“สนธิรัตน์”เผยตั้งใจเคลียร์ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา ให้จบ

1238
- Advertisment-

“สนธิรัตน์” เผยตั้งใจเข้ามาทำงานแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา โดยเร่งรัดเจรจาให้เกิดข้อตกลงเพื่อเริ่มต้นการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในพื้นที่  ให้สำเร็จโดยเร็ว หวังเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้สัมภาษณ์ตอบคำถามผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 8ส.ค.256 ถึงการแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา  ที่ยังไม่มีความคืบหน้า ว่า มีความตั้งใจที่จะมาดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้สำเร็จ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ  แต่เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน จึงยังไม่สามารถที่จะให้ข้อมูลอะไรได้มากในขณะนี้  โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเดินหน้าทำงานในเรื่องนี้

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center) รายงานว่า พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น มีขนาดพื้นที่ ประมาณ 26,000ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีการประเมินเบื้องต้นว่าน่าจะมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมจำนวนมาก เพราะโครงสร้างทางธรณีวิทยา ใกล้เคียงกับแหล่งผลิตปิโตรเลียมที่ไทย ให้สัมปทานเอกชนดำเนินการอยู่   โดยหากสามารถเจรจาให้มีข้อยุติได้โดยเร็วเพื่อให้เกิดการเริ่มสำรวจและพัฒนา  คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 10ปี จึงจะสามารถผลิตปิโตรเลียม ขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มปริมาณสำรองปิโตรเลียมให้กับประเทศ ทดแทนก๊าซจากพื้นที่ผลิตในอ่าวไทยที่จะลดปริมาณลงเรื่อยๆ

- Advertisment -

โดยเรื่องดังกล่าว มีความคืบหน้าเพียงการลงนามเอ็มโอยูระหว่างกัน เมื่อ 18 มิถุนายน 2545 ว่าทั้งสองฝ่ายจะเร่งเจรจาเพื่อบรรลุความตกลงเกื่ยวกับการแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน
1. พื้นที่ทับซ้อนเหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือขึ้นไป ให้แบ่งเขตทางทะเลอย่างชัดเจนตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ใช้บังคับ
2. พื้นที่ทับซ้อนใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือลงมา ให้พัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ร่วมกัน

อย่างไรก็ตามจนถึงปัจจุบันเอ็มโอยูดังกล่าว ก็ยังไม่ได้มีการเจรจาเพื่อสานต่อและปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม

Advertisment