ร่วมยินดีกับผู้ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 21 ภายใต้แนวคิด “จุดพลังเปลี่ยนโลก”

361
- Advertisment-

วันนี้ (20 ก.ค. 2566) – ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการสถาบันลูกโลกสีเขียว นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) คณะกรรมการรางวัลลูกโลกสีเขียว และเครือข่ายลูกโลกสีเขียวทั่วประเทศ ร่วมยินดีกับผู้ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ในงานพิธีมอบรางวัลฯ ครั้งที่ 21 ณ อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด “จุดพลังเปลี่ยนโลก”

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวว่า กว่าสองทศวรรษที่ “รางวัลลูกโลกสีเขียว” ได้ทำหน้าที่ในการค้นหา ยกย่อง ชื่นชม และเป็นกำลังใจให้กับบุคคล กลุ่มคน ชุมชนที่เข้มแข็ง พลังเล็ก ๆ เหล่านี้ ร่วมกัน   ดูแลโลก รักษาสิ่งแวดล้อม โดยในปีนี้ ผลงานอันทรงคุณค่าทั้ง 44 ผลงาน  ทุกผลงานล้วนมีคุณค่าต่อสังคมและประเทศเป็นอย่างยิ่ง

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการสถาบันลูกโลกสีเขียว 

“ขอชื่นชมผู้ที่ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวทุกท่าน ซึ่งได้อุตสาหะ เสียสละ อุทิศกายและใจ ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม จนเกิดผลเป็นที่ประจักษ์  ยิ่งในสถานการณ์ที่โลกรวน และภัยธรรมชาติอันเลวร้าย ผลงานทั้งหลายนี้ แสดงให้เห็นถึงทางออก ทางรอด และความหวัง ช่วยจุดพลังเปลี่ยนโลก”

- Advertisment -

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ กล่าวว่าปตท. ในฐานะองค์กรพลังงานของไทยได้ดำเนินภารกิจเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแก่ประเทศ ควบคู่กับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานสถาบันลูกโลกสีเขียวตั้งแต่เริ่มต้น และในปัจจุบัน ก็ยังมีส่วนร่วมสำคัญต่อการผลักดันประเทศไทยและโลก สู่สังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อการตอบสนองต่อวิกฤติสิ่งแวดล้อม 

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.

“รางวัลลูกโลกสีเขียวมอบให้แก่บุคคลและชุมชนที่รักษา ดิน น้ำ ป่า ซึ่งป่าเป็นแหล่งดูดซับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทางธรรมชาติที่ดีที่สุด ดังนั้นการฟื้นฟู รักษา และปลูกป่าเพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาวิกฤติโลก ขณะเดียวกัน ปตท. ได้เร่งดำเนินธุรกิจ ให้มีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2050 ด้วยการมุ่งเน้นในมิติต่าง ๆ 3 ด้าน คือ เร่งปรับ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต เร่งเปลี่ยน เพิ่มการลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาด และธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน และ เร่งปลูก เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้คนไทย ช่วยเพิ่มปริมาณการดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศ ด้วยวิธีทางธรรมชาติ โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน และประสานความร่วมมือกับกลุ่ม ปตท. ในการเพิ่มพื้นที่ป่า รวม 2 ล้านไร่ ซึ่งหวังว่าการดำเนินงานต่าง ๆ จะช่วยแก้ไขและร่วมบรรเทาวิกฤตทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้”

พิธีมอบรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 21 นี้ มีผลงานที่ได้รับรางวัลรวม 44 ผลงาน ประกอบด้วยรางวัลประเภทชุมชน 8 ผลงาน รางวัลประเภทบุคคล 3 ผลงาน รางวัลประเภทกลุ่มเยาวชน จำนวน 8 ผลงาน รางวัลประเภทงานเขียน 3 ผลงาน รางวัลประเภทความเรียงเยาวชน 8 ผลงาน รางวัลประเภทสื่อมวลชน 1 ผลงาน และรางวัลประเภทสิปปนนท์ เกตุทัต รางวัลแห่งความยั่งยืน 13 ผลงาน โดยผลงานทั้งหมด สะท้อนถึงความสามารถในการปรับตัว ปรับเปลี่ยน และจัดการกับวิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อม และพร้อมปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน

“รางวัลลูกโลกสีเขียว” ถือกำเนิดขึ้นในปี 2542 โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนเป็นกำลังใจยกย่องและเผยแพร่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของบุคคล กลุ่มคน และเยาวชน ให้เป็นที่รับรู้ของสังคมในวงกว้าง ด้วยความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ อาทิ องค์กรพัฒนาเอกชน นักอนุรักษ์ นักวิชาการ นักเขียน สื่อมวลชน ฯลฯ ปัจจุบันมีผู้ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวแล้ว 807 ผลงาน

รายชื่อผลรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 21
มี
ผลงานทั้งหมด 7 ประเภท จำนวน 44 ผลงาน

ประเภทชุมชน จำนวน 8 ผลงาน

  1. ป่าชุ่มน้ำลุ่มน้ำอิง บนวิถีการจัดการที่ยั่งยืนโดยชุมชน จังหวัดเชียงราย
  2. ชุมชนบ้านดอยช้าง (ป่าแป๋) จังหวัดลำพูน
  3. กลุ่มองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ตำบลหาดเล็ก จังหวัดตราด
  4. ชุมชนบ้านมะม่วง จังหวัดตราด
  5. ชุมชนกุดหมากไฟ จังหวัดอุดรธานี
  6. ชุมชนป่าภูตะเภา จังหวัดชัยภูมิ
  7. ชุมชนบ้านต้นตาล จังหวัดนราธิวาส
  8. กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง จังหวัดภูเก็ต
    ประเภทบุคคล จำนวน 3 ผลงาน
  9. นายบดินทร์ จันทศรีคำ จังหวัดนครนายก
  10. นายเจตน์ – นางเตือนใจ สมวงษ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  11. นายเปลื้อง ช่วยรุย จังหวัดตรัง
    ประเภทกลุ่มเยาวชน จำนวน 8 ผลงาน
  12. กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ โรงเรียนเฉลิมรัชวิทยาคม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  13. โรงเรียนเล็กโกเมศอนุสรณ์ จังหวัดนนทบุรี
  14. ยุวชนต้นกล้ารักษ์ป่าชุมชนวังคก-เขาซ่าเลือด จังหวัดชัยภูมิ
  15. กลุ่มเยาวชนสร้างป่าเปียกด้วยฝายสร้างรายได้สู่ชุมชน โรงเรียนกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
  16. กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ โรงเรียนปากช่อง 2 จังหวัดนครราชสีมา
  17. กลุ่มเยาวชนเด็กชายขอบหัวใจรักษ์โลก โรงเรียนบ้านสำโรงเกียรติ จังหวัดศรีสะเกษ
  18. กลุ่มเยาวชนรักษ์บ้านเกิดบ้านบากันใหญ่ จังหวัดสตูล
  19. โรงเรียนบ้านช่องแมว จังหวัดปัตตานี
    ประเภทงานเขียน จำนวน 3 ผลงาน
  20. หัวใจป่า โดย พล พิมพ์โพธิ์ จังหวัดสุพรรณบุรี (ชนะเลิศ)
  21. วรรณกรรมเยาวชน “หมอยาน้อย”
    โดย นายกิติศักดิ์ ศรีแก้วบวร จังหวัดนครศรีธรรมราช (ชมเชย)
  22. คู่มือครูสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ โดย โครงการผืนป่าบนกระดานดำ
    หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (ชมเชย)

ประเภทความเรียงเยาวชนอายุไม่เกิน 15 ปี จำนวน 2 ผลงาน

  1. โกปี้บ้านโตน โดย นางสาวติฟตาซานี ใจดี จังหวัดสตูล (ดีเด่น)
  2. หนองไผ่ ศรีวิไล ทรัพยากร โดย นายสรวิชญ์ แก้วเบี่ยง จังหวัดเพชรบูรณ์ (ชมเชย)
    ประเภทความเรียงเยาวชนอายุ 16 – 25 ปี จำนวน 6 ผลงาน
  3. บ้านโรงงาน โดย นายโสภณัฐ ปันแก้ว จังหวัดเชียงราย (ดีเด่น)
  4. บ้านป่าเมี่ยง โดย น.ส.ศศิธร สนั่นสุข จังหวัดเชียงราย (ดีเด่น)
  5. ผาวี ริมวังแดนดินถิ่นบ้านป่า โดย น.ส.นุสรณ์ วงศนิ้ว จังหวัดเชียงราย (ดีเด่น)
  6. ความทรงจำวัยเด็ก ที่กำลังจะหายไป ปางมดแดง
    โดย น.ส.พิมพ์ประไพ มังสุไร จังหวัดพะเยา (ชมเชย)
  7. ตุ๊ลุงนักเล่าเรื่อง (ป่าน้ำจำ)
    โดย นายภาพงศ์ ประพลรัตนัง จังหวัดพะเยา (ชมเชย)
  8. บ้านของฉัน (KUV LUB TSEV)
    โดย น.ส.นิราวรรณ มังกรอัศว จังหวัดตาก (ชมเชย)

ประเภทงานสื่อมวลชน จำนวน 1 ผลงาน

Facebook : โพควา โปรดักชั่น (ชมเชย)
ประเภทสิปปนนท์ เกตุทัต จำนวน 13 ผลงาน

  1. เครือข่ายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำตำบลห้วยปูลิง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  2. ชุมชนบ้านสบลาน จังหวัดเชียงใหม่
  3. ชุมชนบ้านส้อและบ้านเด่นพัฒนา จังหวัดน่าน
  4. ชุมชนบ้านร่องบอน จังหวัดเชียงราย
  5. กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านท่าหาด จังหวัดตราด
  6. กลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำระยองและป่าชายเลน จังหวัดระยอง
  7. ชุมชนเรวดีโซน 2 จังหวัดนนทบุรี
  8. องค์กรป่าชุมชนบ้านนาผักก้าม-บ้านนาเจริญ จังหวัดเลย
  9. ชุมชนบ้านนาหว้า จังหวัดอุบลราชธานี
  10. ชุมชนบ้านท่าจูด จังหวัดพังงา
  11. กลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำสายบุรีบ้านจะรังตาดง จังหวัดยะลา
  12. ชุมชนบ้านเขาวัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  13. ชุมชนตะโหมด จังหวัดพัทลุง
Advertisment