กบง.ไฟเขียวเจรจาเอ็นพีเอส เปลี่ยนเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าถ่านหิน540เมกะวัตต์เป็นก๊าซ

1959
- Advertisment-

กบง.เห็นชอบ ให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เจรจากับบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด(มหาชน)หรือเอ็นพีเอส ซึ่งเป็นผู้ดำเนินโครงการไอพีพี โรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อน ขนาด 540 เมกะวัตต์  เปลี่ยนเชื้อเพลิงจากถ่านหินเป็นก๊าซธรรมชาติ  โดยที่คาดว่าต้นทุนค่าไฟฟ้าจะต่ำลงกว่าเดิม

นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน  เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า  คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) มีมติให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เจรจากับบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินโครงการไอพีพี โรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาด540 เมกะวัตต์  เพื่อเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากถ่านหินเป็นก๊าซธรรมชาติ  โดยเชื่อว่า ต้นทุนค่าไฟฟ้าจะต่ำลงกว่าเดิม เนื่องจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินมีขนาดมูลค่าการลงทุนที่สูงกว่าโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน( Energy News Center –ENC ) รายงานว่า ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับล่าสุด หรือ PDP2018 บรรจุโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินของ บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด(มหาชน) เครื่องที่1-2 ขนาดกำลังการผลิต 270 เมกะวัตต์ จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ในเดือนพ.ย. 2569 และ เครื่องที่ 3-4 ขนาดกำลังการผลิต 270เมกะวัตต์  เข้าระบบ ในเดือนมี.ค.2570   อย่างไรก็ตาม  ได้มีการเปิดช่องหมายเหตุเอาไว้ในวงเล็บที่3 ว่า เนื่องจาก การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหิน ยังไม่ได้รับการยอมรับจากภาคประชาชนทำให้การพัฒนาโครงการมีความล่าช้าและอาจไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน จึงอาจพิจารณาให้มีการเปลี่ยนแปลงเชื้อเพลิงได้ตามความเหมาะสม

- Advertisment -

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า  ตามแผนPDP2015 เดิมนั้นโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อน ของเอ็นพีเอส  ที่อยู่ในการประมูลไอพีพี รอบที่สอง จะต้องจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบตั้งแต่เดือนพ.ย.2559 และเดือนมี.ค.2560 ที่ผ่านมา  แต่ทางกกพ.ก็ยอมให้มีการเลื่อนโครงการออกไป  เนื่องจากโครงการของบริษัทยังไม่ผ่านการทำรายงานผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อม(EHIA)  และถูกกำหนดใหม่ในPDP2018 ให้เลื่อนจ่ายไฟเข้าระบบเป็น เดือนพ.ย.2569 และเดือนมี.ค.2570 หรือเลื่อนไปอีก10ปี

Advertisment