“อุตตม”หนุนภาคเหนือตอนบนเป็นแหล่งผลิตกาแฟอาราบิก้าครบวงจร

311
- Advertisment-

“อุตตม” หนุนกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน) เป็นแหล่งผลิตกาแฟอาราบิก้าครบวงจร พร้อมวาง 6 แนวทางเพื่อยกระดับนอร์ทเทิร์นไทยแลนด์ฟู๊ดวัลเลย์ เพื่อการขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคตสู่ตลาดสากล รวมทั้งการสร้างลำปางเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เซรามิก โดยจะเสนอ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร 15 ม.ค. นี้ 

เมื่อวันที่ 14 ม.ค.2562 นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมประชุมหารือกับหัวหน้าส่วนราชการและภาคเอกชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน) อาทิ สภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 สภาเกษตรกรกลุ่มภาคเหนือ สมาคมผู้ประกอบการไม้จังหวัดลำปาง ฯลฯ ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2562 ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จังหวัดลำปาง

โดยนายอุตตม กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันพรุ่งนี้ (15ม.ค.2562) จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนประกอบด้วย

- Advertisment -

1) การยกระดับกาแฟอาราบิก้าอย่างครบวงจร ภายใต้อัตลักษณ์กาแฟภาคเหนือ (Northern Boutique Arabica Coffee Hub) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ทำให้ภาคเหนือเป็นแหล่งผลิตเมล็ดกาแฟที่มีชื่อเสียง และเป็นการสร้างอาชีพให้กับชาวไทยภูเขา ให้มีรายได้สามารถเลี้ยงครอบครัวได้อย่างมั่นคง ด้วยการต่อยอดการผลิตสินค้าและบริการที่มีศักยภาพสูงด้วยภูมิปัญญาและนวัตกรรม และยกระดับการเป็นฐานผลิตเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัยเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูง ด้วยการพัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างทักษะผู้ประกอบการ เกษตรกร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

2) การพัฒนาศักยภาพการออกแบบและการตลาดผลิตภัณฑ์เซรามิกและหัตถอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมแหล่งผลิตเซรามิกและหัตถอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของจังหวัดลำปาง ให้มีอัตลักษณ์ในเชิงศิลปวัฒนธรรมและมีคุณภาพ เป็นเมืองแห่งการออกแบบเซรามิกและหัตถอุตสาหกรรมควบคู่กับการส่งเสริมการท่องเที่ยว

โดยปัจจุบันพื้นที่กลุ่มจังหวัดดังกล่าวมีโรงงานทั้งสิ้นประมาณ 200 โรง มีแรงงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรมนี้และอุตสาหกรรมต่อเนื่องกว่า 20,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กและอุตสาหกรรมครัวเรือน ส่วนโรงงานขนาดกลางจะเน้นการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ  และโรงงานขนาดใหญ่จะผลิตและจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ

3) ยกระดับนอร์ทเทิร์นไทยแลนด์ฟู๊ดวัลเลย์เพื่อการขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคตสู่ตลาดสากล (Northern Thailand Food Valley Scale-up for Future Food Innovation to International Market) เพื่อเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปที่มีประสิทธิภาพ ในพื้นที่เป้าหมายได้แก่ พื้นที่ ภาคเหนือตอนบน ที่เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปที่สำคัญของประเทศ ให้มีมาตรฐานอาหารปลอดภัย (Local Food Safety Certify) เพื่อเป็นทางเลือกที่ดี และเป็นการเพิ่มราคาให้กับสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์หรืออาหารปลอดภัยไปสู่ระดับสากล โดยมีระยะเวลาดำเนินการต่อเนื่อง 3 ปี (ปีงบประมาณ 2563-2565) งบประมาณรวม 150 ล้านบาท  แบ่งเป็น ปี 2563 งบประมาณ 30 ล้านบาท ปี 2564 งบประมาณ 60 ล้านบาท ปี 2565 งบประมาณ 60 ล้านบาท โดยมีแนวทางการดำเนินการ คือ

  • จัดทำโครงสร้างการวางแผนการการดำเนินโครงการยกระดับนอร์ทเทิร์นไทยแลนด์ฟู๊ดวัลเลย์สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคตสู่ตลาดสากล (Northern Thailand Food Valley Scale-up for Future Food Innovation to International Market)
  • ศึกษาสถานการณ์ตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารในพื้นที่ภาคเหนือตามโจทย์ตลาดสากล พร้อมจัดทำแผนความเป็นไปได้ของการดำเนินธุรกิจ (Feasibility)
  • การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการที่มี R&D และผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
  • ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารโดยผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญ
  • ดำเนินการผลิตสินค้า OEM ตามผลิตภัณฑ์ต้นแบบในระดับ Pilot Scale เพื่อทดสอบตลาด
  • ดำเนินการทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ผลิตจากการผลิตแบบ OEM และการสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการเชื่อมโยงเข้าสู่ตลาด

 

Advertisment