิ่มขึ้นทุกปี

- Advertisment -

ประเทศไทย​ ใช้ก๊าซธรรมชาติ​เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า​ ในสัดส่วนที่สูงกว่าเชื้อเพลิง​อื่นๆ​ ซึ่งปัจจุบันก๊าซที่ผลิตจากอ่าวไทยนั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้​ ทำให้ต้องนำเข้า​ก๊าซธรรมชาติเหลว​ หรือ​ LNG​ จากต่างประเทศเข้ามาเสริมในสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

ดังนั้นการแสวงหาโอกาสที่จะมีแหล่งผลิตก๊าซธรรมใหม่ๆ​ เพิ่มขึ้นในอ่าวไทย​จึงมีมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศ​ เพราะจะช่วยลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ​ ช่วยสร้างรายได้ให้รัฐในรูปของค่าภาคหลวง​ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม​ และช่วยให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าถูกลง​ เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติโดยเฉลี่ยแล้ว​ ถูกกว่า​ LNG​ นำเข้าค่อนข้างมาก

นอกจากนี้​ คุณสมบัติของเนื้อก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย​ ที่เรียกว่า​ ​ Wet Gas​ ซึ่งนำมาแยกเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี​ ยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรของประเทศได้​ สูงกว่านำไปเผาเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าทั้งหมด​ รวมทั้ง
จะก่อให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานตามมาอีกมาก​

ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล​ไทย-กัมพูชา​ ก็เป็นอนาคตทางด้านพลังงานของประเทศ​ เพราะเชื่อว่ามีศักยภาพสูงที่จะสำรวจพบก๊าซธรรมชาติ​ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ร่วมกันของทั้งไทยและกัมพูชา​ แต่ปัจจุบันการเจรจาระหว่างทั้งสองประเทศยังไม่มีความคืบหน้า

ต้องติดตามกันต่อว่านอกเหนือจากพื้นที่​ 3​ แปลงในอ่าวไทยที่ลงนามในสัญญาให้เริ่มต้นกระบวนการสำรวจกันแล้ว​ รัฐบาลใหม่จะเร่งผลักดันพื้นที่ทับซ้อน​ไทย-กัมพูชา​ ได้แค่ไหน

Advertisment